Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: บทบาทของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในการขับเคลื่อนสมุทราภิบาลในสภาวะแวดล้อมความมั่นคงทางทะเลแบบองค์รวม(Maritime Comprehensive Security) ของประเทศไทย,(วปอ.10072)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาวาเอก จุมพล นาคบัว,(วปอ. 10072)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เร่ือง บทบาทของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในการ ขับเคลื่อนสมุทราภิบาลในสภาวะแวดล้อมความมั่นคงทางทะเลแบบองค์รวม (Maritime Comprehensive Security) ของประเทศไทย ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พลเรือตรี จุมพล นาคบัว หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๖ ประเทศไทยต้องเผชิญกับสภาวะแวดล้อมความมั่นคงทางทะเลที่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว การสร้างความมั่นคงทางทะเลแบบองค์รวมจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการรับมือแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน รัฐบาลไทย จึงได้จัดตั้ง ศรชล. ให้เป็นหน่วยงานที่มีบทบาท สำคัญในการสนับสนุนด้านความมั่นคงทางทะเลแบบองค์รวม ทำหน้าที่เป็นกลไกบูรณาการความร่วมมือ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริหารจัดการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในระดับอํานวยการ ทั้งในภาวะปกติและในภาวะไม่ปกติ จึงจำเป็นต้องศึกษาหลักการในการสร้างความมั่นคงทางทะเล และการบริหารจัดการทะเลที่เป็นระบบ เพ่ือให้สามารถปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนดไว้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม ซึ่งเมื่อนำการดำเนินการดังกล่าวนำมาวิจัยเชิงพรรณนา รวบรวมและ วิเคราะห์ข้อมูล จากระบบสารสนเทศ การวิจัยเอกสารหรือ Document research/library research ร่วมกับทฤษฎีด้านการปฏิรูปความมั่นคงทางทะเลและการบริหารจัดการทะเลบนพ้ืนฐาน สมุทราภิบาล และการสัมภาษณ์ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องแล้วเปรียบเทียบกับหลักการอย่างสมเหตุสมผล ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่จะทำให้ ศรชล.มีประสิทธิภาพในการบูรณาการกลไกการรักษาผลประโยชน์ ของชาติทางทะเลให้เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาลมีความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน นั้น ศรชล.ต้อง ปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานภายในของ ศรชล. ในระดับนโยบาย (Policy) ระดับอำนวยการและ บริหารจัดการ (Administration and Management) และระดับปฏิบัติการ (Operation) โดยมี มุมมองในมิติต่าง ๆ ได้แก่ มิติด้านนโยบายและการบริหารแบบองค์รวม ควรทบทวน/ปรับปรุง นโยบาย การบูรณาการงานยังขาดหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง มีความจำเป็นต้องเสริมสร้างบทบาท ในลักษณะตัวกลาง พัฒนาแนวทางการบูรณาการการปฏิบัติงานในทุกระดับ สร้างกลไกการรับรู้การ ตระหนักรู้สถานการณ์บริบททางทะเลต่าง ๆ ในระดับโลก ภูมิภาค และในประเทศต่อได้ (Maritime Domain Awareness : MDA) สำหรับมิติด้านกำลังพล ควรเสริมสร้าง พัฒนาบุคลากรของ ศรชล. ให้ มีความสอดคล้องกับองค์ประกอบด้านธรรมาภิบาล ขับเคลื่อนช่องว่างขีดความสามารถระหว่าง หน่วยงานทางทะเล โดยมุ่งเน้นไปที่ความรู้และทักษะที่เฉพาะเจาะจง เช่น ด้านการสอบสวน นิติ วิทยาศาสตร์เฉพาะทาง Maritime Foreignsic (Maritime Cyber Foreignsic, Oil fingure printed foreignsic ฯลฯ) ที่พร้อมร่วมปฏิบัติงานกับหน่วยนิติวิทยาศาตร์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ ลดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน ในมิติด้านกฎหมายและการบังคับใช้ ควรเสนอการตรากฎหมาย เกี่ยวกับการสนับสนุนการปฏิบัติงานของ ศรชล. ตั้งแต่ในภาวะปกติ ผลักดันกลไก ศรชล. จังหวัด ในฐานะหน่วยงานเชิงพ้ืนที่ ที่ต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์โดยตรง ให้มีความเข้มแข็ง ตอบสนองต่อ ข สถานการณ์ได้ทันเหตุการณ์ รวมทั้งเป็นการให้เกียรติแก่หน่วยงานเจ้าของกฎหมาย ทำให้เห็นถึง ประโยชน์และคุณค่าในการส่งบุคคลากรของตนมาปฏิบัติงาน ณ ศรชล. อีกทางหนึ่ง นอกจากนั้น ในมิติด้านการประสานความร่วมมือ ควรส่งเสริมการตระหนักรู้คุณค่าทะเลและร่วมรับรู้และรับฟัง ปัญหาของประชาชนในพ้ืนที่ “ประชาชนเป็นศูนย์กลาง” เสริมสร้างความร่วมมือและการทำงาน ร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน เพ่ือนำไปสู่การปฏิบัติ การบังคับใช้กฎหมาย การลาดตระเวน คุ้มครอง ป้องกัน เพ่ือรักษาทรัพยากรและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล บนพื้นฐานของสมุทราภิบาล ตามมาตรฐานสากลในการบริหารจัดการทางทะเลที่มีธรรมาภิบาลที่ดี ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะทำ ให้ ศรชล. มีกลไกการบริหารจัดการทางทะเลที่มีความเข้มแข็ง และสนับสนุนการขับเคลื่อนสมุทราภิบาล ของประเทศไทยในสภาวะแวดล้อมความมั่นคงทางทะเลแบบองค์รวม (Maritime Comprehensive Security) ให้มปีระสิทธิภาพยิ่งขึ้น

