เรื่อง: ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนด้านการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของชาติอย่างยั่งยืน,(วปอ.10098)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย ฐาปน สิริวัฒนภักดี,(วปอ. 10098)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนด้านการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อเสริมสร้าง
ความมั่นคงของชาติอย่างยั่งยืน
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นายฐาปน สิริวัฒนภักดี หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๖
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรคและโอกาส
ในการพัฒนาแนวทางการขับเคลื ่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทย ๒) เพื ่อวิเคราะห์และ
เปรียบเทียบปัจจัยด้านการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของไทยและต่างประเทศ เพ่ือพัฒนาแนวทางการ
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทย ๓) เพ่ือเสนอยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนด้านการพัฒนา
เศรษฐกิจฐานรากให้แก่ทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม
และภาคประชาชน เพ่ือเสริมสร้างความม่ันคงของชาติอย่างยั่งยืนตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะยาว
๒๐ ปี การวิจัยครั้งนี้ ได้กำหนดระเบียบวิธีการวิจัยเป็นรูปแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Interview)
ประชากรของการวิจัย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน
ซึ่งเป็นภาคส่วนในระบบนิเวศของระบบการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก
ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sample) เพ่ือเลือกผู้ให้
ข้อมูลสำคัญ รวมทั้งสิ้น ๓๕ คน ผลการวิจัยพบว่า ๑) สภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรค และโอกาสใน
การพัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทย จากการวิเคราะห์ปัญหาหลักมี ๙
ประการ ได้แก่ ๑.๑) นโยบายประชานิยม ๑.๒) ระบบราชการทีข่าดความคล่องตัว ๑.๓) การขาดการ
พัฒนาทรัพยากรบุคคล ๑.๔) การขาดความรู ้ด้านธุรกิจและการเข้าถึงตลาด ๑.๕) การกระจาย
งบประมาณไม่ถึงกลุ่มเป้าหมาย ๑.๖) ความท้าทายในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ๑.๗) การขาดข้อมูลของ
ภาครัฐ ๑.๘) การขาดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ ๑.๙) การขาดการบูรณาการของทุกภาคส่วน
๒) การวิเคราะห์และเปรียบเทียบปัจจัยด้านการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของไทยและต่างประเทศ
พบว่าทุกประเทศมีบริบทสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันแต่สิ่งที่เหมือนกันคือการกำหนดปัญหาอย่าง
ชัดเจนและหาทางออกของตัวเอง ส่วนประเทศไทยนั้นสามารถพัฒนารูปแบบในการแก้ปัญหาได้ดี
จนถึงปัจจุบัน แต่อาจมีความท้าทายด้านระบบการจัดการ นโยบายภาครัฐ รูปแบบการบริหารที่
กระจุกตัวและยังมิได้เกิดการบูรณาการในทุกภาคส่วน ๓) การเสนอยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนด้าน
การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยการสร้างการรับรู้และความเข้าใจร่วมกันของทุกภาคส่วน สามารถทำ
ได้โดยการจัดตั้งสถาบันกลางที่รวมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดไว้ด้วยกันได้ เป็นศูนย์กลางประสานงาน
แลกเปลี่ยนข้อมูล และกำหนดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากร่วมกัน กลยุทธ์ในการพัฒนาที่จะ
นำเสนอในครั้งนี้ คือ การจัดตั้ง “สถาบันการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน” ซึ่งเป็นวิธีการที่
สามารถบูรณาการรวมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้าไว้ด้วยกนั
abstract:
ข
Abstract
Title Strategy for Advancing the Development of the Grassroots Economy
to Sustainably Enhancing National Security
Field Economics
Name Mr. Thapana Sirivadhanabhakdi Course NDC Class 66
The objectives of this research are to 1) examine the current state,
challenges, and opportunities associated with advancing the grassroots economy in
Thailand; 2) analyze and compare domestic and international grassroots economy
development factors to enhance Thailand’s approach in driving its grassroots
economy; and 3) propose a strategy for advancing grassroots economy development
to all sectors—government, private, academia, civil society, and general public—to
sustainably enhance national security, aligning with the 20-year National Strategy
framework. This research employed a qualitative research methodology: in-depth and
focus group interviews of 35 key informants from the abovementioned sectors, as
purposive samples. The findings are as follows: 1) The nine key challenges in advancing
Thailand's grassroots economy comprise 1.1) Populist policies, 1.2) Inflexible
bureaucracy, 1.3) Insufficient human resource development, 1.4) Limited business
knowledge and market access, 1.5) Ineffective budget allocations to target groups, 1.6)
Challenges in accessing funding, 1.7) Government sector’s lack of holistic information,
1.8) Insufficient product development, and 1.9) Lack of sectoral integration. 2) The
analysis of domestic and international grassroots economy development factors
showed that despite different contexts, the common requirements are clear
identification of problems and tailored solutions. Thailand has developed effective
problem-solving models to date, but still faces challenges regarding management
system, government policies, centralized administration, and a lack of sectoral
integration. 3) The proposed strategy to advance the development is raising awareness
and mutual understanding across all sectors. This involves creating a central institute
to unify relevant parties, coordinate efforts, and exchange information. The proposed
strategy of establishing "Institute for Sustainable Grassroots Economy Development"
would integrate stakeholders and facilitate collaborative development guidelines for
the grassroots economy.