Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของตลาดทุนไทย,(วปอ.10064)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางสาว จอมขวัญ คงสกุล,(วปอ. 10064)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เร่ือง การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของตลาดทุนไทย ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้วิจัย นางสาวจอมขวัญ คงสกุล หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66 ตลาดทุนเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจไทย ผู้วิจัยจึงเห็นความ จำเป็นในการดำเนินการวิจัยเพื่อศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในตลาดทุนไทย เพื่อประเมินความพร้อมและอุปสรรคในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล รวมถึงเสนอแนวทางการ พัฒนาระบบโครงสร้างพื ้นฐานดิจ ิท ัลสำหร ับตลาดทุนไทย โดยพิจารณาจากข้อมูล บริบท สภาพแวดล้อม ผู้ให้บริการ กระบวนการในการทำธุรกรรม รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้ นำวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษา ค้นคว้า รวบรวมข้อมูลและเอกสารจากภาครัฐและเอกชนมา วิเคราะห์เพ่ือได้มาซึ่งแนวทางการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่เป็นระบบโครงข่ายของ ประเทศที ่จะเชื ่อมโยงผู ้เกี ่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน และมีการแลกเปลี ่ยนข้อมูล ( Data Exchange) และการทำธุรกรรมดิจิทัลในตลาดทุนระหว่างกัน เพื่อปรับเปลี ่ยนกระบวนการและ รองรับข้อมูลในตลาดทุนเป็นรูปแบบดิจิทัล 100% ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ (End-to-End Process) ซึ่งช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาดทุน โดยมุ่งเน้นเสริมประสิทธิภาพและสร้าง มาตรฐานโดยรวมของกระบวนการในตลาดทุน จากการวิจัยพบว่า แม้ว่าตลาดทุนไทยจะมีโครงสร้างและกระบวนการที่ครอบคลุม แต่กลับขาดมาตรฐานในการปฏิบัติที่ชัดเจนทั่วทั้งอุตสาหกรรม มีการทำงานด้วยมือ (Manual) มาก เกินไป มีความล่าช้า และมีต้นทุนที่สูง รวมถึงมีโอกาสเกิดความผิดพลาดจากการดำเนินการโดยมนุษย์ (Human Error) อย่างไรก็ดี การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว อาจต้อง เผชิญกับความท้าทายและอุปสรรคต่างๆ เช่น การไม่สอดคล้องกันของระบบที่มีอยู่แล้วที่ถูกพัฒนาขึ้น มาโดยแต่ละภาคส่วน และความยุ่งยากในการเชื่อมโยงข้อมูล นอกจากนี้ เนื่องจากระบบโครงสร้ าง พื้นฐานดิจิทัลของตลาดทุนเป็นเรื่องใหม่ จึงยังไม่อยู่ในการกำกับดูแลโดยตรง อีกทั้งข้อกฎหมายใน ปัจจุบันอาจยังไม่รองรับ หากพัฒนาแล้วเสร็จอาจเกิดความเสี่ยงต่อภาคตลาดทุนและระบบเศรษฐกิจ โดยรวม ผู้วิจัยจึงเห็นว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลควรครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์ในตลาด ทุน รองรับธุรกรรมทั้งในตลาดแรกและตลาดรอง โดยจะต้องมีการพิจารณาใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม นอกจากนี้ หน่วยงานกำกับดูแลควรต้องมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี ่ยวข้องเพื่อรองรับการออกและ ดำเนินการหลักทรัพย์แบบดิจิทัลตลอดสาย ทั้งนี้ อาจรวมถึงแนวทางการกำกับดูแลโครงสร้างพ้ืนฐาน รวมทั้งเตรียมแนวทางและนโยบายในการสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อทำความเข้าใจและปรับตัวต่อการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการปรับปรุงกฎหมายด้วย

abstract:

ข Abstract Title Development of the digital infrastructure system of the Thai capital market Field Science and Technology Name Jomkwan Kongsakul Course NDC Class 66 The capital market is one of the important mechanisms that drives the Thai economy. Therefore, the researcher sees the necessity of conducting research to study and analyze various processes that occur in the Thai capital market in order to assess the readiness and obstacles in developing digital infrastructure, as well as to propose guidelines for developing a digital infrastructure system for the Thai capital market, considering data, context, environment, service providers, transaction processes, and related laws. The researcher has applied qualitative research methods by studying, researching, collecting data and documents from the public and private sectors to analyze in order to obtain guidelines for developing a digital infrastructure system that is a national network system that will connect all relevant sectors together and exchange data (Data Exchange) and digital transactions in the capital market between each other in order to change the process and support data in the capital market in a 100% digital format from upstream to downstream (End-to-End Process), which helps build confidence in the capital market by focusing on enhancing efficiency and creating overall standards of processes in the capital market. The research found that although the Thai capital market has a comprehensive structure and processes, it lacks clear standards of practice throughout the industry. There is too much manual work, delays, and high costs, including the possibility of human errors. However, developing a digital infrastructure to solve these problems has challenges and obstacles, such as inconsistencies in existing systems developed by each parties, and difficulties in data linkage. In addition, since the digital infrastructure system of the capital market is new, it is not directly regulated and current laws may not support it. Thus, it may pose risks to the capital market and the overall economy. The researcher therefore believes that the development of digital infrastructure should cover all products in the capital market and support transactions in both the primary and secondary markets. Also, appropriate technology must be considered. In addition, regulatory agencies should amend related laws to support the issuance and operation of digital securities throughout the chain. This may include guidelines for regulating the infrastructure, as well as preparing guidelines and policies for communicating with relevant parties to understand and adapt to changes resulting from the amendment of laws.