เรื่อง: การส่งเสริมการออมภาคครัวเรือนเพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเงินที่ยั่งยืนของคนไทย,(วปอ.10111)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางสาว ดมิศา พิศิษฐวานิช,(วปอ. 10111)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เร่ือง การส่งเสริมการออมภาคครัวเรือนเพ่ือสร้างเสถียรภาพทางการเงินที่ยั่งยืน
ของคนไทย
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นางสาวดมิศา พิศิษฐวานิช หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66
การออมถือเป็นแหล่งเงินทุนทีส่ำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและมีบทบาทใน
การเสริมสร้างความมั ่นคงทางการเงินให้กับประชาชน ผู ้ว ิจัยได้สนใจศึกษาว่ามีปัจจัยใดบ้างที่
สนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคต่อการออมภาคครัวเรือน เพื่อนำมาสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เป็น
ประโยชน์ในการเพิ่มการออมภาคครัวเรือนให้สูงขึ้นและสร้างเสถียรภาพที่ยั่งยืนของคนไทย การ
ศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพผ่านการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก
โดยตรงกับผู้บริหารในสถาบันการเงินที่รับผิดชอบดูแลกลุ่มลูกค้าบุคคล ผู้บริหารในสถาบันการเงินที่
รับผิดชอบด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และผู้บริหารในภาครัฐที่มีความรู้ความเข้าใจด้านการ
ออมภาคประชาชน ร่วมกับการสัมภาษณ์กลุ่มกับกลุ่มประชากรตัวอย่าง โดยขอบเขตการศึกษาได้
ครอบคลุมถึงแนวคิดพฤติกรรมการออม ปัญหาและอุปสรรคตลอดจนแรงจูงใจ ในการออมภาค
ครัวเรือนของคนไทย จากผลการศึกษาพบว่าประเทศไทยได้มีการเตรียมความพร้อมของระบบการ
ออมเพ่ือเกษียณโดยมีกองทุนการออมเพ่ือการเกษียณทั้งภาคบังคับและภาคสมัครใจส่งเสริมให้แรงงาน
ทั้งในระบบและนอกระบบเข้าสู่ระบบการออมอย่างทั่วถึง แต่ประชาชนยังขาดการตระหนักรู้ในเรื่อง
การออมเงินและการวางแผนทางการเงิน นอกจากนี้บทบาทภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสังคม ยังขาด
ความเชื่อมโยงทำให้ขาดพลังในการขับเคลื่อน ตลอดจนทัศนคติของคนไทยในการวางแผนการเงินการ
ออมการใช้จ่ายยังไม่ถูกต้องโดยมีการใช้จ่ายก่อนและนำส่วนที่เหลือมาเก็บออม และยังขาดนวัตกรรม
ในการส่งเสริมหรือกระตุ้นการออมที่หลากหลายกับกลุ่มผู้ออมในกลุ่มต่างๆ โดยข้อเสนอแนะแนวทาง
ที่ควรเร่งดำเนินการคือ การจัดตั้งหน่วยงานหลักของรัฐสนับสนุนการส่งเสริมการออม การเติมเต็ม/
บูรณาการระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุ การส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องการออมการวางแผนทาง
การเงินอย่างเป็นระบบ การสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กรการเงินในระดับชุมชน การแก้ไขปัญหา
หนี้ครัวเรือนควบคู่ไปกับการส่งเสริมการออม การผสมผสานของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการ
สนับสนุนให้สถาบันการเงินการออกผลิตภัณฑ์ส่งเสริมการออมที่หลากหลาย
abstract:
ข
Abstract
Title Fostering household savings to build sustainable financial
stability for Thai people
Field Economics
Name Miss Damisa Phisitvanich Course NDC Class 66
Household savings are considered a crucial source of funding for the
country's economic development and play a role in enhancing the financial security of
the people. The researcher is interested in studying the factors that support or hinder
household savings to provide beneficial policy recommendations aimed at increasing
household savings and building sustainable stability for Thai people.
This qualitative research study involves collecting data through in-depth
interviews with executives from financial institutions responsible for managing individual
clients, financial product development, and government officials with knowledge of
public savings. Additionally, focus group interviews from a sample population were
conducted. The scope of the study encompasses concepts of saving behavior,
obstacles, as well as motivations for household savings among Thais.
The study found that Thailand has prepared a retirement savings system
with both mandatory and voluntary retirement savings funds to encourage both formal
and informal sector workers to participate in the savings system. However, the public
still requires awareness about saving and financial planning. Furthermore, the roles of
the government, private sector, and social sector are not well-connected, resulting in
an absence of driving force. In addition, Thai people's attitudes towards financial
planning, saving, and spending are also incorrect, with a tendency to spend first and
save what remains. There is also a lack of innovations to stimulate savings among
different saver groups. The recommendations for action include the establishment of
a primary government agency to support savings promotion, integrating the retirement
savings system, promoting systematic financial literacy and planning, strengthening
community-level financial organizations, addressing household debt management
alongside savings promotion, combining economic stimulus measures, and encouraging
financial institutions to introduce diverse savings promotion products.
ค