Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การเมืองกับการจัดการอุทกภัยของประเทศไทยช่วงปี พ.ศ. 2546 - 2565 ,(วปอ.10092)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย โชตินรินทร์ เกิดสม,(วปอ. 10092)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เร่ือง พัฒนาการการจัดการอุทกภัยของประเทศไทย พ.ศ. 2546 - 2565 ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้วิจัย นายโชตินรินทร์ เกิดสม หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือ 1. เพ่ือศึกษาพัฒนาการเชิงนโยบายของรัฐในการจัดการ อุทกภัย พ.ศ. 2546 - 2565 2. เพ่ือวิเคราะห์ลักษณะปฏิสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับการจัดการอุทกภัย พ.ศ. 2546 - 2565 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลส าคัญ รวมทั้งสิ้น 7 คน โดยเลือกกลุ่มข้อมูลแบบ เจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม โดยท าการวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. พัฒนาการเชิงนโยบายของรัฐในการจัดการอุทกภัย พ.ศ. 2546 - 2565 แบ่งเป็น 4 ช่วงระยะ ได้แก่ (1) การจัดการสาธารณภัย (เชิงรับ : Reactive) ก่อนปี พ.ศ. 2550 (2) การจัดการสาธารณภัย (เชิงรุก : Proactive) ระหว่างปี พ.ศ. 2553 - 2557 (3) การ จัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย (การรู้รับ - ปรับตัว - ฟ้ืนเร็วทั่ว - อย่างยั่งยืน : Resilience) หลังปี พ.ศ. 2558 - 2563 และ (4) การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย (การรักษาต่อยอดการรู้รับ - ปรับตัว - ฟ้ืนเร็วทั่ว - อย่างยั่งยืน : Resilience) สังคมมีภูมิคุ้มกัน ล้มแล้วลุกไว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 - 2570 2. ลักษณะปฏิสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับการจัดการอุทกภัย พ.ศ. 2546 -2565 แบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานราชการกับฝ่ายการเมืองปฏิสัมพันธ์การช่วยเหลือสนับสนุนจาก ภาคเอกชน และปฏิสัมพันธ์ของบุคคล ระดับนโยบาย และหน่วยงานที่น านโยบายไปปฏิบัติ ซึ่งรัฐและ ภาคเอกชนจะต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและเห็นความส าคัญในเรื่อง การอุตุนิยมวิทยา ให้ความสนใจกับพยากรณ์อากาศและการเตือนภัย ควรให้มีการบูรณาการ การช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในด้านการเงิน งบประมาณ บุคลากร เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ฟ้ืนคืนสู่สภาพเดิมให้เร็วที่สุด และน าไปสู่การบริหารจัดการการแก้ไขปัญหา อุทกภัยอย่างมีประสิทธิภาพ

abstract:

ข Abstract Title Flood Management Development in Thailand 2003 - 2022 Field Science and Technology Name Mr. Chodnarin Kordsom Course NDC Class 66 The objectives of this research are 1) To study the development of government policy in flood management from 2003 - 2022. 2) To analyze the nature of interactions related to flood management from 2003 - 2022. This is a qualitative research. There were a total of 7 key informants, with specific groups of information selected. The research tools used were in-depth interviews and focus groups by analyzing content data. The research results found that 1) Development of government policy in flood management, 2003 - 2022, divided into 4 periods : (1) Disaster management (Reactive) before 2007 (2) Disaster management (Proactive) during 2010 - 2014 (3) Management disaster risk (recognition, adaptation, quick and sustainable recovery: Resilience) after 2015 - 2020 and (4) Disaster risk management (Treatment to expand awareness, adapt, recover quickly throughout, sustainably: Resilience) Society has immunity to fall and gets up quickly from 2021 to 2027, 2) Characteristics of interactions related to flood management 2003 - 2022 are divided into 3 types : interaction between government agencies and political parties, interaction with assistance and support from the private sector and interaction of policy-level individuals and policy-leading agencies in practice. The government and private sector must encourage people to know and understand the importance of meteorology, paying attention to weather forecasts and warnings. There should be integration of assistance from government agencies and the private sector in terms of finance, budget, personnel, tools, and equipment to restore to normal conditions as quickly as possible and lead to efficient flood problem management.