Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาเสริมสร้างความพร้อมรบหน่วยรบพิเศษ กองทัพบกไทย,(วปอ.10103)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี ณรงค์ฤทธิ์ คัมภีระ,(วปอ. 10103)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เร่ือง แนวทางการพัฒนาเสริมสร้างความพร้อมรบหน่วยรบพิเศษ กองทัพบกไทย ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พลตรี ณรงค์ฤทธิ์ คัมภีระ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66 เพื่อป้องกันไม่ให้ภัยจากการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์กระทบต่อความมั่นคงของ ประเทศไทย ทำให้ในปี พ.ศ. 2497 กองทัพบกไทยได้จัดตั้งหน่วยรบพิเศษขึ้นเป็นครั้งแรก ในนาม “กองพันทหารพลร่ม” จากอดีตจนกระท่ังถึงปัจจุบัน หน่วยรบพิเศษของกองทัพบกไทย ได้มีการขยาย การจัดตั ้งเป็นหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ โดยมีบทบาทหน้าที ่ในฐานะหน่วยออมกำลัง ทางยุทธศาสตร์ มีความรับผิดชอบในการ “ปฏิบัติการพิเศษ” ตั้งแต่ยามปกติ ยามขัดแย้ง จนถึง ยามสงคราม เพื่อปกป้องอธิปไตยและรักษาผลประโยชน์ของชาติ รวมทั้งการรักษาความมั่นคงภายใน การรักษาความสงบเรียบร้อย และการปฏิบัติภารกิจตามที่กองทัพบกมอบหมาย ทั้งนี้ กองทัพบก ต้องการให้หน่วยรบพิเศษสามารถทำการรวบรวมข่าวกรอง และการแจ้งเตือนทางทางยุทธศาสตร์ ได้อย่างทันท่วงที ด้วยการเตรียมการสงครามนอกแบบ การจัดตั้งตัวแทน และข่ายงานพิเศษใน พ้ืนที่ระวัง และพ้ืนที่ทางลึก จากบทบาทหน้าที่และแนวความคิดในการปฏิบัติการพิเศษของหน่วยรบพิเศษของ กองทัพบกไทยดังกล่าว ทำให้หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ได้จัดทำแผนแม่บทการพัฒนา หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ปี 65 - 70 ขึ้นมา เพื่อรองรับแผนพัฒนากองทัพบก รวมทั้งเพ่ือ เป็นกรอบและแนวทางในการเสริมสร้าง “ความพร้อมรบ” ของหน่วยรบพิเศษในการปฏิบัติภารกิจ แต่อย่างไรก็ตาม มีความท้าทายสำคัญจากปัจจัยภายใน คือ แผนยุทธศาสตร์หรือนโยบายรัฐบาลและ หน่วยเหนือที ่เปลี ่ยนไป อีกทั ้ง ปัจจัยภายนอกประเทศที่ผลกระทบต่อความมั ่นคงของชาติ คือ การแข่งขันขยายอิทธิพลของประเทศมหาอำนาจ รวมทั้งปัญหาจากภัยคุกคามรูปแบบใหม่ต่าง ๆ อาทิ ยาเสพติด และอาชญากรรมข้ามชาติ รวมถึงความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ดังนั้น จึงมี ความจำเป็นที่หน่วยรบพิเศษจะต้องมีการทบทวนผลการปฏิบัติงาน การวิเคราะห์ ค้นหา อุปสรรค เงื่อนไข และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมาย ในการปฏิบัติงานตามแผนแม่บทการพัฒนา หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เพื ่อให้ได้ “แนวทางการพัฒนาเสริมสร้างความพร้อมรบของ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ” ที ่เหมาะสม และรองรับต่อภัยคุกคามต่อความมั ่นคงของชาติ ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศไดอ้ย่างแท้จริง การวิจัยนี้มีหลายขั้นตอน โดยจะทำการศึกษา วิเคราะห์ ค้นหา อุปสรรค เงื่อนไข และ ปัจจัยที่มีผลกระทบ ต่อการพัฒนา เสริมสร้างหน่วยรบพิเศษในอดีตที่ผ่านมา จากนั้นทำการวิเคราะห์ และประเมินสภาพปัจจุบันของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ หลังจากได้ดำเนินการการพัฒนา เสริมสร้างตามแผนพัฒนาหน่วย โดยมุ่งหา “แนวทางการพัฒนาและเสริมสร้างความพร้อมรบของ หน่วยรบพิเศษ” ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย รองรับต่อภัยคุกคามในปัจจุบันอย่างสอดคล้อง กับแผนป้องกันประเทศ และแผนแม่บทการพัฒนาหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษปี 65-70 งานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยอาศัยความรู้และประสบการณ์ของผู้วิจัย พร้อม ข ด้วยการศึกษาค้นคว้าแผนยุทธศาสตร์ คำสั่ง นโยบาย ประกอบกับการรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมจาก เอกสารตำรา บทความทางวิชาการ งานวิจัย ข้อมูลที่ได้จากการตรวจเยี่ยมหน่วย รวมทั้งข้อมูลที่ได้ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกเฉพาะกลุ่มประกอบด้วย กลุ่มการกำหนดนโยบาย กลุ่มการเตรียมกำลังและ ใช้กำลัง และกลุ่มสายวิทยาการหน่วยรบพิเศษ แล้วนำมาการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาทำให้ได้ทราบว่า การพัฒนาและเสริมสร้างหน่วยรบพิเศษ กองทัพบกไทยที่ผ่านมานั้น