เรื่อง: การรับรู้และความหวังของประชาชนที่มีต่อโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ( Eastern Economic Corridor : EEC),(วปอ.10075)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางสาว ฉัตรประอร นิยม,(วปอ. 10075)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เร่ือง การรับรู้และความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาค
ตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย นางสาวฉัตรประอร นิยม หลักสูตร วปอ. รุ่นที ่66
การศึกษาการรับรู้และความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อโครงการเขตพัฒนาพิเศษ
ภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราเกี่ยวกับการดำเนินโครงการเขต
พัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก 2) เพื่อศึกษาความคาดหวังของประชาชนในพื้นที่จังหวัดที่มีต่อ
การดำเนินโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก ใน 3 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐาน
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การยกระดับคุณภาพชีวิต (เศรษฐกิจ สังคม และสิ ่งแวดล้อม) และ
3) เพื ่อศึกษาข้อเสนอแนะของประชาชนในพื้นที ่จังหวัดฉะเชิงเทราที ่มีต่อการดำเนินโครงการ
เขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกใน 3 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาทรัพยากร
มนุษย์ การยกระดับคุณภาพชีวิต (เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม)
ผลการศึกษาระดับการรับรู้พบว่า ประชาชนมีการรับรู้ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ
3.85 จากคะแนนเต็ม 5 ทั้งในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ
การยกระดับคุณภาพชีวิต ประชาชนมีมุมมองเชิงบวกต่อโครงการในภาพรวม ซึ่งสะท้อนถึงประสิทธิผล
ของการสื่อสารและสร้างการรับรู้ของโครงการ ผลการศึกษาระดับความคาดหวังพบว่า ประชาชนในพื้นที่
จังหวัดฉะเชิงเทรามีความคาดหวังต่อโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในระดับสูง
ทั้งในภาพรวมและในแต่ละมิติ ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ
การยกระดับคุณภาพชีวิต โดยมีค่าเฉลี่ยของความคาดหวังอยู่ที่ 3.82 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประชาชนมี
มุมมองเชิงบวกและเชื่อมั่นในศักยภาพของโครงการในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ และมีแรงจูงใจ
ในการให้การสนับสนุนโครงการ EEC เพราะคาดหวังว่าจะทำให้เกิดการพัฒนาในด้านต่าง ๆ
ที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเองและชุมชนโดยรวม แต่มีบางประเด็นที่ความคาดหวังอยู ่ใน
ระดับปานกลาง เช่น การรองรับการลงทุน การต่อยอดงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ การบูรณาการเพื่อสร้าง
การมีส่วนร่วม และเรื่องของแผนปฏิบัติการท้องถิ่นอัจฉริยะ อาจเนื่องมาจากประเด็นเหล่านี้ต้องอาศัย
ความร่วมมือจากหลายภาคส่วนและใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ จึงเป็นโจทย์สำคัญที่โครงการ
จะต้องให้ความสำคัญ และหาแนวทางในการสร้างความเชื่อมั่นและตอบสนองต่อความคาดหวังของ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ได้มากที่สุด
โดยมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ ภาคอุตสาหกรรมในอนาคตควรเน้นการพัฒนาที่เป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการท่องเที่ยวเชิงอุตสาหกรรม ในขณะที่
ภาคเกษตรกรรมควรมุ่งเน้นการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ยั่งยืน เช่น การท่องเที่ยว Low Carbon และ
การอนุรักษ์พ้ืนที่เกษตร สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)
abstract:
ข
Abstract
Title Public Perception and Expectations of the Eastern Economic
Corridor (EEC) Project in Chachoengsao Province
Field Social – Psychology
Name Miss Chatpraorn Niyom Course NDC Class 66
Public Perception and Expectations of the Eastern Economic Corridor (EEC)
Project in Chachoengsao Province. Research Objectives 1) To study the level of awareness
among the people in Chachoengsao Province regarding the implementation of the Eastern
Economic Corridor project. 2) To examine the expectations of the local population in the
province towards the Eastern Economic Corridor project in three areas: infrastructure
development, human resource development, and quality of life improvement (economic,
social, and environmental aspects). 3 )explore the recommendations of the people in
Chachoengsao Province concerning the implementation of the Eastern Economic Corridor
project in three areas: infrastructure development, human resource development, and
quality of life improvement (economic, social, and environmental aspects).
Research Results: The study on perception levels found that the public has a
high level of awareness, with an average score of 3.85 out of 5 across infrastructure
development, human resource development, and quality of life improvement. The public
generally has a positive view of the project, reflecting the effectiveness of project
communication and awareness-building efforts.
Regarding expectations, the people of Chachoengsao Province have high expectations
for the Eastern Economic Corridor (EEC) project, both overall and in each dimension:
infrastructure development, human resource development, and quality of life
improvement. The average expectation score was 3.82, indicating a positive outlook
and confidence in the project's potential to drive regional development. This suggests
strong motivation to support the EEC project, as people expect it to bring about
improvements in various aspects that will enhance their personal and community
quality of life. And Recommendations: Sustainable and Environmentally Friendly
Development