Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาความมั่นคงทางทะเลรองรับโครงการสะพานเศรษฐกิจทางบก (Landbridge),(วปอ.10117)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาวาเอก ทศพงค์ เขาสูง,(วปอ. 10117)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการพัฒนาความมั่นคงทางทะเลรองรับโครงการสะพานเศรษฐกิจ ทางบก (Landbridge) ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผู้วิจัย พลเรือตรี ทศพงค์ เขาสูง หลักสูตร วปอ. รุ่นท่ี ๖๖ การศึกษาวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาความมั่นคงทางทะเลรองรับโครงการสะพาน เศรษฐกิจทางบก (Landbridge) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑. ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน และการเช่ือมโยงระบบขนส่งทางบกและทะเล ๒. วิเคราะห์ผลกระทบด้านความมั่นคงปลอดภัย รวมถึงโอกาสและความท้าทายท่ีเกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางทะเลในโครงการสะพานเศรษฐกิจ ทางบก (Landbridge) และ ๓. เสนอแนะแนวทางการเตรียมความพร้อม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ในการรักษาความมั่นคงทางทะเลแบบองค์รวม (Comprehensive Maritime Security) และ ลดผลกระทบต่าง ๆ ท่ีจะเกิดขึ้นในอนาคตแบบยั่งยืน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงพรรณนา โดยศึกษาข้อมูลจากต ารา เอกสารทางราชการ ยุทธศาสตร์ แผน นโยบายด้านความมั่นคงทางทะเล ในระดับต่างๆ รวมท้ังวิเคราะห์สถานการณ์ความมั่นคงทางทะเลในระดับโลก ภูมิภาคอาเซี่ยน และ ภายในประเทศ การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ท่ีมีประสบการณ์การท างานท่ีเกี่ยวข้องกับความ มั่นคงทางทะเล แล้วน ามาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อน าไปสู่ผลการวิจัย และข้อยุติ ตลอดจนข้อเสนอแนะ ท่ีประโยชน์ต่อไป ผลการวิจัย พบว่า โครงการสะพานเศรษฐกิจทางบก (Landbridge) มีแนวคิดการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการเช่ือมโยงระบบขนส่งทางบกและทะเล ได้แก่ การก่อสร้างท่าเรือน้ า ลึกฝ่ังอันดามันท่ีแหลมอ่าวอ่าง อ าเภอราชกรูด จังหวัดระนอง และฝ่ังอ่าวไทย ท่ีแหลมริ่ว อ าเภอ หลังสวน จังหวัดชุมพร รองรับสินค้าได้ ๒๐ ล้าน TEUs การก่อสร้างเส้นทางบกมีระยะทางประมาณ ๙๐ กิโลเมตร (เป็นอุโมงค์ ๓ แห่ง ระยะทางอุโมงค์ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร) และการพัฒนาพื้นท่ี เชิงพาณิชย์หลังท่าด้วยการถมทะเล โดยการด าเนินโครงการจะมีผลกระทบด้านความมั่นคงปลอดภัย ทางทะเล ซึ่งเกิดจากการแข่งขันในเชิงยุทธศาสตร์ทางทะเลระหว่างประเทศมหาอ านาจ เช่น สหรัฐอเมริกา และจีน ภัยคุกคามรูปแบบใหม่และแบบผสมผสาน และความขัดแย้งในพื้นท่ีทับซ้อน ทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน ในขณะท่ีเป็นโอกาสของประเทศไทยในการเพิ่มอ านาจการต่อรอง ของประเทศไทยในการเสริมสร้างก าลังรบ อาวุธ ยุทโธปกรณ์ และระบบตรวจการณ์ทางทะเล รวมท้ัง ความช่วยเหลือในด้านอื่นๆ การแสวงหาความร่วมมือในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การยกระดับ นโยบายความมั่นคงทางทะเลอย่างจริงจัง และมีความท้าทายในการท่ีจะด าเนินการโครงการ ให้สอดคล้องกับแนวคิดสมุทราภิบาล และแนวคิดเป้าหมายการพัฒนาท่ียั่งยืน รวมท้ังการด าเนิน นโยบายต่างประเทศเพื่อรักษาความสมดุล โดยมีข้อเสนอแนะแนวทางการเตรียมความพร้อม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรักษาความมั่นคงทางทะเลแบบองค์รวม (Comprehensive Maritime Security) ประกอบด้วย ๑. ประเทศไทยต้องด าเนินนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศ มหาอ านาจ เช่น สหรัฐอเมริกา และจีน รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านในลักษณะมุ่งแสวงหาความร่วมมือ ข เพื่อลดความหวาดระแวง ๒. ประเทศไทยควรใช้ประโยชน์จากกรอบความร่วมมือด้านความมั่นคง ทางทะเลในภูมิภาคท่ีมีอยู่แล้วให้เป็นประโยชน์ต่อการด าเนินโครงการ รวมท้ังริเริ่มขยายกรอ บ ความร่วมมือใหม่ๆ ๓. ประเทศไทยต้องให้ความส าคัญกับนโยบายความมั่นคงทางทะเลอย่างจริงจัง โดยดึงทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม และตระหนักถึงความส าคัญของความมั่นคง ทางทะเลท่ีจะส่งผล ต่อความอยู่รอดของประเทศ ๔. ประเทศไทยต้องพัฒนาขีดความสามารถของหน่วยงานความมั่นคง ทางทะเล เช่น กองทัพเรือ ศูนย์อ านวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) หรือ หน่วยงานบังคับใช้กฏหมายในทะเลอื่นๆ เช่น ต ารวจน้ า กรมเจ้าท่า กรมประมง ให้มีขีดความสามารถ เพียงพอในการรับมือกับปัญหา/ภัยคุกคามท่ีจะเพิ่มมากขึ้นได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ ท้ังในมิติของการเสริมสร้างองค์วัตถุ และองค์ความรู้ส าหรับการปฏิบัติงาน

