เรื่อง: แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานรากต่อยอดสู่การขับเคลื่อน Soft Power ของประเทศไทย ด้วยมิติวัฒนธรรม,(วปอ.10091)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาง โชติกา อัครกิจโสภากุล,(วปอ. 10091)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานราก ต่อยอดสู่การขับเคลื่อน Soft Power ของประเทศไทย ด้วยมิติวัฒนธรม
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นางโชติกา อัครกิจโสภากุล หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๖
การศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล เพื่อเสริมสร้างความมั่นคง
ของเศรษฐกิจฐานราก ต่อยอดสู่การขับเคลื่อน Soft Power ของประเทศไทย ด้วยมิติวัฒนธรรม
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของเศรษฐกิจ
ฐานราก ต่อยอดสู่การขับเคลื่อน Soft Power ของประเทศไทย ด้วยมิติวัฒนธรม และศึกษาปัจจัย
ที่เกี่ยวข้อง/ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล รวมถึงวิเคราะห์และจัดทำข้อเสนอแนะ
เชิงนโยบาย ต่อการขับเคลื่อนการดำเนินงาน เพื่อต่อยอดสู่การขับเคลื่อน Soft Power ของประเทศไทยในระดับนานาชาติ ด้วยมิติวัฒนธรม ทั้งนี้ กำหนดขอบเขตของการศึกษาวิจัย โดยการศึกษา
ในประเด็นการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานราก ต่อยอดสู่การขับเคลื่อน Soft Power ของประเทศไทย ในมิติด้านวัฒนธรม ของหน่วยงาน/องค์กร และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาต่อยอด สร้างสรรค์เพื่อสร้างคุณค่าและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจ
ของประเทศ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Quality Research) วิธีการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In - Dept Interview) โดยสรุปผลการวิจัยได้ว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานราก ต่อยอดสู่การขับเคลื่อน Soft Power ของประเทศไทย ด้วยมิติวัฒนธรม แบ่งเป็นปัจจัยเชิงบวก ประกอบด้วย
๑) ปัจจัยด้านทุนทางวัฒนธรรม ๒) ปัจจัยด้านหน่วยงาน/ภาคส่วนต่างๆ ที่มีหน้าที่ขับเคลื่อน
การดำเนินงาน และ ๓) ปัจจัยด้านโอกาสในการพัฒนา Soft Power ในมิติวัฒนธรรม แต่ทั้งนี้ยังมีปัจจัยด้านลบที่เป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนงาน ประกอบด้วย ๑) การขาดการบูรณาการ
การดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม ๒) การเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านอาหารของประเทศไทย และ ๓) การสร้างการรับรู้เกี่ยวกับอาหารไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทั้งนี้ผู้วิจัยได้จัดทำเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการขับเคลื่อน
การดำเนินงาน เพื่อต่อยอดสู่การขับเคลื่อน Soft Power ของประเทศไทยในระดับนานาชาติ
ด้วยมิติวัฒนธรม ดังนี้ ๑) การกำหนดยุทธศาสตร์ นโยบายรัฐบาล และการดำเนินงานของหน่วยงาน/ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานการขับเคลื่อน Soft Power ของประเทศไทย ด้วยมิติวัฒนธรม ที่ชัดเจน ๒) การกำหนดกลไก (หน่วยงาน) ในการดำเนินงานการขับเคลื่อน Soft Power ของประเทศไทย ด้วยมิติวัฒนธรม ๓) การขับเคลื่อน Soft Power ของประเทศไทย ด้วยมิติวัฒนธรม แบบองค์รวม และ ๔) การวางกลยุทธ์เพื่อสร้างการรับรู้ Soft Power ของประเทศไทย ด้วยมิติวัฒนธรรม
abstract:
Abstract Title The Study of the Government’s Policy Implementation with a Focus on Strengthening the Local Economy and Enhancing Thailand’s Soft Power based on a Cultural Outlook
Field Economics
Name Chotika Akkrakitsophakul Course NDC Class 66
This research aims to study the government’s policy implementation and strategic plans concerning the enhancement of the local economy and Thailand’s soft power using cultures and related factors, including policy analysis and recommendations, while eyeing
the roles in the international community. The scope of the research is to identify the factors that enhance the government’s policy implementation with an emphasis on strengthening
the local economy and Thailand’s cultural Soft Power through supports from related organizations and stakeholders whose roles involve developing and creating added values which helps boost the national economy.
In this study, a quality and documentary research, including an in-depth interview is utilized. The study concludes that the positive factors, affecting the government’s policy implementation that aims at enhancing the stability of the local economy and Thailand’s cultural soft power, can be categorized as follows: 1) the cultural capital 2) the operational organizations and stakeholders, and 3) the development of the cultural soft Power.
However, the research also finds that there are negative factors that affect
the government’s policy implementation, which are: 1) the lack of a concrete integration from concerned stakeholders 2) the accessibility of the related information on Thailand's food industry, and 3) the awareness of Thailand’s international acceptance.
In addition, the researcher also provides recommendations for the government’s strategic policy in hopes of enhancing Thailand’s cultural soft power and its reach towards
the international stage in the following aspects: 1) defining the scope of strategies, policies,
and action plans carried out by the other related organizations with an aim to develop Thailand’s cultural soft power 2) identifying the parties in order to implement the policy implementation 3) focusing on the overall implementation that supports the enhancement
of Thailand’s cultural soft power, and 4) creating strategies that compliment with raising public awareness of Thailand’s cultural soft power.