เรื่อง: แนวทางการเพิ่มขีดความสามารถการขนส่งทางบกระหว่างประเทศของจังหวัดมุกดาหาร,(วปอ.10119)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย เทอดศักดิ์ บุญทศ,(วปอ. 10119)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เร่ือง แนวทางการเพ่ิมขีดความสามารถการขนส่งทางบกระหว่างประเทศของ
จังหวัดมุกดาหาร
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นายเทอดศักดิ์ บุญทศ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66
การศึกษาเรื่อง แนวทางการเพ่ิมขีดความสามารถการขนส่งทางบกระหว่างประเทศของ
จังหวัดมุกดาหาร มีวัตถุประสงค์เพ่ือ 1) ศึกษาการวางแผนการพัฒนาการขนส่งทางบกระหว่าง
ประเทศของจังหวัดมุกดาหารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 จนถึงปัจจุบัน 2) ศึกษาปัญหา อุปสรรค ผลกระทบ
ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาการขนส่งทางบกระหว่างประเทศของจังหวัดมุกดาหาร และ 3) เสนอแนะ
แนวทางการเพิ่มขีดความสามารถการขนส่งทางบกระหว่างประเทศของจังหวัดมุกดาหาร โดยรวบรวม
ข้อมูลทุติยภูมิ จากงานวิจัย เอกสารทางวิชาการและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่เป็นเอกสารจาก
ประมวลกฎหมาย และบทความของผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลปฐมภูมิ จากการสัมภาษณ์เชิง
ลึกผู้แทนภาคประชาชนผู้ประกอบการ ผู้บริหารภาครัฐ และเอกชน สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า
ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการขนส่งทั้ง และจากการสอบถามประชาชนในจังหวัดมุกดาหารที่เป็นกลุ่ม
ตัวอย่าง จำนวน 200 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการ
วิเคราะห์เปรียบเทียบ และสังเคราะห์ข้อมูลทฤษฎี หลักการต่างๆ และวิเคราะห์ทางสถิติ
ผลการวิจัยด้านการวางแผนการพัฒนาการขนส่งทางบกระหว่างประเทศของจังหวัด
มุกดาหารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 จนถึงปัจจุบันพบว่า ปี พ.ศ. 2557 รัฐบาลประกาศให้เป็นเขตพัฒนา
เศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร ส่งผลให้เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร พ้ืนที่ 361,542 ไร่ (578.5 ตร.
กม.) เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ มีทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัดใช้ติดต่อภายในจังหวัด
และจังหวัดใกล้เคียงโดยสะดวกสามารถเดินทางจาก กทม. – มุกดาหาร ได้มากถึง 4 เส้นทาง และ
โครงสร้างพ้ืนฐานด้านการขนส่ง ที่ดำเนินการแล้วเสร็จ (ทางหมายเลข 12 , 212 , 3019) ด้านปัญหา
อุปสรรค ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาการขนส่งทางบกระหว่างประเทศของจังหวัดมุกดาหารมี
ดังนี้ 1) ระบบโครงสร้างพ้ืนฐานยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ 2) กฎหมาย ระเบียบ และมาตรฐาน
เกี่ยวกับการขนส่งของแต่ละประเทศมีความแตกต่าง 3) ที่ดินปรับราคาสูงขึ้น 4) ขาดแคลนแรงงาน 5)
โครงสร้างพ้ืนฐานยังไม่พร้อม 6) กำหนดประเภทกิจการน้อยเกินไป 7) ค่าเช่า/ค่าธรรมเนียมสูง 8)
การลงทุนในสะหวันนะเขต สปป.ลาว ได้รับสิทธิพิเศษมากกว่า 9) ค่าแรงงานใน สปป.ลาว ถูกกว่า
10) สิทธิประโยชน์ไม่จูงใจนักลงทุน 11) โครงสร้างพ้ืนฐานยังไม่พร้อมรองรับ 12) ขาดระบบขนส่ง
ทางราง 13) ขาดระบบขนส่งทางราง และ 14) ขาดการบูรณาการ
สำหรับแนวทางการเพ่ิมขีดความสามารถการขนส่งทางบกระหว่างประเทศของจังหวัด
มุกดาหารมีดังนี้ 1) พัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานการขนส่ง 2) พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 3) ส่งเสริมการค้า
ระหว่างประเทศ 4) ส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ 5) พัฒนากฎหมายและระเบียบ 6) การขนส่งที่
ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green and Safe Transport) 7) การขนส่งที่มีประสิทธิภาพ
(Transport Efficiency) 8) ระบบคมนาคมขนส่งที่เข้าถึงได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม 9)
ข
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ภาครัฐ ควรเร่งพัฒนาในส่วนของนโยบายการวางแผนและ
กำหนดทิศทางการพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานด้านการคมนาคมขนส่ง และส่งเสริมเพ่ิมบทบาทที่สำคัญ
ในด้านการค้าและการลงทุนในภูมิภาคบนพ้ืนฐานของผลประโยชน์และความมั่นคงร่วมกัน
abstract:
ค
Abstract
Title Guidelines for Increasing the Capacity of International Land Transport
of Mukdahan Province
Field Economics
Name Mr. Theodsak Bunthot Couse NDC Class 66
The study of guidelines for increasing the capacity of international land
transportation of Mukdahan Province aimed to 1) study the planning for the
development of international land transport in Mukdahan Province from 2014 until
the present, 2) study the problems, obstacles, and impacts arising from the
development of international land transport in Mukdahan Province and 3) suggest
guidelines to increase the international land transportation capacity of Mukdahan
Province. Secondary data were collected from research, academic documents, and
related literature including documents from the legal code and articles by related
experts while primary data were collected from in-depth interviews with
representatives of the public sector, entrepreneurs, government and private sector
executives, the Federation of Thai Industries, and the Chamber of Commerce related
to transportation development and from a sample of 200 people in Mukdahan
Province. Data were analyzed by using content analysis and comparative analysis.
and synthesize theoretical information, various principles, and statistical analysis.
The results of research on international land transportation development
planning in Mukdahan Province from 2014 until the present found that in 2014 the
government announced Mukdahan as a Special Economic Development Zone. As a
result, an area of 3 6 1 , 5 4 2 rai (5 7 8 . 5 sq. km.) became a special economic
development zone. There were national highways and provincial highways that were
convenient for traveling within the province and nearby provinces. The travelling
from Bangkok - Mukdahan could travel on up to 4 routes including the transportation
infrastructure that had been completed (Route No. 12, 212, 3019). The problems,
obstacles, and impacts arising from the development of international land
transportation in Mukdahan Province were as follows: 1 ) the infrastructure system
was still insufficient to meet the needs, 2) laws, regulations, and standards regarding
transportation of each country were different, 3 ) land prices had increased, 4) labor
shortage 5) infrastructure was not yet ready, 6) business type was too little specified,
7 ) high rent/fees, 8 ) investing in Savannakhet, Lao PDR, received more special
privileges, 9 ) labor costs in Lao PDR were cheaper, 1 0 ) benefits did not attract
ง
investors, 11) infrastructure was not ready to support, 12) lack of rail transportation
system, 13) safety problems, and 14) lack of integration.
As for the guidelines to increase the international land transportation
capacity of Mukdahan Province were as follows: 1 ) develop transport infrastructure,
2) develop logistics systems, 3) develop human resources, 4) promote international
trade, 5) develop laws and regulations, 6) green and safe transport, 7) transport
efficiency, 8) transportation system that was accessible and equitable.
Policy recommendations: the government sector should accelerate the
development of planning policies, determine the direction of transportation
infrastructure development and increase its important role in trade and investment
in the region based on mutual benefits and security.