Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบพยากรณ์ภัยพิบัติและเตือนภัยล่วงหน้า,(วปอ.10081)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางสาว ชมภารี ชมภูรัตน์,(วปอ. 10081)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เร่ือง การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบพยากรณ์ ภัยพิบัติและเตือนภัยล่วงหน้า ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้วิจัย นางสาวชมภารี ชมภูรัตน์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66 แผ่นดินไหว วาตภัย และภัยอ่ืน ๆ ที่มีความรุนแรงเพ่ิมขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตและ ทรัพย์สินของประชาชน เทคโนโลยีดิจิทัลที่ถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบันจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ที่ควรศึกษาเพ่ือน ามาประยุกต์ใช้ในการเพ่ิมประสิทธิภาพด้านการพยากรณ์และการเตือนภัย เพ่ือเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติต่าง ๆ เอกสารวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพ่ือศึกษาและวิเคราะห์ถึงข้อจ ากัดของระบบการพยากรณ์ภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศและ การเตือนภัยล่วงหน้าของประเทศไทยที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งศึกษานวัตกรรมทางเทคโนโลยีดิจิทัล ที่มีอยู่และเสนอแนวทางในการน านวัตกรรมนั้นมาประยุกต์ใช้เพ่ือเพ่ิมประสิทธิภาพในระบบพยากรณ์ ภัยพิบัติและการเตือนภัยล่วงหน้า โดยงานวิจัยนี้จะเป็นการด าเนินการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับการวิจัย เชิงพรรณนา ผู้วิจัยได้เก็บรวมรวมข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการ พยากรณ์และการเตือนภัยล่วงหน้า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ ทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชน และเก็บรวมรวมข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารทางวิชาการต่าง ๆ ประกอบกับ แหล่งข้อมูลจากหน่วยงานราชการและองค์กรต่าง ๆ ที่เก่ียวข้องเพ่ือน ามาวิเคราะห์ร่วมกัน โดยผลจาก การวิจัยพบว่า ข้อจ ากัดของระบบพยากรณ์ล่วงหน้าและระบบการเตือนภัยล่วงหน้าของประเทศไทย คือ การปรับตัวเพ่ือรับกับเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ การขาดความคล่องตัวของภาครัฐในการปรับใช้ เทคโนโลยีดิจิทัล ขาดการรวมศูนย์ที่ชัดเจนเมื่อเกิดภัย ขาดการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องและการสื่อสารข้อมูลไปยังกลุ่มเป้าหมายเมื่อเกิดภัยพิบัติยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จากการศึกษาพบว่าเทคโนโลยีดิจิทัลที่ถูกมองว่าเหมาะสมจะเอามาปรับใช้เพ่ือแก้ไขข้อจ ากัดและ เพ่ิมประสิทธิภาพให้กับการพยากรณ์และระบบการเตือนภัยล่วงหน้า ได้แก่ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์, Internet of Things: IoT, Remote Sensing, Big Data, Cloud Computing และ Cell Broadcast โดยเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถน ามาปรับใช้ในองค์ประกอบทั้ง 4 ของการเตือนภัยล่วงหน้าได้ครบถ้วน อีกทั้งทางผู้วิจัยยังได้จัดท าข้อเสนอแนะด้านต่าง ๆ เพ่ือสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการน า เทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในภาครัฐให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้วย

abstract:

ข Abstract Title Application of Digital Technology to Enhance the Efficiency of Disaster Forecasting and Early Warning Systems Field Science and Technology Name Ms. Chomparee Chompurat Course NDC Class 66 Currently, Thailand is continuously facing risks from natural disasters, including floods, earthquakes, storms, and other severe events that affect the lives and properties of people. The rapid development of digital technology today presents a compelling area for study to enhance the efficiency of disaster forecasting and warning systems, thereby improving preparedness for various disaster situations. This research aims to study and analyze the limitations of Thailand's current weather- related disaster forecasting and early warning systems. Additionally, it examines existing digital innovations and proposes ways to apply these innovations to enhance the efficiency of Thailand's disaster forecasting and early warning systems. The research employs a combination of qualitative and descriptive methodologies, collecting primary data through in-depth interviews with stakeholders involved in forecasting and early warning systems, and with developers of various digital technologies from both the public and private sectors. Secondary data were gathered from academic documents, government sources, and relevant organizations for comprehensive analysis. The findings indicate that the limitations of Thailand's current forecasting and early warning systems include difficulties in adapting to climate change, the government's lack of agility in adopting digital technologies, insufficient centralization during disasters, lack of data integration among related agencies, and inadequate communication to target groups during disasters. Digital technologies deemed suitable for addressing these limitations and enhancing the efficiency of forecasting and early warning systems include Artificial Intelligence (AI), Internet of Things (IoT), Remote Sensing, Big Data, Cloud Computing, and Cell Broadcast. These technologies can be applied comprehensively across all four components of early warning systems. Moreover, the researchers have made various recommendations to create an environment conducive to the optimal use of these technologies within the public sector.