Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนามาตรฐาน คุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าเกษตรภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ระยะที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ,(วปอ.10049)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาง กาญจนา แดงรุ่งโรจน์,(วปอ. 10049)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการเพิ่มศักยภาพการพัฒนาด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ของประเทศไทย ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผู้วิจัย นางกาญจนา แดงรุ่งโรจน์ หลักสูตร วปอ. รุ่นท่ี 66 การศึกษาวิจัยเรื่องการเพิ่มศักยภาพการพัฒนาด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ของประเทศไทยและศึกษาแนวทางการเพิ่มศักยภาพการพัฒนาด้านคุณภาพและความปลอดภัย อาหารของประเทศไทย เพื่อน าไปสู่การก าหนดแนวการเพิ่มศักยภาพการพัฒนาด้านคุณภาพ และความปลอดภัยอาหารของประเทศไทย ให้บรรลุตามเป้าหมายท่ีก าหนดไว้ ผลการศึกษา พบว่า ประเทศไทยได้มีการนิยามความมั่นคงทางอาหารไว้อย่างเป็นทางการ โดยบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พ.ศ. 2551 และมีกฎหมายและมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร ท่ีครอบคลุมการด าเนินงานด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหารต้ังแต่ต้นน้ า กลางน้ า และปลายน้ า เพื่อรองรับสถานการณ์ท่ีเปล่ียนแปลงไป จึงได้เสนอกลยุทธ์เชิงรุก ได้แก่ เสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้เกษตรกรและผู้ประกอบการในการผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทานภายใต้รับ การรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.) กลยุทธ์เชิงแก้ไข ได้แก่ พัฒนาและสนับสนุนเกษตรกร รุ่นใหม่ผลิตสินค้าเกษตรภายใต้มาตรฐานสินค้าเกษตร และสนับสนุนแหล่งเงินทุนในการรับรอง มาตรฐานสินค้าเกษตร กลยุทธ์เชิงป้องกัน ได้แก่ พัฒนาแพลตฟอร์ม ฐานข้อมูล และงานวิจัย ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี ส่งเสริมและสนับสนุนสินค้าเกษตรและอาหารให้มีการแปรรูป และการเพิ่ม มูลค่าสินค้าเกษตรในระดับท้องถิ่น และกลยุทธ์เชิงรับ ได้แก่ ประชาสัมพันธ์การรับรองมาตรฐาน สินค้าเกษตร คุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ผลักดันกลไกคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ และการบูรณาการท างานร่วมกันระหว่างหน่วยงานท้ังในส่วนกลาง และระดับจังหวัด ข้อเสนอแนะในการเพิ่มศักยภาพการพัฒนาด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ของประเทศไทยมีดังนี้ หน่วยงานภาครัฐควรทบทวนบทบาทและภารกิจด้านการจัดท ามาตรฐาน และปรับปรุงกฎระเบียบ/กฎหมายต่างๆ ท่ีเกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน สนับสนุน แหล่งเงินทุน/สินเช่ือปลอดดอกเบี้ยแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อย สร้างระบบเช่ือมโยง ฐานข้อมูลด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร และสร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการธุรกิจขนส่ง สินค้าและโลจิสติกส์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและส่ิงอ านวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์สินค้าเกษตร ส่วนภาคเอกชนควรวางแผนการตลาดและพัฒนารูปแบบการแปรรูปสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ ให้มีความหลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคท้ังภายในประเทศและต่างประเทศ และเตรียมความพร้อมด้านกิจกรรมส่งเสริมการตลาด สร้างแบรนด์ด้วยการเล่าเรื่องราว (Storytelling) ให้กับสินค้าเกษตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน โดยเกษตรกรควรเร่งปรับตัวและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สมัยใหม่และนวัตกรรมใหม่ๆ และวางแผนการผลิตและแผนธุรกิจ ส าหรับการผลิตสินค้าเกษตร ท่ีได้รับการรับรองมาตรฐาน

abstract:

Name Lt.Gen.KRIT KITWIWATKUL Course NDC Class 66 The study on "Evaluation of the Effectiveness of the Implementation of the Act on Criteria and Methods for Good Urban Management in the Office of the Permanent Secretary of the Ministry of Defense, Case Study of the Office of Defense Bureaucratic System Development" aims to study the guidelines for implementation under the Act on Criteria and Methods of Good Urban Management. Obstacles that the unit has implemented according to the above guidelines and to use the results of research studies to improve and develop. Guidelines for the development of the organizational management system with a focus on The procedure for evaluating the performance of the Government and the evaluation of the performance of the Office of the Permanent Secretary of Defense and the units directly under the Office of the Permanent Secretary of Defense to increase efficiency and be able to show concrete results. The study was qualitative by collecting data from military officials affiliated to the Defense Bureaucratic Development Bureau and unit civil servants at the Office of the Permanent Secretary of the Ministry of Defense who is responsible for supervising the bureaucratic development of the unit. The analysis of the results of the study included the distribution of percentages, averages, and standard deviations