Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในหญิงไทยด้วยเครื่อง Digital Mammogram,(วปอ.10109)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, แพทย์หญิง ณัฐยา รัชตะวรรณ,(วปอ. 10109)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ในหญิงไทย ด้วยเครื่อง Digital Mammogram ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้วิจัย แพทย์หญิง ณัฐยา รัชตะวรรณ หลักสูตร วปอ. รุ่นท่ี ๖๖ มะเร็งเต้านมเป็นปัญหาสาธารณสุขส าคัญในประเทศไทยท่ีส่งผลกระทบต่อสุขภาพของ ผู้หญิงและสังคมโดยรวม เนื่องจากเป็นมะเร็งท่ีมักไม่แสดงอาการในช่วงต้น การตรวจคัดกรองมะเร็ง เต้านม จึงมีความส าคัญอย่างมากในการเพิ่มโอกาสในการตรวจพบโรคในระยะเริ่มต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพการรักษาและลดอัตราการเสียชีวิต การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ ของการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยใช้เครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมเปรียบเทียบกับเครื่องเอกซเรย์ เต้านมแบบด้ังเดิมท่ีใช้ร่วมกับอัลตราซาวด์ อีกท้ังยังศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยท่ีมีความสัมพันธ์กับการตรวจ พบมะเร็งเต้านมในหญิงไทย และส ารวจความคิดเห็นของผู้บริหารโรงพยาบาลเกี่ยวกับการใช้ เทคโนโลยีดิจิตอลแมมโมแกรมในการตรวจคัดกรอง การวิจัยนี้ใช้การเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลของโรงพยาบาลผ่านการตรวจคัดกรองมะเร็ง เต้านม รวมถึงสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารโรงพยาบาลเพื่อประเมินประสิทธิภาพของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการตรวจคัดกรอง และประสบการณ์ของผู้บริหารในการน าเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ ผลการวิจัย พบว่าดิจิตอลแมมโมแกรมมีประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองสูงกว่าเครื่องเอกซเรย์แบบด้ังเดิม และ สามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นได้มากขึ้น ส่งผลให้มีโอกาสในการรักษาท่ีดีขึ้น นอกจากนี้ การน ารถโมบายยูนิตท่ีติดต้ังเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมเข้าถึงชุมชนยังช่วยเพิ่มการเข้าถึง บริการตรวจคัดกรองในกลุ่มประชากรท่ีอาศัยอยู่ในพื้นท่ีห่างไกล การวิจัยนี้เสนอแนะให้มีการขยายการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลแมมโมแกรมในการตรวจคัดกรอง มะเร็งเต้านมอย่างแพร่หลาย เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมและเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึง บริการสาธารณสุขส าหรับผู้หญิงท่ัวประเทศ

abstract:

ข Abstract Title A Comparative Study on the Efficiency of Breast Cancer Screening: Digital Mammography vs. Traditional Mammography Combined with Ultrasound in Private Hospital Settings Field Science and Technology Name Dr. Natthaya Rajatavarn Course NDC Class 66 Breast cancer is a significant public health issue in Thailand, affecting both women's health and society at large. Due to its asymptomatic nature in the early stages, breast cancer screening is critical for improving early detection and enhancing treatment outcomes, ultimately reducing mortality rates. This study aims to evaluate the effectiveness of breast cancer screening using Digital Mammogram technology, in comparison to traditional mammography combined with ultrasound. Additionally, it examines the factors associated with breast cancer detection in Thai women and explores hospital directors’ perspectives on the use of Digital Mammogram technology in breast cancer screening, including challenges and recommendations for improving screening services. This research employed retrospective data collection from hospital databases, focusing on breast cancer screening outcomes. In-depth interviews with hospital directors were conducted to assess the effectiveness of new screening technologies and to gather their experiences with the implementation of Digital Mammogram technology. The findings indicate that Digital Mammogram offers superior screening performance compared to traditional mammography, particularly in the early detection of breast cancer, thereby improving the likelihood of successful treatment. Moreover, the deployment of mobile units equipped with Digital Mammogram devices in remote communities significantly enhances access to breast cancer screening services for populations in underserved areas. The study recommends expanding the use of Digital Mammogram technology nationwide to reduce breast cancer mortality rates and improve access to health services for women across the country.