abstract:

ค Abstract Title Guidelines for Developing Maritime Security to Support the Landbridge Project Field Economics Name Rear Admiral Tossapong Kaosung Course NDC Class 66 The research study on “Guidelines for Developing Maritime Security to Support the Landbridge Project” has the objectives to : 1. Study concepts about infrastructure and linking land and sea transportation systems 2. Analyze security and safety impacts, including opportunities and challenges related to maritime security in the Landbridge Project and 3. Suggest guidelines for preparation to increase the ability to maintain holistic maritime security (Comprehensive Maritime Security) and reduce various impacts that will occur in the future in a sustainable way. It is qualitative and descriptive research by studying information from textbooks government documents, strategies, plans, policies on maritime security at various levels including analyzing the maritime security situation at the global level, ASEAN region and within the country and interview with experts who have work experience related to maritime security. Then analyze the data to lead to research results and conclusions, as well as suggestions for further benefit. The results of the research found that the Landbridge Project has a concept of infrastructure development and linking land and sea transportation systems including 1. the construction of a deep sea port on the Andaman coast at Laem Ao Ang, Ratchakrut District, Ranong Province and on the Gulf of Thailand side at Laem Riw, Lang Suan District, Chumphon Province. Each can accommodate 20 million TEUs of cargo. 2. The construction of the land route has a distance of approximately 90 kilometers (3 tunnels, tunnel distance approximately 20 kilometers). and 3. Development of commercial areas behind the port by sea reclamation. The implementation of the project will have an impact on maritime security and safety. This arises from strategic maritime competition between superpowers such as the United States and China, new and hybrid threats and conflicts in overlapping maritime areas with neighboring countries. While it is an opportunity for Thailand to increase its bargaining power in strengthening its combat power, weapons, equipment and maritime surveillance systems as well as assistance in other areas, seeking cooperation in investing in infrastructure and seriously upgrading maritime security policy. There are challenges in implementing the project in accordance with the concept of Sea Power and the ง concept of Sustainable Development Goals Including conducting foreign policy to maintain balance. With recommendations for preparation guidelines to increase the ability to maintain holistic maritime security (Comprehensive Maritime Security) consists of 1. Thailand must pursue a policy of international relations with powerful countries such as the United States and China, as well as neighboring countries in a manner aimed at seeking cooperation to reduce mistrust. 2. Thailand should take advantage of the existing regional maritime security cooperation framework to benefit project implementation including initiatives to expand new cooperation frameworks. 3. Thailand must give serious importance to maritime security policy by drawing all sectors to participate and realize the importance of maritime security that will affect the survival of the country. 4. Thailand must develop the capabilities of maritime security agencies such as the Royal Thai Navy, the Thai Maritime Enforcement Command Center (Thai - MECC) or other maritime law enforcement agencies such as the Marine Police, Marine Department, and Fisheries Department to have sufficient capacity to deal with problems/threats that will increase in a timely and efficient manner both in the dimension of strengthening the tools/equipments and enhancing knowledge for work performance.