Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามภูมิสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้,(วปอ.10077)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี เฉลิมพร ขำเขียว,(วปอ. 10077)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เร่ือง การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามภูมิสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย พลตรี เฉลิมพร ขำเขียว หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66 การวิจัยเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามภูมิสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ใช้วิธีการแบบผสานวิธี มีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษาสภาพการ ดำรงชีวิตของประชาชนด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพ่ือสำรวจกรอบแนวทางการพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเพ่ือกำหนดรูปแบบการพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามภูมิสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ เก็บข้อมูลด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพจากกลุ่มเป้าหมายรวมทั้งสิ้นจำนวน 102 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบ t (t-test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพการดำรงชีวิตของประชาชนด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในพ้ืนที่ บริเวณโครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 (S.D. = .62) คุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงในพ้ืนที่บริเวณโครงการฟาร์มตัวอย่าง โดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพชีวิตดีที่คะแนน 143.29 โดยมีระดับคุณภาพชีวิตด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.99 (S.D. = .82) เมื่อพิจารณาตัวแปรของกลุ่มเป้าหมายพบว่า สถานภาพและระยะเวลาใน การทำงานที่แตกต่างกันมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามภูมิสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วน การมี ภูมิคุ้มกันที่ดีและเงื่อนไขความรู้ของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่แตกต่างกัน มีการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตตามภูมิสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ (2) กรอบแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงในพ้ืนที่บริเวณโครงการฟาร์มตัวอย่างที่สอดคล้องกับภูมิสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ มี แนวทางการพัฒนา 4 ขั้นตอนคือ 1) การร่วมในการค้นหาปัญหา 2) การร่วมในการวางแผนกิจกรรม 3) การร่วมในการลงทุนและการปฏิบัติงาน และ4) การร่วมในการติดตามและประเมินผลงาน (3) รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามภูมิสังคมจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย 1) การวางแผน 2) การปฏิบัติการ 3) การสังเกต และ 4) การสะท้อน กลับ โดยใช้เครื่องมือการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มี ความหลากหลายเป็นระบบและตามภูมิสังคมจังหวัดชายแดนใต้ เริ่มจาก 1) ศึกษาสภาพการ ดำรงชีวิตของประชาชนด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อรู้สภาพการดำรงชีวิตแล้วผู้วิจัย ออกแบบ 2) กรอบแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ข ด้วยวิจัยเชิงปฏิบัติการและเก็บผลการพัฒนาเปรียบเทียบสู่ 3) การกำหนดรูปแบบการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตของประชาชนด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามภูมิสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมการรวมกลุ่มของประชาชน เกษตรกร เพ่ือเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ช่วยเหลือเกื้อกูลประเด็นที่สนใจร่วมกัน และควรหนุนเสริม กระบวนการกลุ่ม ความรู้ และทักษะ รวมถึงปัจจัยด้านอื่น ๆ แก่ประชาชนในอนาคต

abstract:

ค Abstract Title Improving People's Quality of Life with the Sufficiency Economy Philosophy According to the Social Geography of the Southern Border Provinces Field Social – Psychology Name Major General Chalermporn Khomkhew Course NDC Class 66 This mixed-method study examines how the social’s geography of the southern border provinces influences the growth of people's quality of life via the lens of the sufficiency economy. The study’s objectives were (1) to examine people's living situations through the lens of sufficiency economy, (2) to investigate the framework for improving people's quality of life by applying the sufficiency economy and (3) to ascertain the model for the improvement of people's quality of life based on the philosophy of sufficiency economy according to the social's geography of southern border provinces. Quantitative and qualitative research were used to gather data from the target group, that consisted of 102 individuals of the Queen Sirikit Model Farm, Than To Subdistrict, Yala Province. Frequency, percentage, mean ( ), standard deviation (S.D.), and t-test that were used to examine the quantitative data, and content analysis was used to assess the qualitative data. According to the research's results, firstly, the living circumstances of those adhering to the Sufficiency Economy Philosophy in the Queen Sirikit Model Farm Project area were a high level, with an average score of 4.02 (S.D. =.62). The average quality of living of the residents surrounding the model farm project who adhere to the Sufficiency Economy Philosophy. With a total score of 143.29, the quality of life is generally good and at a high level when it comes to the Sufficiency Economy Philosophy. with a mean of 3.99 (standard deviation =.82). Upon analyzing the target groups' factors, it was discovered that individuals adhering to the sufficiency economic ideology experienced varying changes in their quality of life based on their work status and length. Based on the distinct socioeconomic geography of the southern border provinces, a statistically significant difference that is observed at the .05. There is a development of quality of life according to the social’s geography of the southern border provinces that are different, and there is a statistical significance at the .01 and .05 level, respectively, for having good immunity and knowledge conditions of the sufficiency economy philosophy that are different. Secondly, A framework for ง improving the standard of living in the Queen Sirikit Model Farm Project area that adheres to the concept of sufficiency economics and taking the social geography of the southern border provinces into consideration. Development involves these four steps: The social geography of the southern border provinces indicates that the following activities have a continuous impact on the improvement of people's quality of life when combined with the sufficiency economy: 1) problem-solving; 2) planning and organizing activities; 3) investment and implementation; and 4) monitoring and results evaluation. Thirdly, A model for improving people's quality of life that based on the Sufficiency Economy Philosophy and the social geography of the southern border provinces consists of four steps: 1) planning, 2) action, 3) observation, and 4) reflection. By employing instruments to improve the standard of living for individuals adhering to the social geography of the southern border provinces and the systematically diverse concept of sufficiency economy. Beginning with 1) researching the living circumstances of those who adhere to the Sufficiency Economy Philosophy and then, creating designs based on that knowledge to, 2) a framework that uses action research and then, researchers gather the development findings for comparison to, 3) determining the model for improving people's quality of life in accordance with the social’s geography of the southern border provinces. Additionally, policies should encourage residents and farmers to work together to share knowledge, assist with, and support topics of shared interest. They should also support group procedures, knowledge, and skills, as well as other elements that will benefit people in the future. Policy recommendations should be made to the appropriate agencies.