เรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจสมัครเข้ารับราชการทหารกองประจำการของหน่วยทหารบกในพื้นที่มณฑลทหารบกที่ ๑๔,(วปอ.10112)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทหาร/Military
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี ดำรงค์ สิมะขจรบุญ,(วปอ. 10112)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจสมัครเข้ารับราชการทหารกองประจ าการ
หน่วยทหารบกในพื้นที่มณฑลทหารบกที่ ๑๔
ลักษณะวิชา การทหาร
ผู้วิจัย พลตรี ด ารงค์ สิมะขจรบุญ หลักสูตร วปอ. รุ่นท่ี ๖๖
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุหรือปัญหาท่ีส่งผลให้ชายไทยไม่ต้องการ
รับราชการเป็นทหารกองประจ าการ รวมถึงศึกษาปัจจัยท่ีส่งผลต่อแรงจูงใจในการเข้ารับราชการ
ทหารกองประจ าการ หน่วยทหารบก พื้นท่ีมณฑลทหารบกท่ี ๑๔ เพื่อหาปัจจัยท่ีมีผลมากท่ีสุด
ต่อการตัดสินใจสมัครเข้ารับราชการทหาร และเสนอแนะแนวทางในการพัฒนา แก้ไข หรือปรับปรุง
ต่อปัจจัยข้างต้นให้เป็น ไปได้ในทางปฏิบัติ ก าหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางส าเร็จรูปของ Krejcie &
Morgan ความคลาดเคล่ือนท่ียอมรับได้ไม่เกิน ๕% ระดับความเช่ือมั่น ๙๕% ได้กลุ่มตัวอย่างจ านวน
๒๙๑ คน เป็นทหารกองประจ าการที่สมัครใจเข้ารับราชการทหาร ๑๓๕ คน และทหารกองประจ าการ
ท่ีไม่สมัครใจเข้ารับราชการทหาร ๑๕๖ คน เครื่องมือท่ีใช้ได้แก่แบบสอบถาม สถิติท่ีใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉล่ียส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ
ค่า T-test โดยก าหนดนัยส าคัญทางสถิติท่ีระดับ .๐๕
ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุหรือปัญหาท่ีส่งผลให้ชายไทยไม่ต้องการรับราชการเป็นทหาร
กองประจ าการมากท่ีสุด ได้แก่ "การมีโอกาสในอาชีพอื่นท่ีดีกว่า" ซึ่งตีความว่ากลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติ
ในทางลบต่อภาพลักษณ์ของทหารกองประจ าการ ส่วน“ความกังวลเรื่องครอบครัว” เป็นสาเหตุ
รองลงมาปัจจัยท่ีส่งผลต่อแรงจูงใจในการเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจ าการมากท่ีสุด ๒ ล าดับ
แรก ได้แก่ “การมีเกียรติ มีศักด์ิศรี ได้รับการยอมรับจากสังคม” และ“โควต้าสอบนักเรียนนายสิบ”
ในด้านความคิดเห็นต่อปัจจัยท่ีมีอยู่ปัจจุบันและท่ีอาจมีขึ้นในอนาคต ท่ีส่งผลต่อการตัดสินใจสมัคร
รับราชการทหารของท้ังสองกลุ่ม พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติในทุกปัจจัยท่ีศึกษา
โดยกลุ่มผู้สมัครใจเข้ารับราชการทหารมีค่าเฉล่ียสูงกว่ากลุ่มผู้ท่ีผ่านการตรวจเลือกทหารในทุกปัจจัย
ท้ังนี้ปัจจัย “สิทธิการรักษา พยาบาลท่ีครอบคลุมไปถึงภรรยา-บุตร/บิดามารดา”, “โอกาสในการประกอบ
อาชีพอื่นๆ หลังปลดจาก กองประจ าการ”, “ความมีเกียรติ มีศักด์ิศรี ได้รับการยอมรับจากสังคม” และ
“โควต้าสอบนักเรียนนายสิบ” เป็นปัจจัยท่ีท้ังสองกลุ่มเห็นพ้องกันว่าเป็นปัจจัยท่ีส าคัญท่ีสุด ๔ ล าดับแรก
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ควรผลักดันสิทธิการรักษาพยาบาลใหค้รอบคลุมไปถึงภรรยา
บุตร และบิดามารดาของทหารกองประจ าการ ผู้บังคับบัญชาทุกระดับควรให้ความส าคัญต่อปัจจัย
“การมีเกียรติ มีศักด์ิศรี ได้รับการยอมรับจากสังคม” ซึ่งภาพลักษณ์ของกองทัพรวมถึงธรรมาภิบาล
ในกองทัพ เป็นส่ิงส าคัญในการจูงใจให้คนสมัครเข้ารับราชการทหารมากขึ้น ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ
ท่ีส าคัญคือ ควรรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้คนสมัครใจเข้ารับราชการทหาร ในกลุ่มนักเรียนช้ันมัธยมปลาย
ของโรงเรียนในพื้นท่ีชนบท ซึ่งโดยท่ัวไปมีสถานภาพโสดและมีรายได้ต่ ากว่า ๑๐,๐๐๐ บาทต่อเดือน
