Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาของไทยเพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21,(วปอ.10054)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย เกรียงไกร วีระฤทธิพันธ์,(วปอ. 10054)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาของไทย เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย นายเกรียงไกร วีระฤทธิพันธ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นท่ี 66 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และผลกระทบของการจัดการเรียน การสอนระดับประถมศึกษาไทยในปัจจุบัน เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการจัดการเรียนการสอนใน ระดับประถมศึกษาไทยเพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนในศตวรรษท่ี 21 และเพื่อเสนอแนวทาง พัฒนาการจัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาของไทยเพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนในศตวรรษ ท่ี 21 โดยสัมภาษ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลักตามกลุ่มผู้เกี่ยวข้องจาก หน่วยงานภาครัฐ ผู้บริหาร สถานศึกษา ครูผู้สอนท้ังภาครัฐและเอกชนในระดับประถมศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ เลือกโรงเรียนในระดับประถมศึกษาให้แก่บุตรหลาน ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์และผลกระทบของการ จัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาไทยในปัจจุบัน พบว่า ผู้เรียนในระดับประถมศึกษาไทยยัง ด้อยคุณภาพทางการศึกษา ประกอบกับการขาดแคลนการกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ท่ัวถึง โดยเฉพาะในท้องถิ่นที่ห่างไกล การขาดแคลนอุปกรณ์ ส่ือการเรียนการสอน รวมท้ังการด้อยคุณภาพ ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน การบริหาร และการจัดการศึกษาของโรงเรียน แนวทาง พัฒนาการจัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาของไทยเพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนในศตวรรษ ท่ี 21 ประกอบด้วย 1) ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา รวมท้ังการส่ือสารและการร่วมมือ เข้าไปในทุกวิชา 2) กระบวนการทํางานของหองเรียนเสมือนจริง 3) ส่ือและเทคโนโลยีในการเรียนการสอน ประกอบ กับกิจกรรมในการเรียนรู้ท่ีเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางในศตวรรษท่ี 21 ข้อเสนอแนะในงานวิจัย ประกอบด้วย กระทรวงศึกษาธิการจะต้องมีการกระจายอํานาจในการจัดการศึกษา และทําการพัฒนา ผู้สอนอย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับการเปล่ียนแปลงของโลกและสังคม ส่วนสถานศึกษาจะต้อง ส่งเสริมเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาส่ือและเทคโนโลยีการเรียนรู้ การส่งเสริม การเรียนรู้ตามบริบทท้องถิ่น การจัดสรรงบประมาณท่ีเหมาะสมเพื่อพัฒนาการศึกษา ส่งเสริมการมี ส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา

abstract:

ข Abstract Title Guidelines for Development of Thai Primary Education Teaching and Learning Management for Developing Learners' Potential in the 21st Century Field Social - Psychology Name Mr. Kriangkrai Werarittipun Course NDC Class 66 This research aimed to study the current situation and impacts of primary education management in Thailand, to analyze the components of primary education management in Thailand for developing 21st century learners' potential, and to propose guidelines for developing primary education management in Thailand for enhancing learners' potential in the 21st century. In-depth interviews were conducted with key informants from relevant groups including government agencies, school administrators, public and private primary school teachers, and those involved in deciding which primary schools to enroll their children/grandchildren. The research found that the current situation and impacts of primary education management in Thailand show that Thai primary learners still lack educational quality. There is a lack of equal distribution of educational opportunities, especially in remote areas. There is also a shortage of instructional equipment and media, as well as poor quality of teaching and learning processes, administration, and educational management in schools. The proposed guidelines for developing primary education management in Thailand to enhance 21st century learners' potential include: 1) Incorporating learning and innovation skills such as creativity, critical thinking, problem solving, communication and collaboration into all subjects. 2) Simulated real-world classroom work processes. 3) Use of instructional media and technology along with student-centered learning activities for the 21st century. The research recommendations state that the Ministry of Education must decentralize educational management authority and continuously develop teachers to align with global and social changes. Schools must promote technology use in teaching and learning, develop instructional media and technology, promote learning based on local contexts, allocate appropriate budgets for educational development, and encourage community participation in education management.