ถือได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ดี และเป็นไปตามแนวทางที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ กองทัพบก แผนพัฒนากองทัพบก และแผนแม่บทการพัฒนาหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ อย่างไรก็ตาม เนื ่องจากสภาวะภัยคุกคาม นโยบายหรือแผนปฏิบัติการของชาติที ่ปรับปรุงใหม่ รวมถึงเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องมีการปรับ “แนวทางการพัฒนาเสริมสร้าง ความพร้อมรบหน่วยรบพิเศษ กองทัพบกไทย” อยู่สองแนวทาง คือ การเตรียมกำลังและการจัดการ กำลัง โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. แนวทางการพัฒนาระบบการเตรียมกำลัง (Force Readiness) มีแนวทาง คือ จัดทำ แผนพัฒนาหลักนิยมของหน่วยรบพิเศษให้สมบูรณ์ เพื่อมุ่งสู่การเป็นเหล่าทหารรบพิเศษ ซึ่งรวมถึง การพัฒนาหลักนิยมการปฏิบัติไซเบอร์ของหน่วยรบพิเศษ การปรับปรุงอัตราการจัด (อจย.) กรมรบพิเศษ ให้มีขีดความสามารถด้านไซเบอร์ การใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI และการใช้อากาศยาน ไร้คนขับหรือโดรนในการปฏิบัติการพิเศษ การจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยให้มีความพร้อมรบ การพัฒนาระบบการติดต่อสื ่อสารในการปฏิบัติการของหน่วยรบพิเศษ การพัฒนาเสริมสร้าง ขีดความสามารถด้านภาษา และส่งเสริมกิจกรรมที่สร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ 2. การพัฒนาระบบการจัดการกำลังรบ (Force Management) นักรบพิเศษ ครอบคลุม ทุกขั้นตอนตั้งแต่การคัดเลือก (Selection), การเสริมสร้าง (Build up), การใช้งาน (Deployment) และการปลดประจำการ (Retirement) กลยุทธ์ต่างๆ ได้แก่ การส่งเสริมการพัฒนากำลังพลให้มี ขีดสมรรถนะ SMART SOF เพื ่อเป็นนักรบพิเศษที่ ดี, การปรับปรุงระบบการคัดเลือกกำลังพล การปร ับปร ุงหล ักส ูตรการฝ ึก หร ือกระบวนการเสร ิมสร ้างน ักรบพิเศษ และการส ่งเสริม การเจริญก้าวหน้าในอาชีพรับราชการทหารให้กำลังพล ด้วยการจัดทำแผนพัฒนา หรือส่งเสริม ความเจริญก้าวหน้าในอาชีพรับราชการทหาร

abstract:

ค Abstract Title The guidance for developing the force readiness of Special Forces, Royal Thai Army. Field Military Name Major General Narongrit Kumpeera Course NDC Class 66 To prevent the threat posed by the expansion of communism from affecting Thailand's national security, in 1954 Royal Thai Army established the first Special Forces unit, known as Airborne Battalion. From its inception to the present day, the Royal Thai Army Special Forces has been expanded and reorganized into the Special Warfare Command. The Special Forces serves as an economic strategic unit by conducting special operations during peacetime, conflict and wartime in order to protect national sovereignty and promote national interests, including internal security, public order maintenance and carrying out missions as assigned by Royal Thai Army. Therefore, Royal Thai Army requires Special Forces to be capable of gathering intelligence and providing strategic early warning, through the preparation for unconventional warfare, the establishment of agents and special networks in security areas and deep areas. Based on the roles and concepts for special operations of Royal Thai Army Special Forces, therefore Special Warfare Command has developed a master plan for the development of Special Warfare Command years 2022-2027 to support Royal Thai Army's development plan including to be the framework and guidelines for enhancing the "combat readiness" of Special Forces to conduct the missions. However, there are significant challenges arising from both internal and external factors. Internal factors include changes in strategic plans or government and superior unit policies. External factors that impact national security include the competition for influence among major powers, as well as new threats such as drug trafficking, transnational crime, and technological advancements. Therefore, it is necessary for the