Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพของทหารหญิงในกองร้อยทหารช่างเฉพาะกิจไทย/เซาท์ซูดานในการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ,(วปอ.10073)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี จุมภฏ นุรักษ์เขต,(วปอ. 10073)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เร่ือง แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพของทหารหญิงในกองร้อยทหารช่างเฉพาะกิจ ไทย/เซาท์ซูดานในการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พลตรี จุมภฏ นุรักษ์เขต หลักสูตร วปอ. รุ่นที ่66 วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพ่ือศึกษาปัญหา อุปสรรคในการเพ่ิมจำนวนการส่ง ทหารหญิงสนับสนุนการปฏิบัติการเพ่ือสันติภาพในปัจจุบัน และนำแนวคิดการเพ่ิมจำนวนการส่ง ทหารหญิงที่เหมาะสมตามข้อกำหนดของสหประชาชาติในการปฏิบัติการเพ่ือสันติภาพมาวิเคราะห์ เพ่ือเสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพของทหารหญิงในกองร้อยทหารช่างเฉพาะกิจไทย/เซาท์ ซูดานในการปฏิบัติการเพ่ือสันติภาพ โดยกำหนดวิธีการวิจัยลักษณะเชิงคุณภาพ มีการเก็บข้อมูล ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย ผู้บริหารหรือฝ่ายอำนวยการจากศูนย์ ปฏิบัติการเพ่ือสันติภาพ ตัวแทนทหารหญิงไทยที่ผ่านการปฏิบัติหน้าที่ในภารกิจรักษาสันติภาพ และ นักวิชาการหรือตัวแทนจากสหประชาชาติ รวม 15 ราย ทั้งนี้ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาศึกษา ปัญหา อุปสรรค พบว่า การดำเนินงานเป็นเชิงรับ ขาดการทบทวนนนโยบายและการพิจารณาอัตราบรรจุ ทหารหญิงที่เหมาะสมกับการปฏิบัติจริงทั้งในประเภทหน่วยและประเภทบุคคล ขาดการรวบรวมข้อมูล อย่างเป็นระบบทำให้ไม่สามารถคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต ความก้าวหน้าทางสายอาชีพยังไม่มีความ ชัดเจนเพียงพอที่จะสร้างแรงจูงใจให้ทหารหญิงเข้าร่วมภารกิจให้มีจำนวนเพ่ิมขึ้น 2. ผลการศึกษา แนวคิดการเพ่ิมจำนวนการส่งทหารหญิงที่เหมาะสม พบว่า โครงสร้างกองทัพไทยและระเบียบ ข้อกำหนดเป็นข้อจำกัดในการเข้าร่วมการปฏิบัติการเพ่ือสันติภาพ ปัญหาตำแหน่งงานและ ความก้าวหน้าตามสาขาอาชีพ ส่งผลกระทบต่อการเพ่ิมจำนวนทหารหญิงในการปฏิบัติการ เพ่ือสันติภาพโดยตรง ดังนั้นแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพของทหารหญิงในกองร้อยทหารช่าง เฉพาะกิจไทย/เซาท์ซูดานในการปฏิบัติการเพ่ือสันติภาพควรมีการดำเนินการในเชิงรุก โดยแบ่ง เป้าหมายเป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะสั้น โดยพิจารณาเพ่ิมตำแหน่งและอัตราทหารหญิงในลักษณะการ ระวังป้องกัน (Force Protection) และชุดปฏิสัมพันธ์ชุมชน (Engagement Team) การจัดกำลัง ร่วมกับมิตรประเทศ การเตรียมความพร้อมทั้งด้านกายภาพและทัศนคติในการปฏิบัติงานร่วมกัน บนความแตกต่าง 2) ระยะกลาง โดยทบทวนข้อบังคับที่จำกัดบทบาททหารหญิงในการระวังป้องกัน (Force Protection) การผลักดันแนวทางการเพ่ิมจำนวนและระดับการมีส่วนร่วมของทหารหญิง ไปปฏิบัติการรักษาสันติภาพสหประชาชาติ เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และการจัดทำฐานข้อมูลร่วม อันนำไปสู่การพัฒนากระบวนการประมวลสถานการณ์ในอนาคต 3) ระยะยาว จะเป็นการดำเนินการ เชิงรุกในการประสานและเตรียมความพร้อมให้กับหน่วยที่มีการปฏิบัติการที่ เอ้ือต่อการส่งเสริม บทบาทผู้หญิง และผลักดันเข้าสู่ระบบกำลังเตรียมพร้อม (PCRS) เพ่ิมระบบการผลิตทหารหญิงทั้งใน สาขาที่ขาดแคลน และส่งเสริมความก้าวหน้าในอาชีพที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเพ่ือสร้างแรงจูงใจ ในการเข้าร่วมภารกิจอย่างต่อเนื่อง

abstract:

ข Abstract Title Guidelines for developing the efficiency of female soldiers in Thailand’s Horizontal Military Engineering Company (HMEC) under the United Nations Mission in South Sudan (UNMISS) Field Military Name Maj.Gen. Chumphot Nurakkate Course: NDC Class: 66 The three objectives of this research were to study and analyze the current challenges and obstacles in increasing the number of female soldiers deployed to support peace operations; and introduce the concept of increasing the number of female soldiers appropriate to the United Nations requirements in peace operations to analyzed in order to propose Guidelines for developing the efficiency of female soldiers in Thailand’s Horizontal Military Engineering Company (HMEC) under the United Nations Mission in South Sudan (UNMISS) by qualitative research method and in-depth interviews with key informants, including executives or administrators from the Peace Operations Center, representatives of Thai female soldiers who have served in peacekeeping missions, and academics or representatives from the United Nations, totaling 15 individuals. Research results 1. The results of challenges and obstacles at present revealed that the overall operation is reactive, lacks policy review and consideration of female soldier recruitment rates that are appropriate for actual operations in both unit and individual types. There is a lack of systematic data collection, making it impossible to predict future trends. Career progression is not clear enough to motivate female soldiers to join missions in increasing numbers. 2. The results of the study on the concept of increasing the number of female soldiers appropriate to the United Nations requirements in peace operations revealed that the structure of the Thai military and its regulations are limitations to participation in peace operations ; the job placement and career advancement issues directly affect the increase in the number of female soldiers in peace operations. Therefore, the approach to developing the efficiency of female soldiers in Thailand’s Horizontal Military Engineering Company (HMEC) under the United Nations Mission in South Sudan (UNMISS) should be proactive with goals divided into 3 phases: 1) In the short term, consider increasing the number of female soldiers in the force protection and engagement team roles, mobilizing forces with friendly countries, and preparing both physical and mental readiness to work together across differences. 2) Medium term by reviewing regulations limiting the role ค of female soldiers in force protection, pushing for guidelines to increase the number and level of participation of female soldiers in UN peacekeeping operations to the Cabinet meeting, and creating a joint database leading to the development of future situation analysis processes. 2) Medium term by reviewing regulations limiting the role of female soldiers in force protection, pushing for guidelines to increase the number and level of participation of female soldiers in UN peacekeeping operations to the Cabinet meeting, and creating a joint database leading to the development of future situation analysis processes. 3) Long-term, it will be a proactive action to coordinate and prepare units that have operations that are conducive to promoting the role of women and push them into the Force Readiness System (PCRS), increase the production system of women soldiers in both fields that are in short supply and promote career advancement in specialized fields to create incentives for continued participation in missions.