เรื่อง: การคุ้มครองการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าที่และหน่วยงานภาครัฐในกระบวนการยุติธรรมโดยพนักงานอัยการ,(วปอ.10094)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการเมือง/Politics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย ไชยรัตน์ ปาวะกะนันท์,(วปอ. 10094)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ เร่ือง การคุ้มครองการปฏิบัติหน้าท่ีของเจ้าหน้าท่ีและหน่วยงานภาครัฐ
ในกระบวนการยุติธรรมโดยพนักงานอัยการ
ลักษณะวิชา การเมือง
ผู้วิจัย นายไชยรัตน์ ปาวะกะนันท์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๖
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษาให้ทราบว่าบุคคลใดบ้างหรือหน่วยงานใดบ้างเป็นผู้
มีสิทธิได้รับการให้ความช่วยเหลือ คุ้มครอง ในการแก้ต่างคดีอาญาจากกรณีที่ราษฎรฟ้องจากการที่ได้
ปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งกรณีอาจมีบุคคลที่ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่รัฐแต่ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาได้ด้วยเช่นกัน และยัง
รวมถึงหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานที่มีสถานะทางสังคมเป็นบริษัทมหาชนที่ยัง
ได้รับความคุ้มครอง และความช่วยเหลือในการแก้ต่างคดีอาญาจากพนักงานอัยการนี้ด้วย ดังเช่น
ธนาคารกรุงไทย จ ากัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน บริษัท ปตท.จ ากัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง
ประเทศไทย เป็นต้น และเพ่ีอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานของรัฐ ได้รับทราบถึงสิทธิ ความ
คุ้มครอง และการให้ความช่วยเหลือ เมื่อถูกราษฎรฟ้องจากการปฏิบัติหน้าที่ ว่าจะต้องด าเนินการ
อย่างไร มีขั้นตอนการพิจารณาของศาลที่ตนถูกฟ้อง (ศาลในระบบกล่าวหา (Adversarial System)
และศาลในระบบไต่สวน (Inquisitorial System) อย่างไร เป็นศาลระบบใด และการขอความ
ช่วยเหลือเพ่ือขอให้ส านักงานอัยการสูงสุด พิจารณาให้ความช่วยเหลือในการรับแก้ต่างคดีอาญาที่ถูก
ฟ้องนั้น มีขั้นตอน กระบวนการ และวิธีการอย่างไร เพื่อใช้เป็นแนวทางศึกษาและเพื่อการแก้ไข
กฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ยังไม่มีค าสั่ง ระเบียบ กฎ และ
กฎหมายให้ความคุ้มครองบุคคลและผู้ปฏิบัติหน้าที่ที่ถูกฟ้องเป็นคดีอาญา เพ่ือให้เกิดความเหมาะสม
เท่าเทียมกัน อันเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน และผู้ปฏิบัติงาน และยังก่อให้เกิดการคุ้มครอง
เจ้าหน้าทีข่องรัฐ และหน่วยงานของรัฐที่กระท าการไปโดยสุจริต ตั้งแต่ชั้นต้นของกระบวนการที่มีการ
ร้องเรียน หรือการพิจารณาจากหน่วยงานต้นสังกัด เพ่ือให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่โดย
สุจริต อันเป็นการปกป้องคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตดังกล่าวนั่นเอง นอกจากนี้
ยังเป็นการปกป้องคุ้มครองการใช้สิทธิโดยสุจริตของราษฎร ที่เป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาดังกล่าว
เนื่องจากหากพนักงานอัยการพิจารณาจากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ
และหน่วยงานของรัฐชี้แจงแล้ว หากพิจารณาและเห็นว่าการกระท าเป็นความผิดตามค าฟ้องของโจทก์
ก็จะไม่รับแก้ต่างคดีอาญาดังกล่าวให้ ซึ่งถือว่าเป็นการปกป้องคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่
ผู้เสียหายด้วย ตามพันธกิจและกฎหมายขององค์กรอัยการ
นอกจากนี้แล้วการวิจัยครั้งนี้ยังได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการฟ้องคดีอาญาโดยราษฎร
(เฉพาะในส่วนของความผิดอาญาที่ฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐจากการปฏิบัติหน้าที่)
ซึ่งกระท าได้โดยง่ายและไม่ผ่านกระบวนการการสอบสวนโดยผู้มีหน้าที่สอบสวนอย่างพนักงาน
สอบสวน คณะกรรมการ ป.ป.ช. และคณะกรรมการ ป.ป.ท. เป็นต้น ซึ่งอาจมีกรณีที่เกิดการใช้สิทธิ
ฟ้องคดีอาญาโดยไม่สุจริต หวังผลประโยชน์บางประการเช่นการฟ้องเพ่ือข่มขู่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเกรง
กลัวเพ่ือต่อไปโจทก์ซึ่งต้องผ่านการตรวจสอบหรือการรับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าว หรือ
ข
การฟ้องเพ่ือเรียกเอกสารในส านวนคดีที่โจทก์ตกเป็นผู้ต้องหาหรือจ าเลย เพ่ือน าไปใช้ในคดีของตน เป็นต้น
ดังนั้นจึงได้มีข้อเสนอแนะว่าการด าเนินคดีอาญาโดยราษฎร กรณีที่เป็นการฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐและ
หน่วยงานของรัฐจากการปฏิบัติหน้าที่ เห็นควรให้ผ่านการด าเนินการสอบสวนตามขั้นตอนปกติ
เสียก่อน แล้วราษฎรจึงขอเข้าใช้สิทธิในการเข้าร่วมเป็นโจทก์ หรือหากมีกรณีที่การสอบสวนล่าช้าเกิน
กว่าก าหนดเวลาเช่น เกินกว่า ๖ เดือน นับตั้งแต่ที่ร้องทุกข์เพ่ือด าเนินคดีโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
จึงให้สิทธิราษฎรผู้เสียหายน าคดีอาญามาฟ้องได้ด้วยตนเอง และการวิจัยนี้ยังมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ
การปฏิบัติงานของพนักงานอัยการแก้ต่างคดีอาญา ที่ปัจจุบันนี้แม้จะมีส านักงานอัยการที่ปฏิบัติหน้าที่
อยู่ทุกเขตอ านาจศาล แต่ในการท าหน้าที่แก้ต่างคดีอาญา กลับมีพนักงานอัยการที่ท า หน้าที่
เฉพาะเจาะจงในการแก้ต่างคดีอาญาอย่างเดียวเพียงส านักงานคดีอาญา ที่มีหน่วยงานปฏิบัติหน้าที่
แก้ต่างอยู่เพียงส านักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา ๑ และส านักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา ๒
เพียง ๒ ส านักงาน ซึ่งแนวโน้มการฟ้องคดีอาญาโดยราษฎร หากยังไม่อาจแก้ไขกฎหมายให้มีการผ่าน
การสอบสวนก่อนที่ราษฎรจะน าคดีอาญามาฟ้องเองได้ แนวทางในการจัดตั้งส านักงานอัยการเพ่ือท า
