เรื่อง: การป้องกันการทุ่มตลาดเพื่อความมั่นคงของชาติ กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ฟิล์มบรรจุภัณฑ์,(วปอ.10052)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย กิตติภัต สุทธิสัมพัทน์,(วปอ. 10052)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การป้องกันการทุ่มตลาดเพื่อความมั่นคงของชาติ กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์
ฟิล์มบรรจุภัณฑ์
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นายกิตติภัต สุทธิสัมพัทน์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66
การศึกษาเรื่อง การป้องกันการทุ่มตลาดเพื่อความมั่นคงของชาติ กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์
ฟิล์มบรรจุภัณฑ์ มีวัตถุประสงค์เพิ่อ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ ปัญหา และอุปสรรคของอุตสาหกรรม
การผลิตฟิล์มบรรจุภัณฑ์ 2) เพื่อวิเคราะห์การทุ่มตลาด และการป้องกันการทุ่มตลาดในอุตสาหกรรม
การผลิตฟิล์มบรรจุภัณฑ์ของประเทศคู ่ค้ากับไทย 3) เพื ่อเสนอแนวทางป้องกันการทุ ่มตลาด
ในอุตสาหกรรมการผลิตภัณฑ์ฟิล ์มบรรจุภ ัณฑ์ของประเทศไทย โดยรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ
จากแหล่งข้อมูลภาครัฐ จากที่ต่าง ๆ และข้อมูลทุติยภูมิจากงานวิจัย เอกสารทางวิชาการและ
วรรณกรรมที ่เก ี ่ยวข้อง จากนั ้นนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ โดยสรุปผลการศึกษาได้ด ังนี้
1) ผลการวิจัยการป้องกันการทุ่มตลาดเพ่ือความมั่นคงของชาติ กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ฟิล์มบรรจุภัณฑ์
มีดังนี้ ผู้ประกอบการต้องเก็บตัวเลข สังเกตความเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มที่เป็นไปได้ ซึ่งจะต้องเก็บ
ข้อมูลอันประกอบด้วยปัจจัยการพิจารณาในการให้รัฐดำเนินการตอบโต้การทุ่มตลาดของภาคเอกชน
2)การรับรู้การทุ่มตลาดเกิดจากภาคเอกชนแต่เพียงฝ่ายเดียวโดยเอกชนรายใดมีความไวและการรับรู้
ถึงความเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว ก็อาจสามารถปรับตัวรับมือ และรวมตัวกันร้องเรียนต่อภาครัฐให้เข้า
ช่วยเหลือแก้ไขได้ 3) เมื่อเกิดเหตุการณ์การทุ่มตลาดแล้ว เอกชนรายใดที่ปรับตัวช้าหรือไม่ทันแล้ว
ก็จะต้องออกจากตลาดการค้านี้ไปสมดังที่ต่างชาติต้องการเข้ามาทุ่มตลาดเพื่อที่จะยึดพื้นที่การค้า
ในตลาดนั้น ๆ 4) การจับกลุ่มรวมตัวกันของคู่ค้าในประเทศที่ผลิตสินค้าประเภทเดียวกัน แม้ในทาง
การค้าจะเป็นคู่แข่งกัน แต่หากไม่มีความสัมพันธ์และการรวมตัวกันร้องเรียนต่อภาครัฐแล้ว ก็ยากที่จะ
มีมาตรการต่าง ๆ ที่รัฐจะให้ความช่วยเหลือได้ ดังนั้นจึงภาคเอกชนจึงต้องมีการรวมตัวรวมกลุ่มกัน
เพื่อคอยดูแลสอดส่องความผิดปรกติของตลาดการค้าในผลิตภัณฑ์นั้น ๆ กันอย่างเป็นรูปธรรม จึงจะ
สามารถดำรงอยู่ในตลาดการค้านั้นอย่างยืนยาวมั่นคง
จากการวิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1) รัฐบาลควรจัดตั้งหน่วยงานเฝ้าระวังการทุ่มตลาด
โดยระดมสรรพกำลังในการใช้เทคโนโลยีมาเฝ้ามองความเปลี่ยนแปลงซึ่งตัวเลขต่าง ๆ ในแต่ละส่วน
แต่ละภาคของอุตสาหกรรม เพ่ือจะได้ได้เพ่ิมความระมัดระวัง และรู้ตัวล่วงหน้า จะได้มีการเตรียมการ
ป้องกันรับมือได้ล่วงหน้า ก่อนที่จะเกิดการทุ่มตลาด 2) รัฐบาลควรใช้ประโยชน์จาก Big Data การใช้
ปัญญาประดิษฐ์ในการศึกษาเฝ้าดูความเปลี่ยนแปลง และแนวโน้มอันอาจจะเกิดขึ้นในด้านการทุ่ม
ตลาดจากภายนอก 3) ผู้ผลิตในไทยจะต้องสร้างภูมิคุ้มกันการทุ่มตลาดจากผู้ผลิตต่างประเทศ ได้แก่
การปรับปรุงเสริมสร้างการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิต การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการส่ง
ข
