Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคงในสังคมไทย,(วปอ.10062)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาง จรรยา รัตนเลขา,(วปอ. 10062)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เร่ือง แนวทางการส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคงในสังคมไทย ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย นางจรรยา รัตนเลขา หลกัสูตร วปอ. รุ่นที่ 66 การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพ่ือศึกษาวิเคราะห์การปฏิบัติตนของพระสงฆ์ ที่มีต่อพระพุทธศาสนาในสังคมไทยที่เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน 2) เพ่ือศึกษาวิเคราะห์หลักการเผยแพร่ หลักธรรมของพระพุทธศาสนาและการประพฤติปฏิบัติตนของพุทธศาสนิกชนให้ความเหมาะสม ในสถานการณ์ปัจจุบัน และ 3) เพ่ือเสนอแนวทางการส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคง ในสังคมไทย วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย เจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ พระสงฆ์ ผู้บริหารสำนักงานพระพุทธศาสนา เจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัด พุทธศาสนาสนิกชน รวมจำนวน 19 รูป/คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การพรรณนาความตามวัตถุประสงค์การวิจัย ผลการวิจัย 1. ผลการศึกษาการปฏิบัติตนของพระสงฆ์ที่มีต่อพระพุทธศาสนาในสังคมไทย ที่เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน พบว่า มีหลักการปฏิบัติตนที่สำคัญ 5 ประการ คือ 1) การศึกษาและยึดมั่น ในพระธรรมวินัยของพระสงฆ์ 2) การประพฤติปฏิบัติตนของพระสงฆ์ 3) การกวดขันเข้มงวดของ ผู้ปกครองสงฆ์ 4) การพัฒนาบำรุงศาสนสถานและสถานที่ของวัดอยู่เสมอ 5) การมีส่วนร่วมในการ ส่งเสริมสวัสดิการสังคม การศึกษา และการอนุรักษ์วัฒนธรรม 2. ผลการศึกษาวิเคราะห์หลักการเผยแพร่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาและการ ประพฤติปฏิบัติตนของพุทธศาสนิกชนให้ความเหมาะสมในสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า หลักการ เผยแพร่หลักธรรมของพระพุทธศาสนา ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ มี 6 วิธี และการประพฤติปฏิบัติตน ของพุทธศาสนิกชนให้ความเหมาะสมในสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า การเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี ต้องมี การประพฤติปฏิบัติตน 6 วิธีการ 3. แนวทางการส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคงในสังคมไทย พบว่า มีแนวทาง ดำเนินการได้ 8 แนวทาง คือ 1) ควบคุมการเข้ามาบวชเป็นภิกษุ และสามเณร โดยตรวจสอบ ปริสสมบัติให้ครบถ้วนตามพระวินัยบัญญัติ 2) ตรวจสอบ และกำกับดูแลให้องค์กรสงฆ์ฝ่ายปกครอง จัดการศึกษาแก่ผู้ที่เข้ามาบวชตามหลักสูตรการศึกษา ทั้งในส่วนของพระวินัยและธรรมะ 3) ใช้พระวินัย และกฎหมายปกครองคณะสงฆ์กำจัดนักบวชที่ไม่พึงประสงค์ 4) พุทธบริษัททั้ง 4 ประกอบด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ต้องประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในพระธรรมวินัย เข้าถึงพระพุทธศาสนาด้วย ปัญญา 3 5) การแสดงธรรมหรือการเผยแผ่อาจต้องยึดหลักการเกื้อกูลต่อกันในสังคมปัจจุบันเป็นหลัก 6) ประชาสัมพันธ์วัดที่มีการพัฒนา มีความสะอาด เรียบร้อย ร่มรื่น มีความเหมาะสมที่จะเข้าไปปฏิบัติธรรม 7) การสนับสนุนงบประมาณในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา 8) การจัดตั้งองค์กร สมาคม ชมรม เพ่ือ ส่งเสริมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา

abstract:

ค Abstract Title Guidelines for promoting Buddhism to have stability in Thai society Field Social-Psychology Name Mrs.Janya Rattanalaykha Course NDC Class 66 The three objectives of this research were 1) to study and analyze the behavior of monks towards Buddhism in Thai society that is appropriate for the present era; 2) to study and analyze the principles of propagation of Buddhist principles and the behavior of Buddhists that are appropriate for the present situation; and 3) to propose guidelines for promoting Buddhism to have stability in Thai society. The research method is qualitative research by collecting data from key informants, consisting of the abbot, monks, executives of the Office of Buddhism, officers of the Provincial Office of Buddhism, and Buddhist followers, totaling 19 persons. The research tool was an in-depth interview. Data analysis used descriptive information according to the research objectives. Research results 1. The result of the study and the analysis of the behavior of monks towards Buddhism in Thai society that is appropriate for the present era found that there are 5 important principles of conduct: 1) Studying and adhering to the Buddhist precepts of monks, 2) Conduct of monks, 3) Strict supervision by monks, 4) Constantly developing and maintaining religious sites and temples, and 5) Participating in promoting social welfare, education, and cultural conservation. 2. The result of the study of the principles of propagation of Buddhist principles and the behavior of Buddhists that are appropriate for the present situation found that there are 6 methods for disseminating the principles of Buddhism obtained from this study, and the conduct of Buddhists is appropriate in the current situation. It was found that being a good Buddhist requires 6 methods of conduct. 3. The result of the study of guidelines for promoting Buddhism to have stability in Thai society found that there are 8 approaches to proceed: 1) Control the ordination of monks and novices by checking their qualifications to be complete according to the Vinaya, 2) Check and supervise the governing monastic organizations to provide education for those who ordain according to the curriculum of both the Vinaya and Dhamma, 3) Use the Vinaya and the law to govern the Sangha to ง eliminate undesirable monks, 4) The four groups of Buddhists, consisting of monks, nuns, male laymen and female laywomen, must conduct themselves in accordance with the Dhamma and Vinaya and understand Buddhism with wisdom, 5) The preaching or dissemination of Dhamma have to adhere to the principle of mutual assistance in the current society as the main principle, 6) Publicize temples that have been developed, are clean, tidy, shady and suitable for practicing Dhamma, 7) Support the budget for disseminating Buddhism, and 8) Establish organizations, associations and clubs to promote Buddhist activities.