abstract:

ค Abstract Title The role of the Thai Maritime Enforcement Command Center in enhancing ocean governance within the Comprehensive Maritime Security Framework in Thailand Field Military Name RAdm. Jumpon Nakbua, RTN Course NDC Class 66 Thailand is currently grappling with a swiftly evolving maritime security landscape. Achieving integrated maritime stability is crucial for effectively and sustainably addressing these emerging challenges. To facilitate this, the Thai Government has established the Thai Maritime Enforcement Command Center: the Thai-MECC that acts as an integrated mechanism for collaborating with relevant authorities and managing national maritime interests across normal and crises. It is imperative to study the principles of establishing maritime security and systematic marine management to effectively and concretely implement established policies. By conducting descriptive research, collecting, and analyzing data from information systems, and utilizing document research/library research along with theories on maritime security reform and ocean governance, we can gain valuable insights. This approach includes interviewing relevant stakeholders and comparing findings with established principles. The research reveals that the key factors for enhancing the effectiveness of the Thai-MECC in integrating mechanisms to safeguard national maritime interests are aligned with the government's goals of security, prosperity, and sustainability, including improving the Thai-MECC's internal infrastructure. This improvement is necessary at three levels: policy, administration and management, and operations. The policy and overall administration require thorough review and improvement. The integration of operations lacks clear lines of responsibility. It is essential to strengthen the role of the Thai-MECC and develop an integrated approach to operations at all levels. Additionally, establishing a mechanism for maritime awareness in global, regional, and domestic contexts is necessary. Ensuring consistency with maritime components and bridging gaps between maritime agencies is crucial. This can be achieved by focusing on specialized knowledge and skills, such as inquiries and maritime cyber forensics, in collaboration with the National Police Department to reduce redundancy in law enforcement. Legislation should be proposed to support the Thai-MECC's operations, as under normal circumstances, the current mechanisms may not be sufficient. Provincial agencies, acting as regional ง bodies, have shown strength in responding to immediate events and honoring law enforcement agencies, recognizing the value of deploying personnel to work in the district. In the framework of cooperation, it is essential to promote awareness of the sea's value and foster common sense by listening to the problems of the people in a "people-centric" manner. This approach aims to strengthen collaboration between the state and private sectors for effective law enforcement, patrol, defense, and conservation of national maritime resources and interests. By establishing strong maritime governance mechanisms based on international standards, Thailand can ensure integrated and comprehensive maritime security.