หน้าที่แก้ต่างคดีอาญา โดยยกฐานะขึ้นเป็นส านักงานแก้ต่างคดีอาญา เพ่ือให้มีหน่วยงานในการท า
หน้าที่เพ่ิมมากขึ้นจากเดิม และท าหน้าที่แก้ต่างคดีอาญาโดยเฉพาะ ก็จะเป็นการช่วยรักษาความเป็น
ธรรมให้แก่สังคมได้เพ่ิมมากข้ึนด้วย
abstract:
ค
Abstract
Title The Protection of Duties Performed by Government Officials and
Agencies in the Justice System by Public Prosecutors
Field Politics
Name Mr. Chairat Pavaganun Course NDC Class 66
This research aims to study and identify which individuals or
organizations are permitted to assist and protect in defending against criminal cases
resulting from lawsuits filed by citizens regarding the performance of their duties. This
includes cases where non-government officials are also sued in criminal cases. The
study also covers state-owned enterprises, public organizations, and entities with
public company status that receive protection and assistance in defending criminal
cases from public prosecutors. Examples of such entities include Krung Thai Bank
Public Company Limited, Government Savings Bank, PTT Public Company Limited,
and the Electricity Generating Authority of Thailand. Additionally, this research aims
to inform government officials and agencies about their rights, protections, and the
assistance available when citizens sue them for performing their duties. It explores
the necessary procedures and steps to be taken, as well as the consideration process
in the courts where they are sued (courts in the Adversarial System and courts in the
Inquisitorial System) and identifies which system these courts belong to.
The research also explores the steps, processes, and methods for
requesting assistance from the Office of the Attorney General to consider providing
help in defending criminal cases. This information will serve as a guideline for
studying and amending laws related to the duties of government officials where
there are no existing orders, regulations, rules, or laws protecting individuals and
officials sued in criminal cases. The aim is to establish appropriate and equal
protection that benefits the public and government workers. Furthermore, this study
aims to protect government officials and agencies acting in good faith right from the
start of the complaint process or when being considered by their parent
organizations. This ensures fairness for those carrying out their duties with good
intentions and safeguards government officials acting honestly. Moreover, the
research is focused on safeguarding the rights of citizens who file criminal lawsuits in
good faith. If public prosecutors find that the actions alleged in the plaintiff's
complaint constitute an offense after reviewing the facts and evidence presented by
government officials and agencies, they will not defend such criminal cases. This
ง
approach aims to protect and ensure justice for the victims in line with the mission
and laws governing the prosecutor's office.
Moreover, this research emphasizes the issues that arise from citizens
filing criminal lawsuits, particularly related to criminal offenses against government
officials and agencies while performing their duties. These lawsuits can be filed easily
without going through an investigative process conducted by authorized personnel
such as inquiry officers, the National Anti-Corruption Commission (NACC), or the
Public Sector Anti-Corruption Commission (PACC). There may be instances where
criminal lawsuits are filed in bad faith, seeking certain benefits, such as intimidating
government officials to influence future inspections or permit approvals or obtaining
case documents where the plaintiff is a suspect or defendant to use in their case.
Therefore, it is recommended that criminal proceedings by citizens against
government officials and agencies for actions performed in the line of duty should
first undergo a normal investigation process. Citizens should then be allowed to join
as co-plaintiffs. If the investigation is delayed beyond a set period, such as more than
six months from the date of the lawful complaint, the injured party should be given
the right to file a criminal case directly. The research also suggests improvements in
the work of public prosecutors in defending criminal cases. Although there are
prosecutor's offices in every court jurisdiction, only the Criminal Case Office, with its
two specialized departments (Special Criminal Case Office 1 and 2), is specifically
tasked with defending criminal cases. If the law cannot be amended to require an
investigation before citizens can file criminal cases, the research proposes
establishing a dedicated Criminal Defense Office. This would elevate the status of the
current units and increase the number of departments specifically handling criminal
defense cases, helping to maintain greater social justice.