เรื่อง: การศึกษาความเหมาะสมการใช้รถยนต์โดยสารไฟฟ้าทดแทนรถยนต์โดยสารน้ำมันเชื้อเพลิง,(วปอ.10089)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี ชาตรี บัวรักษา,(วปอ. 10089)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การศึกษาความเหมาะสมการใช้รถยนตโ์ดยสารไฟฟ้าทดแทนรถยนตโ์ดยสาร
น้ำมันเชื้อเพลิง
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลย ี
ผู้วิจัย พล.ต.ชาตรี บัวรักษา หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๖
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพ่ือศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการกระจายการเดินทางรถยนต์
โดยสารในรอบปี ๒๕๖๖ นำผลมาวิเคราะห์ความคุ ้มค่าในการลงทุน ระยะเวลาคืนทุนจากปัจจัย
ราคารถความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง เพื่อกำหนดคุณลักษณะรถยนต์โดยสารไฟฟ้า และจำนวนที่เหมาะสม
โดยรวบรวมข้อมูลรถยนต์โดยสารที่ปฏิบัติงานจริงในปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ในห้วงของการทำวิจัย
จากผลการวิเคราะห์รูปแบบการกระจายการเดินทางรถยนต์โดยสารของกรมยุทธบริการ
ทหาร ในรอบปี ๒๕๖๖ สามารถแบ่งการเดินทางได้เป็น ๒ ลักษณะรูปแบบที่ ๑ การเดินทางที่มีรูปแบบ
การใช้เส้นทางและมีต้นทาง-จุดหมายปลายทางซ้ำๆในลักษณะเป็นงานประจำตลอดทั้งปีจำนวนเที่ยว
การเดินทางทั ้งสิ ้น ๗,๖๘๔ เที ่ยว/ปี โดยมีจุดปลายทาง ๒๖ จุด ซึ ่งมีระยะทางการเดินทางไป-กลับ
น้อยกว่า ๑๐๐ กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ ๘๐ รูปแบบที ่ ๒ การเดินทางที ่มีร ูปแบบการใช้เส้นทาง
และมีต้นทาง-จุดหมายปลายทาง เป็นครั้งคราวคิดเป็นจำนวนเที่ยวการเดินทางทั้งสิ ้น ๖๔๕ เที่ยว/ปี
โดยม ีระยะทางในการเด ินทางระหว ่างต ้นทาง -ปลายทางไปและกล ับไม ่ เก ิน ๒๐๐ ก ิโลเมตร
คิดเป็นร้อยละ ๑๖ ส่วนการเดินทางที่จุดปลายทางที่มีระยะทางมากว่า ๒๐๐ กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่
๗๗ จังหวัด คิดเป็นร้อยละ ๔
จากผลการวิเคราะห์ พบว่าการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามีค่าใช้จ่าย ๑๓.๘๒ บาทต่อกิโลเมตร
การใช้รถยนต์โดยสารเชื้อเพลิงดีเซลมีค่าใช้จ่าย ๑๙.๓๘ บาทต่อกิโลเมตร รถยนต์โดยสารไฟฟ้าประหยัด
กว่า ๕.๕๖ บาทต่อกิโลเมตร เมื่อวิเคราะห์จากปัจจัยความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงปัจจัยเดียว จะเห็นว่ามีความ
คุ ้มค่าในการใช้งาน แต่เมื ่อนำปัจจัยค่าแบตเตอรี ่ เป็นเง ิน ๒,๙๖๖,๙๒๔ บาท มาร่วมพิจารณา
ภายใต้การตั้งสมมุติฐานกำหนดให้ทำการเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่อายุการใช้งานไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี พบว่ารถยนต์
โดยสารพลังงานไฟฟ้าควรมีระยะทางการใช้งานไม่ต่ำกว่า ๕๓๓,๖๑๙ กิโลเมตร จึงจะถึงจุดคุ ้มทุน
แต่ในความเป็นจริงมีอีกหลายปัจจัยที่ยังไม่ได้นำมาพิจารณา อาทิ ราคารถ ค่าบำรุงรักษา ปัจจัยมลพิษ
ทางอากาศ เป็นต้น
จากผลการวิจัยจึงได้เสนอแนะแนวทางการใช้งานรถยนต์โดยสารพลังงานไฟฟ้าแทนรถยนต์
โดยสารที่ใช้พลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซลในเส้นทางประจำที่มีจุดปลายทางไป-กลับระยะทางไม่เกิน
๒๐๐ กิโลเมตร รวมจำนวน ๒๖ เส้นทาง ระยะทางสะสมที่ถึงจุดคุ้มทุนไม่น้อยกว่า ๕๓๓,๖๑๙ กิโลเมตร
การชาร์จไฟฟ้าควรชาร์จในเวลา Off Peak เพ่ือลดค่าใช้จ่ายจากค่าความต้องการพลังไฟฟ้า โดยคุณลักษณะ
เฉพาะรถยนต์โดยสารพลังงานไฟฟ้าควรมีแบตเตอรี่สำหรับจ่ายไฟระบบขับเคลื่อน จะต้องเป็นแบตเตอรี่
Fast Charge (2C) ไม่น้อยกว่า ๒๔๐ กิโลวัตต์ และสามารถใช้งานได้ในระยะทางไม่น้อยกว่า ๒๕๐
กิโลเมตร ต่อการอัดประจุไฟฟ้าหนึ่งครั้ง
abstract:
ข
Abstract
Title The study on the feasibility of using electric bus in place of gasoline bus
Field Science, Technology, and Energy
Name Major General Chartree Buaraksar Course NDC Class 66
This research aims to study and analyze the patterns of passenger car travel
distribution throughout the year 2566 (Thai calendar), with the goal of assessing the investment
viability and payback period based on factors such as car prices, fuel consumption, to determine
the characteristics of electric passenger cars and the appropriate number. The data for passenger
cars operating in the fiscal year 2566 were collected from the Transport Division of the
Department of Military Affairs, including the number of trips, origins, destinations, distances
traveled, and fuel consumption.
From the analysis of the travel distribution patterns of the Department of Military
Affairs' passenger cars in fiscal year 2566, two distinct patterns were identified. Pattern 1 involves
regular, repetitive trips with the same origins and destinations throughout the year, totaling 7,684
trips per year with 26 destination points, predominantly covering distances less than 100
kilometers round trip. This accounts for 80% of the total trips. Pattern 2 comprises occasional
trips with varying origins and destinations, totaling 645 trips per year, with round trip distances not
exceeding 200 kilometers, accounting for 16% of the total trips. Trips with destination points over
200 kilometers cover 77 provinces, constituting 4%.
The analysis shows that using electric cars costs 13.82 Baht per kilometer, while
diesel-powered passenger cars cost 19.38 Baht per kilometer. Electric cars are thus 5.56 Baht per
kilometer cheaper when considering only fuel consumption. However, when factoring in the
battery cost of 2,966,924 Baht, assuming a battery life of at least 10 years, electric passenger cars
need to travel at least 533,619 kilometers to break even. Additional factors such as higher upfront
costs for electric cars and maintenance costs, pollution factors, and environmental considerations
also influence the viability.
Based on this research, it is recommended to consider using electric passenger cars
instead of diesel-powered ones, particularly for regular trips with round trip distances not
exceeding 200 kilometers, totaling 26 routes with a cumulative distance to break even of at least
533,619 kilometers. Electric car charging should be scheduled during off-peak hours to reduce
electricity costs, and specific features such as fast-charge (2C) batteries with a capacity of at least
240 kilowatts and a range of at least 250 kilometers per charge should be considered for electric
passenger cars.