Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการแปลงนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๗๐ สู่ผลสัมฤทธิ์ของการบริหารจัดการความมั่นคงจังหวัดสุรินทร์,(วปอ.10051)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พันเอก กิตติพงษ์ พุทธิมณี,(วปอ. 10051)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เร่ือง แนวทางการแปลงนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๗๐ สู่ผลสัมฤทธิ์ของการบริหารจัดการความมั่นคงจังหวัด สุรินทร์ ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พันเอก กิตติพงษ์ พุทธิมณี หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๖ งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพ่ือศึกษาสภาพปัญหาที่มีผลกระทบต่อการแปลง นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ สู่ผลสัมฤทธิ์ของการ บริหารจัดการความมั่นคงจังหวัดสุรินทร์ ๒) เพ่ือศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาที่มี ผลกระทบต่อการแปลงนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ สู่ผลสัมฤทธิ์ของการบริหารจัดการความม่ันคงจังหวัดสุรินทร์ ๓) เพ่ือนำเสนอวิธีการขับเคลื่อนรูปแบบ หรือแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อการแปลงนโยบายและแผนระดับชาติ ว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ สู่ผลสัมฤทธิ์ของการบริหารจัดการความมั่นคง จังหวัดสุรินทร์ โดยมีระเบียบวิธีวิจัย เชิงคุณภาพ ศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ๕ ด้าน จำนวน ๒๐ ท่าน ยืนยันข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ และสังเคราะห์ข้อมูลสรุปผลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ควรใช้หลักการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักการบริหาร จัดการเชิงกลยุทธ์ หลักการบริหารจัดการความขัดแย้ง และหลักการกระบวนการมีส่วนร่วม ซึ่งเป็น หลักการที่จะทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วต่อการบริหารจัดการข้อมูลที่มีหลากหลายมิติและ สลับซับซ้อน เกิดการจัดลำดับความเร่งด่วนเป็นปัจจุบันตลอดเวลา เป็นหลักการที่สามารถติดตาม และประเมินผลได้อย่างเป็นระบบและสะท้อนให้เห็นถึงผลสัมฤทธิ์ได้อย่างชัดเจน เป็นหลักการที่สร้าง ความรักความสามัคคี ขจัดปัญหาความขัดแย้งเดิมและลดความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้น สามารถมอง ภาพที่เกิดข้ึนไปในทิศทางเดียวกันซึ่งจะทำให้เกิดความเป็นเอกภาพร่วมกัน เป็นหลักการที่เปิดพื้นที่ให้ หน่วยงานของรัฐที่ เกี่ยวข้อง ภาคเอกชนและภาคประชาชน ได้เข้ามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นจนจบ กระบวนการ ซึ่งจะต้องบูรณาการร่วมกับหลักการบริหารจัดการตามวงรอบ PDCA อย่างเป็นระบบ หน่วยงานด้านความมั่นคงที่ เกี่ยวข้อง สามารถนำความรู้จากการศึกษาครั้งนี้ เป็นฐานข้อมูลจัดทำคู่มือให้กับรองผู้อำนวยการรักษาความม่ันคงภายในจังหวัดนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป

abstract:

ข Abstract Title Guidelines for the Transformation of National Security Policy and Plans of 2023-2027 towards the effectiveness of security management in Surin province Field Military Name Col. Kittipong Putdhimanee Course NDC. Class 66 The research objectives are: 1) to study the problem and conditions affecting the transformation of national security policies and plans of 2023-2027 towards the effectiveness of security management in Surin province. 2) to study appropriate approaches to address the issues affecting the transformation of national security policies and plans of 2023-2027 towards the effectiveness of security management in Surin province. 3) to present the methods or appropriate approaches to resolve the issues affecting the transformation of national security policies and plans of 2023-2027 towards the effectiveness of security management in Surin province. The research will follow a qualitative research methodology, drawing insights from relevant documents and research, conducting in-depth interviews with key informants from five groups, totaling 20 individuals. The data is validated through focus group discussions then presented in the descriptive form. The research results found that principles of information technology management, strategic management, conflict management, and participatory process management should be utilized. The principle ensures convenience and efficiency in managing multidimensional and complex data. It always maintains real-time prioritization and enables systematic tracking and evaluation, reflecting performance clearly. It fosters unity, eliminates existing conflicts, and reduces potential conflicts. It allows viewing the situation from a shared perspective, promoting collaborative uniqueness. The principle opens space for relevant government agencies, private sectors, and the public to participate throughout the process. It must be integrated with the systematic management principle following the PDCA cycle. The relevant security agencies can utilize the knowledge gained from this study to create a handbook for deputy director general of internal security operation command to be applied in the future.