เรื่อง: แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถในการบรรเทาสาธารณภัยของกองทัพบก กรณีศึกษา ชุดบรรเทาสาธารณภัยเคลื่อนที่เร็ว,(วปอ.10053)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทหาร/Military
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พันเอก กิตติวัฒน์ แจ่มจิรารักษ์,(วปอ. 10053)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เร่ือง แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถในการบรรเทาสาธารณภัยของ กองทัพบก
กรณีศึกษา ชุดบรรเทาสาธารณภัยเคลื่อนท่ีเร็ว
ลักษณะวิชา การทหาร
ผู้วิจัย พันเอก กิตติวัฒน์ แจ่มจิรารักษ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที ่๖๖
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ก าหนดวัตถุประสงค์ไว้ ๓ ข้อ วัตถุประสงค์ท่ี ๑ เพ่ือศึกษาถึงปัจจัย
ในการพัฒนาก าลังพลและยุทโธปกรณ์ของกองทัพบก ที่มีผลต่อการปฏิบัติภารกิจภายใต้สถานการณ์
ภัยพิบัติในปัจจุบัน วัตถุประสงค์ที่ ๒ เพ่ือศึกษาถึงความเชื่อมโยงในการสนับสนุนหน่วยงานหลักที่
รับผิดชอบตามที่กฎหมายก าหนด และวัตถุประสงค์ที่ ๓ เพ่ือศึกษาถึงแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถ
ของชุดบรรเทาสาธารณภัยเคลื่อนที่เร็ว เป็นงานวิจัยที่มุ่งเพ่ิมประสิทธิภาพในการปฏิบัติภารกิจด้านงาน
บรรเทาสาธารณภัย ซึ่งผู้ศึกษาวิจัยได้รวบรวมการตอบแบบสอบถามเชิงคุณภาพของผู้ที่เกี่ยวข้องในการ
ปฏิบัติงานการบรรเทาสาธารณภัยของกองทัพบก ในชุดบรรเทาสาธารณภัยเคลื่อนที่เร็ว เกี่ยวกับการ
ด าเนินงานตามปัจจัยที่เกี่ยวข้องและส่งผลต่อการปฏิบัติงาน เพ่ือให้สามารถน าผลงานวิจัยที่ได้ไปพัฒนา
ขีดความสามารถ ส าหรับชุดบรรเทาสาธารณภัยเคลื่อนที่เร็ว ให้มีศักยภาพและขีดความสามารถเฉพาะด้าน
ของหน่วย ในการสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพ่ือช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติให้ปลอดภัย
ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงสามารถปฏิบัติงานได้อย่างประสานสอดคล้องและมีประสิทธิภาพ
จากผลการวิจัย พบว่า ควรมีการซักซ้อมความเข้าใจในงานบรรเทาสาธารณภัยที่เกี่ยวข้อง
ให้กับก าลังพลในแต่ละส่วน รวมถึงปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สามารถบูรณาการความร่วมมือลงไปสู่ระดับพ้ืนที่ ในด้านก าลังพลควรมีการก าหนดนโยบายการแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ในงานบรรเทาสาธารณภัย ทั้งในหน่วยงานและภายนอกหน่วย มีการคัดเลือกก าลังพลที่มีคุณสมบัติ
ตามที่ก าหนดปฏิบัติงาน การหมุนเวียนก าลังพลตามวงรอบ เพ่ือเข้ารับการฝึกชุดบรรเทาสาธารณภัย
เคลื่อนที่เร็วตามวงรอบประจ าปี ท าให้ก าลังพลได้รับความรู้ ทักษะ ความช านาญ ตั้งแต่ขั้นพ้ืนฐาน
จนถึงขั้นสูงสุด ส่วนด้านยุทโธปกรณ์ เครื่องมือ และสิ่งอุปกรณ์ ควรจัดท าบัญชีความเร่งด่วนในการจัดหา
ของเครื่องมือประจ าชุดบรรเทาสาธารณภัยเคลื่อนที่เร็วเพ่ิมเติม รวมถึงการจัดท าแผนขอรับการสนับสนุน
เครื่องมือหากภัยพิบัติเกินขีดความสามารถ ด้านระบบสารสนเทศ ระบบการสื่อสาร ระบบการรายงาน
ควรมีการแลกเปลี่ยน ติดตาม ข้อมูลระหว่างหน่วยกับส่วนราชการพลเรือนระดับพ้ืนที่อย่างต่อเนื่อง
รวมถึงควรจัดอบรมให้ความรู้ในการใช้เครื่องมือสื่อสารขั้นพื้นฐาน ระบบการสื่อสารหลัก/รอง พร้อมทั้ง
การบูรณาการฝึกใช้เครื่องมือสื่อสารของทางทหารร่วมกับระบบสื่อสารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เน้นย้ า
ให้ทุกหน่วยเห็นถึงความส าคัญของการรายงาน ในส่วนงบประมาณควรมีการซักซ้อมความเข้าใจกับหน่วย
