เรื่อง: มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุเพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ,(วปอ.10108)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาง ณัฐนันทน์ อัศวเลิศศักดิ์,(วปอ. 10108)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุเพื่อรองรับ
การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย นางณัฐนันทน์ อัศวเลิศศักดิ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๖
การที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และกำลังจะเป็นสังคมผู้สูงอายุระดับ
สุดยอด (super aged society) ในปี พ.ศ. ๒๕๗๘ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความยั่งยืนทางการคลัง
จากปัจจัยหลัก ๒ ประการ คือ (๑) จำนวนของประชากรวัยแรงงานที่ลดลงซึ่งหมายความถึงภาษี
ที่จัดเก็บได้น้อยลง รายได้เฉลี่ยต่อคน (GDP Per Capita) และผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ
(GDP) ลดลง รวมทั ้งการออมในประเทศลดลงด้วย ซึ ่งเป็นข้อจำกัดต่อการลงทุนใหม่ และ
(๒) ค่าใช้จ่ายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะสวัสดิการและการสาธารณสุข
สร้างภาระต่อการคลังสาธารณะเป็นอย่างมาก ในส่วนของผู้สูงอายุเองเนื่องด้วยข้อจำกัดด้านรายได้
เบี้ยยังชีพ และสวัสดิการจากภาครัฐที่ไม่เพียงพอ อีกทั้งการพึ่งพารายได้จากครอบครัวลดลง ทำให้
ผู ้สูงอายุยังคงต้องทำงานเพื่อให้มีรายได้สำหรับการดำรงชีพ แต่โดยที่ผู ้สูงอายุมีข้อจำกัดในเรื่อง
สภาพร่างกาย สุขภาพ การขาดความรู้หรือทักษะบางประการสำหรับงานในยุคปัจจุบัน รวมถึงการขาด
การสนับสนุนในการจัดหางานและการได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกันในการจ้างงาน ทำให้ งานส่วนใหญ่
ของผู ้สูงอายุ คือ การเป็นลูกจ้างภาคเกษตรที ่มีรายได้ต่ำ หรือเป็นการประกอบธุรกิจส่วนตัว
โดยไม่มีลูกจ้าง หรือเป็นการช่วยงานกิจการในครัวเรือน ซึ่งเป็นการทำงานนอกระบบ ไม่ได้รับการ
คุ้มครองแรงงานที่เหมาะสม ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีพของผู้สูงอายุ ด้วยเหตุนี้ จึงมี
ความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องบริหารจัดการผลกระทบเชิงลบที่เกิดจากสังคมผู้สูงอายุ เพื่อสร้าง
โอกาสและแรงจูงใจให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในตลาดแรงงาน ตลอดจนเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความปลอดภัย
และมีสุขอนามัยที่ดีในการทำงาน ได้รับรายได้ สวัสดิการ การประกันสังคม และสิทธิประโยชน์อ่ืน
ที่เหมาะสมแก่การดำรงชีพ
งานวิจัยฉบับนี้ได้นำเสนอมาตรการทางกฎหมายที่สำคัญเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน
ผู้สูงอายุ โดยให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ เพื่อกำหนดอายุเกษียณ
และกำหนดมาตรการตามความสมัครใจของนายจ้างให้ใช้ความพยายามอย่างดีที่สุดในการจ้างงาน
ผู ้ส ูงอายุต่อ การตรากฎหมายว่าด้วยการคุ ้มครองมิให้เกิดการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุของอายุ
ในการจ้างงาน การแก้ไขเพิ ่มเติมกฎหมายลำดับรองเพื ่อกำหนดมาตรฐานในการบริหารและ
การจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้เหมาะสมแก่แรงงาน
ผู้สูงอายุ และการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่สถานประกอบการซึ่งรับผู้สูงอายุเข้าทำงานหรือจ้างงานต่อ
เพ่ือเป็นการสร้างแรงจูงใจให้นายจ้างหรือสถานประกอบการจ้างงานผู้สูงอายุเพ่ิมมากขึ้น นอกจากนั้น
ได้เสนอมาตรการทางบริหารควบคู่ไปกับมาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้การจ้างงาน
ผู้สูงอายุเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วภายใต้บทบาท หน้าที่และอำนาจ
ข
ของหน่วยงานของรัฐ และผู้ประกอบการ รวมทั้งการพัฒนาตนเองของแรงงานผู้สูงอายุ ตลอดจน
ได้นำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและระดับปฏิบัติการเพื่อให้มาตรการทางกฎหมายและมาตรการ
ทางบริหารในการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น
abstract:
ค
Abstract
Title Legal Measures to Promote the Employment of the Elderly in
Preparation for an Aging Society
Field Social - Psychology
Name Mrs. Nattanun Asawalertsak Course NDC Class 66
As Thailand transitions into an aging society and is on the verge of becoming
a super-aged society by the year 2578 B.E. (2035 A.D.), there are two main impacts on fiscal
sustainability: (1) The decreasing number of working-age population, which implies lower
tax revenues. The reduction in the working-age population will result in a decrease in the
average income per person (GDP Per Capita) and the Gross Domestic Product (GDP) of the
country. Additionally, domestic savings will decrease, posing a limitation on new
investments. (2) The increase in government expenditures related to the elderly, especially
healthcare costs, which significantly burden the public finances. As for the elders, with the
insufficient allowance and welfare from the government, they are obliged to continue
working to earn income and support themselves. However, the elders have disadvantages
on their physicals, health, and unsuitable skills for current occupations, including the lack
of support and equality in recruitment. As a result, most elders work as agricultural
laborers, business owners without employees, or private workers within households; these
are informal occupations which deprive the elders of appropriate labor protection, directly
affecting their livelihood.
Therefore, Thailand must manage the negative impacts arising from an aging
society, particularly in the context of creating opportunities or incentives for the elderly to
participate in the labor market, ensuring their safety and good health at work, and providing
them with adequate income, welfare, social security, and other benefits suitable for living.
This research presents important lawful measures that can promote the employment of
the elderly by amending the Labor Protection Act B.E. 2541 as well as related laws to
create incentives for the elderly or older workers to continue working; motivate employers
or businesses to hire more elderly workers by exempting their income taxes; prevent the
discrimination against age; as well as ensuring the appropriate occupational health, safety,
and environment for the elderly.
Additionally, the research offers self -development in elderly and practical
administrative measures to efficiently support the employment of the elderly within the
employer and government agency’s authority. The policy recommendation and practical
ง
measures are also to be taken into consideration to enhance the effectiveness and efficacy
of the elderly employment