เรื่อง: การสร้างสมดุลในการใช้มาตรการเยียวยาทางการค้าเพื่อปกป้องและพัฒนาอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืน,(วปอ.10069)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางสาว จิตติมา ศรีถาพร,(วปอ. 10069)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เร่ือง การสร้างสมดุลในการใช้มาตรการเยียวยาทางการค้าเพื่อปกป้องและ
พัฒนาอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืน
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นางสาวจิตติมา ศรีถาพร หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66
การเปิดเสรีทางการค้าและการเร่งเจรจาเขตการค้าเสรีเพื่อลดอุปสรรคทางการค้าและ
ข้อจำกัดต่างๆ เช่น การลดภาษีระหว่างกัน หรือการควบคุมการนำเข้า ก่อให้เกิดการแข่งขัน
ที่รุนแรงทั ้งในภาคการผลิตและการส่งออก โดยเฉพาะประเทศที่มีความได้เปรียบด้านวัตถุดิบ
เทคโนโลยี และแรงงาน ทำให้สามารถผลิตสินค้าได้เกินความต้องการใช้ในประเทศ และจำเป็นต้อง
เร่งระบายสินค้าส่วนเกินดังกล่าวไปยังประเทศคู่ค้าต่างๆ ซึ่งวิธีที่จะช่วยให้สามารถระบายสินค้า
ส่วนเกินได้อย่างรวดเร็วคือการส่งออกในราคาที่ต่ำกว่าราคาที่จำหน่ายในประเทศผู้ส่งออกเอง หรือ
ที่เรียกว่า “การทุ่มตลาด (Dumping)” จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่อุตสาหกรรมผู้ผลิตภายในประเทศ
ผู้นำเข้า
กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าต่างประเทศมีหน้าที ่ ในการปกป้องและร ักษ า
ผลประโยชน์ทางการค้าและเยียวยาอุตสาหกรรมภายในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการค้า
ที ่ไม่เป็นธรรม โดยได้บังคับใช้มาตรการตอบโต้การทุ ่มตลาด ซึ ่งเป็นการดำเนินการภายใต้
พระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542 และ
ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นไปตาม
ความตกลงว่าด้วยการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-dumping Agreement: ADA) ขององค์การการค้าโลก
อย่างไรก็ดี เนื่องจากความตกลง ADA และ พ.ร.บ. การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ ไม่ได้
กำหนดแนวทางการสร้างสมดุลระหว่างผู้ที่ได้รับประโยชน์และผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้มาตรการฯ
ไว้อย่างชัดเจน เพียงแต่กำหนดให้ต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายหรือประโยชน์สาธารณะ ดังนั้น
การกำหนดนโยบายการใช้มาตรการฯ จึงมีความสำคัญ ควรเป็นการใช้มาตรการที่ก่อให้เกิดประโยชน์
แก่ประเทศไทยโดยไม่เป็นการกีดกันทางการค้าหรือโน้มเอียงไปทางใดทางหนึ่ง และสอดคล้องกับ
สถานการณ์ทางการค้าที่แท้จริง สามารถสร้างความเป็นธรรมแก่อุตสาหกรรมภายใน และไม่ทำให้ผู้ใช้
ในขั้นสุดท้ายได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงหรือผู้ผลิตรายย่อยไม่ได้รับความเป็นธรรม รวมทั้งไม่ทำให้
อุตสาหกรรมต่อเนื่องขาดทุนจนไม่สามารถดำรงอยู่ได้ และควรต้องมีการสร้างความสมดุลระหว่าง
อุตสาหกรรมผู้ผลิตภายในประเทศและผู้ใช้สินค้าเพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ทางการค้าไทย
และก่อให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืน
abstract:
ข
Abstract
Title Balancing the implementation of trade remedies to protect
and sustainably develop Thai industries
Field Economics
Name Miss Jittima Srithaporn Course NDC Class 66
Liberalization of trade and the increase of free trade area negotiations to
reduce trade barriers and restrictions such as tariff reductions or import controls,
resulting in the intense competition in both the production and export sectors,
especially for countries with advantages in raw materials, technology and labor. This
allows the production of goods exceeding domestic demand and requires the rapid
disposal of such an oversupply of goods to trading partners. The way to quickly
eliminate the excess products is to export at a price lower than the price sold in the
exporting country, or what is called “dumping,” which causes injury to the domestic
industry in the importing country.
The Ministry of Commerce, by the Department of Foreign Trade, as a policy
maker has a duty to protect and preserve trade interests and provide remedies to
domestic industries affected by unfair trade practices, by imposing anti-dumping
measures, which are under the Anti-Dumping and Countervailing of Foreign Goods Act
B.E. 2542 and as amended by the Anti-Dumping Act (No. 2 ) B.E. 2562 , which is in
accordance with the Anti-Dumping Agreement (ADA) of the World Trade Organization.
However, since the ADA and the Anti-dumping Act do not clearly provide
the guideline for a balance between those who benefit from and those who are
affected by the implementation of the measures, but it is required to take into account
all stakeholders or public interest. Therefore, the policy determination for the
enforcement of measures is important. The measures should be benefited to the
country without being a trade barrier or biased in any way and in line with the trade
situation. It can create fairness for the domestic industry and not cause severe impact
on the user and downstream industries or unfair treatment to small producers (SMEs),
and not cause the downstream industries to suffer losses and be unable to survive. In
addition to this, there should be a balance between domestic manufacturing industries
and product users or downstream industries in order to maintain Thai trade benefits
and create sustainable development of Thai industries.