Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: นโยบายด้านความมั่นคงแห่งชาติของประเทศไทยต่อแนวคิดอธิปไตยทางดิจิทัล (Digital Sovereignty),(วปอ.10076)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย เฉลิมชัย ก๊กเกียรติกุล,(วปอ. 10076)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เร่ือง นโยบายด้านความมั่นคงแห่งชาติของประเทศไทยต่อแนวคิดอธิปไตย ทางดิจิทัล (Digital Sovereignty) ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้วิจัย นายเฉลิมชัย ก๊กเกียรติกุล หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๖ อ านาจอธิปไตยหมายถึง อ านาจในการปกครองตนเอง เป็นอิสระจากการถูกภายนอก แทรกแซง แนวคิดอธิปไตยได้ถือก าเนิดและได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องถือเป็นองค์ประกอบส าคัญ ของความเป็นรัฐ แต่ปัจจุบันอ านาจอธิปไตยของรัฐถูกลดทอนหรือท้าทายจากพัฒนาของเทคโนโลยี และบริการดิจิทัลที่ส่งผลก่อให้เกิดปัญหาในเชิงอ านาจรัฐในการควบคุมการใช้งานเทคโนโลยีหรือ บริการดิจิทัลหลายประการ ประกบกับเกิดปรากฏการณ์สงครามเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐอเมริกาและ จีนที่สร้างผลกระทบไปทั่วโลก จึงมีการพัฒนาแนวคิดอธิปไตยทางดิจิทัล (Digital Sovereignty) ขึ้น โดยมีสหภาพยุโรปเป็นผู้น าในเรื่องนี้ เพ่ือก าหนดนโยบายที่มีวัตถุประสงค์เพ่ือปกป้องผลประโยชน์ของ บุคคล บริษัทและรัฐบาล และลดการพ่ึงพาเทคโนโลยีจากบริษัทยักษ์ต่างชาติ วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ มุ่งเน้นศึกษาที่มาและพัฒนาการของแนวคิดอ านาจอธิปไตย ทางดิจิทัล และศึกษาสถานภาพ ความเสี่ยง และปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคง แห่งชาติของประเทศไทยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งน าเสนอนโยบายบริหารจัดการความเสี่ยงและผลกระทบ ด้านนโยบายความม่ันคงแห่งชาติของประเทศไทยที่เก่ียวข้อง ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดอธิปไตยทางดิจิทัลขยายขอบเขตแนวคิดไปไกลกว่านโยบาย ความมั่นคงของชาติแบบดั้งเดิม โดยครอบคลุมรวมถึงนโยบายการพ่ึงพาตนเองทางเทคโนโลยีดิจิทัล การส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดีและมีการแข่งขันภายในประเทศ เป็นต้น ส าหรับนโยบายความมั่นคง แห่งชาติของไทย มุ่งเน้นแต่ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์เท่านั้น แม้จะมีการระบุหรือมีแนวทาง จัดการปัญหาหรือความเสี่ยงเกี่ยวกับการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลของบริษัทเทคโนโลยีจาก ต่างประเทศไว้บ้าง แต่ไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนและมีนโยบายหรือมาตรการเป็นรูปธรรมตามแนวคิดอธิปไตย ทางดิจิทัล ข้อเสนอแนะประกอบด้วย (๑) การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐาน ทางดิจิทัลและสร้างบรรยายกาศการลงทุนในอุตสาหกรรมดิจิทัลและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง (๒) การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพ (๓) การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น (๔) การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้สอดคล้องกับบริบทและวิวัฒนาการของอุตสาหกรรม (๕) การแปลข้อมูลหรือข้อก าหนดให้จัดเก็บ ข้อมูลไว้ภายในประเทศ และ (๖) ความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปราม ภัยคุกคามทางไซเบอร์ข้ามชาติและอาชญากรรมทางดิจิทัล

abstract:

ข Abstract Title National Security Policy of Thailand towards the Concept of Digital Sovereignty Field Science and Technology Name Mr. Chalermchai Kokkeadtikul Course NDC Class 66 Sovereignty means power of self-government free from interference by any other nation. The concept of sovereignty emerged and developed as a key element of statehood. The sovereignty has been presently challenged by the progress of digital technology and services, resulted in problems in the state's power in regulating the use of technology or digital services. The phenomenon of a technology war between the United States and China has created an impact around the world. Therefore, the concept of digital sovereignty (Digital Sovereignty) has been developed, with the European Union taking the lead in this matter. Digital sovereignty policies aim to protect the interests of individuals, companies and government and mitigate risks arising from foreign big technology corporations. Objectives of this research focuses on the development of the concept of digital sovereignty and situation, risks, and key factors related to Thailand's national security, including presenting risk management policies and impacts on Thailand's national security policy. The research results found that digital sovereignty notion extends traditional national security policy. It covers policy of self-reliance in digital technology, promoting good environment and competition. Thailand’s national security policy focus only on cyber security. However, there is no clear policy or concrete measures in accordance with digital sovereignty notion. Recommendations include (1) promoting the development of digital infrastructure and creating an investment climate in the digital industry and related industries; (2) effective protection of personal data; (3) amending laws that related to be modern and efficient (4) promoting research and development including the development of human resources in line with the context and evolution of the industry; (5) data translation or requirements for local data storage within the country; and (6) international cooperation regarding prevention and suppression of transnational cyber threats and digital crime.