เรื่อง: การปรับปรุงการให้บริการของสถานพยาบาล หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา,(วปอ.10102)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทหาร/Military
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี ณรงค์ชัย ศิริวังไชย,(วปอ. 10102)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การปรับปรุงการให้บริการของสถานพยาบาล หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
ลักษณะวิชา การทหาร
ผู้วิจัย พลตรี ณรงค์ชัย ศิริวังไชย หลักสูตร วปอ. รุ่นท่ี ๖๖
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษากระบวนการบริการ ของสถานพยาบาล
หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ๒) เพื ่อวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา และความสูญเปล่าของ
กระบวนการบริการของสถานพยาบาล หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ๓) เพื่อนำผลที่ได้จากการวิจัย
ไปใช้ในการปรับปรุงกระบวนการบริการของสถานพยาบาล หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ใช้รูปแบบ
การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ระดับผู้บริหาร ระดับปฏิบัติการ จำนวนทั้งหมด ๗ ราย
เลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้วิจารณญาณ และคัดเลือกจากทักษะ ประสบการณ์ และความรู้
ความชำนาญในกระบวนการทำงานเกี่ยวกับขั้นตอนการบริการของสถานพยาบาล หน่วยบัญชาการ
ทหารพัฒนา ดำเนินการโดยการกำหนดรูปแบบการศึกษาด้วยการใช้วิธีสนทนาแบบกลุ่ม (Focus
group) ของกลุ่มตัวอย่าง เพื่อปรึกษาและระดมความคิดเห็น เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง
กระบวนการการบริการของสถานพยาบาล หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากกระบวนการให้บริการท่ีผ่านมา
มีกิจกรรมที่มีความสูญเปล่าตามการวิเคราะห์หาความสูญเปล่า ๗ ประการ จึงดำเนินการสร้าง
แบบจำลองกระบวนการกิจกรรมโดยนำแนวคิดลีนมาประยุกต์ จัดทำผังการไหลของกระบวนการ
ให้บริการ นำมาทดลองใช้ในการปฏิบัติงานและเก็บข้อมูล กล่าวคือ ทำการจำแนกกลุ่มผู้มารับบริการ
ได้เป็นสามกลุ่ม คือ ผู้ป่วยเก่ามีใบนัดโรคเดิม ผู้ป่วยเก่าไม่มีใบนัด และผู้ป่วยใหม่ กำหนดขั้นตอน
ในการกระบวนการของแต่ละกลุ่มใหม่โดยตัดหรือลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นบางอย่างของกลุ่มผู้ป่วยเก่า
ท่ีมีใบนัด แก้ไขการจัดคิวใหม่ ระบุเวลาท่ีให้มารับบริการเพิ่มในใบนัดผู้ป่วย จัดให้มีระบบ One stop
service และเพิ่มระบบนัดหมายทางโทรศัพท์ นำมาสู่การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปฏิบัติการได้ผล
การเปรียบเทียบกระบวนการให้บริการแบบเดิมกับแบบใหม่พบว่า สามารถลดขั้นตอนในกระบวนการ
ทำงาน จาก ๗ ขั้นตอน เหลือ ๖ ขั้นตอน และระยะเวลารอคอยได้ในกลุ่มผู้ป่วยเก่า ที่มีใบนัดพบ
แพทย์/กลุ่มผู้ป่วยเก่า ท่ีไม่มีใบนัดพบแพทย์/กลุ่มผู้ป่วยใหม่ จากเดิมท่ีใช้เวลาเฉล่ียรวม ๑๖๒/๑๖๒/
๑๖๕ นาที ตามลำดับ ภายหลังจากปรับปรุงกระบวนการทำงานใหม่แล้วจะใช้เวลาเหลือเพียง ๙๕/
๑๒๕/๑๓๐ นาที ตามลำดับ
abstract:
ข
Abstract
Title Improving the services of medical facilities, Armed Forces
Development Command
Field Military
Name Major General Narongchai Siriwangchai Course NDC. Class 66
The objective of this research is 1) to study the service process of medical facilities
2) to analyze the cause of the problem. and the waste of medical facilities service process
3) To use the results of the research to improve the service process of medical facilities. Use the
Qualitative Research, the sample group was at the Executive level. Operational level, a total of 7
people, selected a sample group. By using good judgment and selected based on skills,
experience, and knowledge and expertise in the work process regarding the service procedures
of medical facilities It is carried out by determining the educational model by using the focus
group method of sample group to consult and brainstorm opinions To serve as a guideline
for improving the service process of medical facilities, Armed Forces Development Command
The results of this research found that to collect qualitative data from past
service processes There were 7 activities that were wasted according to the waste analysis.
Create a flow chart of the service process. Tried for use in operations and collected
Information, that is, classifying groups of people receiving services. There are three groups:
old patients with the same disease appointment certificate; Old patients do not have
appointment certificates. and new patients Set new steps in each group's process by
eliminating or reducing some unnecessary steps in the old group of patients who have
appointment certificates. Edit the new queue arrangement Specify the time given to receive
additional services in the patient appointment form, establish a One stop service system, and
add a telephone appointment system. Leading to operational data analysis, results were
found in comparing the traditional service process with the new one. Able to reduce steps in
the work process from 7 steps to 6 steps and waiting time. Can wait in the group of old
patients with an appointment to see a doctor/group of old patients who do not have a
doctor's appointment/new patient group from the original average time of 162/162/165
minutes, respectively, after improving the new work process, only 95/125/130 minutes will
be left, respectively