อันเป็นกลุ่มท่ีมีแนวโน้มตอบสนองต่อแรงจูงใจได้มากท่ีสุด ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษา
ปัจจัยท่ีส่งผลต่อแรงจูงใจในการเข้ารับราชการทหารกองประจ าการ ต่อกลุ่มนักศึกษาท่ีก าลังจบ
ช้ันมัธยมปลายในเขตชนบท
abstract:
ข
Abstract
Title Factors affecting the decision to enlist in military service of enlisted
Soldiers in ground-force Units in the 14th Military District Area
Field Military
Name MG Damrong Simakajornboon Course NDC Class 66
The purpose of this study was to examine the causes or problems that
result in Thai males not wanting to serve as enlisted soldiers, to examine factors affecting
motivation to enlist in military service of enlisted soldiers in ground-force units of the
14th Military District Area, to identify the most influential factors in the decision to
enlist and to suggest practical recommendation for developing, correcting, or improving
these factors. The sample size was determined using the Krejcie & Morgan table with
an acceptable error of no more than 5% and a 95% confidence level, resulting in a
sample of 291 individuals: 135 enlisted soldiers who voluntarily enlisted and 156 who did
not volunteer. The research instrument was a questionnaire. Data analysis employed
frequency, percentage, mean, standard deviation, and T-test, with statistical significance
set at the .05 level.
The research findings show that the main reason Thai males do not want
to serve as enlisted soldiers is “better career opportunities elsewhere,” which may
be interpreted as the sample group having a negative attitude towards the image of
enlisted soldiers. "Family concerns" was the second most common reason. The top two
factors motivating enlistment as regular soldiers were “honor, dignity, and social
acceptance” and “NCO school admission quota.” Regarding opinions on current and
potential future factors affecting the decision to enlist, there were statistically significant
differences between the two groups across all factors studied, with the volunteer
group scoring higher on average in all factors. The factors “medical benefits covering
their spouse, children and parents", “post-service career opportunities,” “honor, dignity,
and social acceptance,” and “NCO school admission quota” were agreed upon by
both groups as the four most important factors.
Policy recommendations include pushing for medical benefits to cover
the spouse, children, and parents of enlisted soldiers. Commanders at all levels
should prioritize the factor of "honor, dignity, and social acceptance," as the image of
the military, and also the good governance within it are crucial in motivating more
people to enlist. Practical recommendations suggest promoting voluntary enlistment
among high school students in rural areas, who are typically single and earn less
ค
than 10,000 baht per month, as this group is most likely to respond to incentives.
For future research, it is recommended to study factors affecting motivation to enlist
among students graduating from high school in rural areas.