เจ้าหน้าที่งบประมาณของหน่วยในการประมาณการงบประมาณ การรวบรวมเอกสาร หลักฐานประกอบ
การเบิกเงินทดรองราชการให้ถูกต้อง ครบถ้วน ทันตามกรอบเวลาที่ก าหนด ตลอดจนการบูรณาการ
ความร่วมมือกับส่วนราชการพลเรือนในพ้ืนที่ในการช่วยเหลือบรรเทาสาธารณภัย เพ่ือลดความซ้ าซ้อน
ในการปฏิบัติของแต่ละฝ่าย ส่งผลให้ประชาชนที่เดือดร้อนได้รับการเยียวยา บรรเทาทุกข์ อย่างรวดเร็ว
และเหมาะสม
abstract:
ข
Abstract
Title : Guidelines for Enhancing Disaster Relief Capabilities of the Royal
Thai Army : A Case Study of the Rapid Disaster Relief Unit
Field : Military
Name : Colonel Kittiwat Jaamjiraruks Course NDC Class 66
This research aims to achieve three objectives. 1. To study the factors in
developing personnel and equipment of the Army that impact mission performance
under current disaster situations. 2. To study the linkages in supporting key agencies as
mandated by law. 3. To study ways to enhance the capabilities of the Rapid Disaster
Relief Unit. The research focuses on improving the efficiency of disaster relief missions.
The researcher collected qualitative questionnaire responses from personnel involved
in the Army's disaster relief operations within the Rapid Disaster Relief Unit regarding
factors affecting their operations. The goal is to use the research findings to develop
the unit's capabilities and enhance their specific competencies in supporting relevant
agencies to help disaster-affected civilians ensure their safety and property. The
research also aims to ensure coordinated and effective operations.
The findings suggest the need for clear understanding and training in
disaster relief tasks for personnel at all levels, including addressing operational
challenges. Relevant agencies should be able to integrate cooperation down to the
local level. For personnel, policies for knowledge exchange in disaster relief, both
within and outside the unit, should be established. Selecting qualified personnel for
operations and rotating them for annual training in the Rapid Disaster Relief Unit is
recommended, allowing them to acquire knowledge, skills, and expertise from basic to
advanced levels. Regarding equipment, a priority list for acquiring tools for the Rapid
Disaster Relief Unit should be established, including plans for requesting additional
tools if disasters exceed current capabilities. Information systems, communication
systems, and reporting systems should facilitate continuous data exchange and tracking
between units and local civilian agencies. Training on basic communication tools,
primary/secondary communication systems, and integrated military-civilian
communication exercises is necessary, emphasizing the importance of reporting. For
budgeting, clear understanding and training for unit budget officers on budget
estimation, document collection, and evidence for disbursement are required to ensure
accuracy and timeliness. Integration with local civilian agencies in disaster relief is crucial
to avoid operational redundancy, providing prompt and appropriate assistance to
affected civilians.