เรื่อง: แนวทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนภาคพื้นทวีป,(วปอ.10093)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางสาว โชติมา เอี่ยมสวัสดิกุล,(วปอ. 10093)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ข
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจการค้ากับประเทศเพ่ือนบ้านของไทยในอาเซียน
ภาคพ้ืนทวีป
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นางสาวโชติมา เอ่ียมสวัสดิกุล หลักสูตร วปอ. รุ่นที ่66
ประเทศไทยกับประเทศเพื ่อนบ้านมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าที่ เพิ ่มพูน
มาก ขึ้นเรื่อยๆ แต่แนวทางการดำเนินนโยบายที่ผ่านมาของไทยเป็นไปในลักษณะภาพรวมโดยมิได้มี
การกำหนดนโยบายเป็นรายประเทศ ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านของไทยมีระดับการพัฒนาทาง
เศรษฐกิจ นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ และปัจจัยแวดล้อมที่แตกต่างกัน การวิจัยนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์
บริบทแวดล้อมปัจจุบัน โอกาส ความท้าทาย เพื่อเสนอแนะแนวทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจการค้า
ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านของไทยในอาเซียนภาคพื้นทวีปที่เหมาะสม ครอบคลุมประเทศมาเลเซีย
กัมพูชา สปป.ลาว เวียดนาม และเมียนมา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก เอกสาร
วิชาการ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ SWOT และดัชนีความสามารถในการส่งออก (ESI)
ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างไทยกับประเทศเพ่ือนบ้านในช่วงที่ผ่านมา
เน้นการส่งเสริมความเชื ่อมโยงของโครงสร้างพื ้นฐานและกฎระเบียบที่สนับสนุนบทบาทการเป็น
ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของไทยในภูมิภาค ซึ่งเมื่อประกอบกับความสามารถในการผลิตทั้งสินค้าเกษตร
และอุตสาหกรรมของไทยส่งผลให้สัดส่วนการค้าของไทยกับประเทศเพ่ือนบ้านเพ่ิมขึ้นเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ดี สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในระดับโลกและระดับประเทศส่งผลต่อการ
ปรับเปลี่ยนนโยบายในแต่ละประเทศ ในระยะต่อไปหน่วยงานภาครัฐของไทยจึงต้องมีความสัมพันธ์ที่
ใกล้ชิดกับภาครัฐของประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่องผ่านกลไกที่มีอยู่ของแต่ละหน่วยงาน ควรสร้าง
ความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย รวมถึงให้ความช่วยเหลือกันอย่างจริงใจในการทำงานร่วมกัน
เพ่ือแก้ปัญหาต่างๆ เช่นเดียวกับภาคเอกชนที่ต้องทำงานร่วมกับภาครัฐ ติดตามสถานการณ์ทางการเมือง
และนโยบายเศรษฐกิจการค้าการลงทุนของประเทศเพื่อนบ้านอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการ
ปรับเปลี่ยนนโยบายของไทยให้สอดคล้องกับปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที โดยสำหรับ
สปป.ลาว และเมียนมา ไทยควรเน้นส่งเสริมการเข้าไปลงทุนทำการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า เพื่อให้
สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศที่ขณะนี้มุ่งลดการนำเข้าและส่งเสริมการผลิตสินค้าใน
ประเทศ ในขณะที่กัมพูชา และเวียดนาม ไทยควรดำเนินนโยบายที่เน้นส่งเสริมการเข้าไปลงทุนทำการ
ผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศที่สามจากนโยบายเปิดเสรีทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุนและการมุ่งเจรจา
FTA เพื่อขยายโอกาสทางการค้าของทั้งสองประเทศ สำหรับมาเลเซีย ไทยควรดำเนินนโยบายที่เน้นการ
ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อประโยชน์ร่วมกันในการทำการค้ากับประเทศที่สาม จากการมีห่วงโซ่การผลิตที่
เกื้อกูลกันระหว่างสองประเทศ
abstract:
ข
Abstract
Title Guidelines for Thailand's Economic and Trade Policies with
Neighboring Mainland ASEAN Countries
Field Economics
Name Miss Chotima Iemsawasdikul Course NDC Class 66
Thailand’s economic and trade relations with its neighboring countries
have been growing steadily. However, Thailand’s policy approach has been generally
broad without specific policies tailored to individual countries. While neighboring
countries have varying levels of economic development, economic policies, and
environmental factors. This research aims to study and analyze the current context,
opportunities, and challenges to propose suitable economic and trade policy
guidelines for Thailand with its neighboring ASEAN countries on the mainland, including
Malaysia, Cambodia, Lao PDR, Vietnam, and Myanmar. Data were collected through
in-depth interviews and academic documents and analysis were conducted through
SWOT analysis, and the calculation for Export Specialization Index (ESI). The findings
reveal that past economic and trade cooperation between Thailand and its neighbors
focused on promoting connectivity of infrastructure and regulatory frameworks,
supporting Thailand’s role as a regional economic hub. Coupled with Thailand’s
agricultural and industrial production capabilities, this has significantly increased
Thailand’s trade share with neighboring countries.
However, changes at both global and national levels are prompting policy
adjustments in each country. Going forward, Thai government agencies need to
maintain close relations with the governments of neighboring countries through existing
mechanisms, fostering mutually beneficial cooperation and sincere collaboration to
solve common problems. Similarly, the private sector is recommended to work closely
with the government and keep monitoring political and economic developments in
neighboring countries to support timely policy adjustments in Thailand. Specifically,
for Lao PDR and Myanmar, Thailand should focus on promoting investment in import-
substitution sectors, aligning with the economic policies of these countries, which focus
ค
on reducing imports and promoting local production. In Cambodia and Vietnam,
Thailand should encourage investment in manufacturing sector with an aim to export
to third countries, capitalizing on these countries’ open economic and trade policies
and utilizing trade opportunities from their Free Trade Agreements. For Malaysia,
Thailand should emphasize on promoting cooperative efforts for mutual benefits
in third-country trade, leveraging the complementary production chains between
the two nations.