Special Forces to review its performance include to analyze, identify obstacles and conditions as well as the factors that affect the achievement of its objectives in accordance with the Master Plan for the Development of Special Warfare Command. This is to develop appropriate "Guidelines for developing the force Readiness of Royal Thai Army Special Forces" that can effectively address threats to national security from both internal and external factors. The research’s process will involve studying, reviewing, analyzing, and identifying obstacles, conditions, and factors that have impacted the development and ง enhancement of Special Forces in the past. Subsequently, an analysis and evaluation of the current state of the Special Warfare Command will be conducted after the implementation of development and enhancement measures in accordance with the unit's development plan. The aim is to establish "Guidelines for the Development and Enhancement of Combat Readiness of Special Forces " that are appropriate for the Thai context and current threats align with the national defense plan, and harmonize with the master plan for the development of Special Warfare Command years 2022-2027. This research is a qualitative research study that utilizes the researcher's knowledge and experience along with a thorough examination of strategic plans, orders, and policies. Additionally, the data is gathered from various sources, including textbooks, scholarly articles, research papers and information obtained from visiting the unit. In addition to the information gathered from in-depth interviews were conducted with specific groups, including policy makers, force preparation and employment units and Special Forces academic units. The collected data was then analyzed using content analysis method. The study's findings indicate that the past development and enhancement of Royal Thai Army's Special Forces Unit have been satisfactory and aligned with the guidelines set forth in Royal Thai Army's strategy, the Army Development Plan and the Master Plan for the Development of Special Warfare Command. However, due to the evolving nature of threats, newly revised national policies or action plans and rapidly changing technology, there is a need to adjust the "Guidelines for the Development and Enhancement of Force Readiness of Royal Thai Army' Special Forces " in two directions : force readiness and force management. 1. The guidelines for developing the force readiness system outline the following approach : to complete the development of the core doctrines of the special forces unit to achieve the status of a Special Forces corps, this includes the development of doctrine for special forces cyber operations. Restructuring the organizational structure of the Special Forces Regiment to enhance its capabilities in cyber warfare, artificial intelligence (AI) and unmanned aerial vehicles (UAVs) for special operations. Procurement of modern weapons and equipment to ensure combat readiness. Development of a communication system for special forces operations. Enhancing language capabilities and promoting international cooperation activities. 2. Developing a comprehensive force management system encompassing all stages from selection, development, deployment, and retirement. With various strategies, including: Promoting the development of personnel competency, SMART SOF, in order to be excellent Special Forces. Improving the personnel selection system, จ enhancing special forces training courses or build up processes, and promoting career advancement for special forces personnel by developing career development or advancement plans.