เรื่อง: แนวทางการยกระดับคุณภาพชีวิตคนไร้บ้านและกลุ่มเปราะบางในเมือง (กรุงเทพมหานคร) อย่างยั่งยืน,(วปอ.10061)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาง จตุพร โรจนพานิช,(วปอ. 10061)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการยกระดับคุณภาพชีวิตคนไร้บ้านและกลุ่มเปราะบางในเมือง
(กรุงเทพมหานคร) อย่างยั่งยืน
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย นางจตุพร โรจนพานิช หลักสูตร วปอ. รุ่นท่ี ๖๖
การวิจัยเรื่องแนวทางการยกระดับคุณภาพชีวิตคนไร้บ้านและกลุ่มเปราะบางในเมือง
(กรุงเทพมหานคร) อย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ท่ัวไป สถานะปัจจุบัน และปัญหา
อุปสรรคในการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน และสวัสดิการต่าง ๆ ของคนไร้บ้านและกลุ่มเปราะบางในเมือง
(กรุงเทพมหานคร) รวมถึงแนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรการ และแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาคนไร้บ้าน
ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกรุงเทพมหานคร เพื่อสังเคราะห์
เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาและยกระดับคุณภาพชีวิตคนไร้บ้านและกลุ ่มเปราะบางในเมือง
(กรุงเทพมหานคร) อย่างยั่งยืน การวิจัยนี้วิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยใช้
การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ในการศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของคนไร้บ้าน
คุณลักษณะของคนไร้บ้าน สาเหตุและระยะเวลาของการเป็นคนไร้บ้าน รวมถึงสวัสดิการหรือบริการ
ภาครัฐท่ีได้รับจากนไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative
Research) ในการศึกษามุมมองของผู้กำหนดนโยบายและผู้เกี ่ยวข้องเกี ่ยวกับนโยบาย มาตรการ
ปัจจัยความสำเร็จ และปัญหาอุปสรรคในการจัดการกับปัญหาคนไร้บ้านในกรุงเทพมหานคร
ผลการศึกษาพบว่า คนไร้บ้านและกลุ่มเปราะบางในพื้นที่กรุงเทพมหานครสว่นใหญ่
เป็นเพศชาย มีอายุช่วงวัยกลางคนถึงวัยแรงงานตอนปลาย สถานภาพโสด หรือสมรสแต่หย่าร้าง/
แยกทางแล้ว จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ส่วนใหญ่มีงานทำ แต่เป็นงานแบบไม่ประจำ มีรายได้ต่ำ
และไม่แน่นอน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่คนเดียว ในพื้นที่สาธารณะหรือศูนย์พักพิงชั ่วคราวของภาครัฐ
สภาพร่างกายทั่วไปแข็งแรง โดยเป็นคนไร้บ้านมาไม่ถึง ๕ ปี อาศัยหลับนอนในพื้นที่สาธารณะ
หากเจ็บป่วย/ไม่สบาย มักจะปล่อยให้หายเองหรือซื้อยากินเอง หากเจ็บป่วยถึงขั ้นต้องรักษาตัว
ในโรงพยาบาล มักจะใช้สิทธิรักษาพยาบาลของรัฐ คนไร้บ้านส่วนมากแจ้งว่าไม่เคยขอความช่วยเหลือ
จากหน่วยงานภาครัฐ แต่ต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต
จากการศึกษา ปัญหาและสาเหตุที ่ทำให้เกิดคนไร้บ้านนั้น งานวิจัยนี้จึงขอเสนอ
ตัวแบบแนวทางการยกระดับคุณภาพชีวิตคนไร้บ้านและกลุ่มเปราะบางในเมือง (กรุงเทพมหานคร)
อย่างยั่งยืน และข้อเสนอเชิงนโยบายได้แก่ การกำหนดนโยบายด้านที่อยู่อาศัยสำหรับคนทุกช่วงวัย
(Housing first) การจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยและเหมาะสมเพื่อรองรับกลุ่มเปราะบางโดยเฉพาะ
คนไร้บ้าน การกำหนดนโยบายด้านที่อยู่อาศัยควบคู่กับการสร้างอาชีพ และการมีรายได้ การกำหนด
นโยบายระยะยาวในการสร้างระบบนิเวศที ่เหมาะสม เพื ่อพ ัฒนาความมั ่นคงของครอบครัว
การกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การกำหนดนโยบายในการบริหารและพัฒนา
แบบมีส่วนร่วม
abstract:
ข
Abstract
Title Sustainable Approaches to Enhance the Quality of Life for
Homeless and Vulnerable Populations in Urban Bangkok
Feild Social-Psychology
Name Jatuporn Rojanaparnich Course NDC Class 66
This research explores sustainable strategies to improve the quality of life
for homeless and vulnerable populations in Bangkok. Utilizing a mixed methods
approach, the study integrates quantitative research to analyze the characteristics,
causes, and duration of homelessness, as well as the welfare services received by
homeless individuals in Bangkok. Qualitative research captures the perspectives of
policymakers and stakeholders on policies, success factors, and barriers in addressing
homelessness.
Findings reveal that most homeless and vulnerable individuals in Bangkok
are male, middle-aged to late working-age, single or divorced/separated, and have
a primary education level. They typically engage in irregular, low-income employment,
live alone in public spaces or temporary shelters, and are generally in good physical
health. Most do not smoke or drink alcohol and have been homeless for less than five
years. They sleep in public areas, eat irregularly, bathe infrequently, and self-medicate
for minor illnesses, relying on state healthcare for serious conditions. Few seek help
from government agencies but express a need for basic necessities.
The research proposes a model for sustainable quality of life improvement,
recommending a "Housing First" approach, tailored housing plans for vulnerable groups,
integration of housing policies with job creation, long-term policies for family stability,
decentralization of power to local agencies, and participatory management and
development policies.