ข้อมูลทางบัญชีที่แม่นยำ รวดเร็ว และมีการเปรียบเทียบราคา ความสามารถในการผลิตเป็นต้น
4) เอกชนในตลาดอุตสาหกรรมการผลิตฟิล์มบรรจุภัณฑ์ ควรจะต้องมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มในธุรกิจ
ที่เกี่ยวข้องกัน มีแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ระหว่างกันในการที่จะช่วยกันเฝ้าระวัง สอดส่อง
ดูแล ความผิดปรกติอันอาจจะเกิดขึ้น และ 5) ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับ “การรับมือของต่างประเทศ
เมื่อเกิดเหตุการณ์การทุ่มตลาด” ในแต่ละบริบทของข้อตกลง WTO
abstract:
ค
Abstract
Title Anti-Dumping Measures for National Security : A Case Study of
Packaging Film Products
Field Economics
Name Mr. Kittiphat Suthisamphat Course NDC Class 66
This study on anti-dumping measures for national security focusing on case
study packaging film products, aims to: 1) investigate the current situation, issues, and
obstacles in the packaging film industry 2) analyze dumping practices and anti-dumping
measures in the packaging film industry of Thailand's trading partners and 3) propose
anti-dumping strategies for the packaging film industry in Thailand. Primary data were
collected from various government sources and secondary data were gathered from
research, academic documents, and related literatures. The data were then analyzed
and compared. The findings are summarized as follows: 1) Research Results:
Entrepreneurs must collect data, observe changes and potential trends, and consider
factors for government action against private sector dumping. 2) Awareness: The
recognition of dumping originates solely from the private sector. Those who are quick
to notice changes can adapt, respond, and collectively petition the government for
assistance. 3) Response to Dumping: Companies that adapt slowly or fail to respond
will be forced out of the market, aligning with the foreign entities' intent to dominate
that market. 4) Collaboration: Competing domestic producers of similar products must
unite and collectively voice their concerns to the government. Without such
collaboration, it will be difficult for the government to implement effective measures.
Therefore, private sector groups must form alliances to monitor market anomalies and
ensure long-term stability in the market.
Recommendations: 1) The government should establish an anti-dumping
monitoring agency, leveraging technology to track changes in industry metrics across
various sectors to increase vigilance and preemptively prepare for dumping incidents.
2) The government should utilize Big Data and artificial intelligence to monitor changes
and trends that may indicate external dumping threats. 3) Domestic producers need
to build resilience against foreign dumping through technological advancements in
production, precise and timely information dissemination using information
ง
technology, and by comparing prices and production capacities. 4) The private sector
in the packaging film industry should form groups within related businesses to
exchange valuable information, monitor, and detect potential market irregularities. 5)
There should be a study on "How Foreign Countries Respond to Dumping Events" within
the context of WTO agreements.