Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การพัฒนาระบบการศึกษาทางทหารระดับต้น ของกองบัญชาการกองทัพไทย เพื่อรองรับศตวรรษที่ 21,(วปอ.10045)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พันเอก กฤษฎา บุญวัฒน์,(วปอ. 10045)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เร่ือง การพัฒนาระบบการศึกษาทางทหารระดับต้น ของกองบัญชาการ กองทัพไทย เพ่ือรองรับความมั่นคงในศตวรรษที่ ๒๑ ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พันเอก กฤษฎา บุญวัฒน์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๖ งานวิจัยชิ้นนี้จึงมุ่งศึกษาวิเคราะห์ สมรรถนะ ความรู้ และทักษะที่พึงประสงค์ของ กำลังพลชั้นสัญญาบัตรของกองบัญชาการกองทัพไทย เพ่ือให้สอดคล้องกับสถานการณ์ความมั่นคง ในศตวรรษที่ ๒๑ ศึกษาวิเคราะห์ ปัญหา อุปสรรค และปัจจัยสนับสนุน ของระบบการศึกษาทางทหาร ระดับต้น เพ่ือเพ่ิมเติม สมรรถนะ ความรู้ และทักษะของกำลังพลชั้นสัญญาบัตรที่กองบัญชาการ กองทัพไทยต้องพัฒนาเพ่ิมเติม ให้สามารถปฏิบัติภารกิจของกองบัญชาการกองทัพไทยให้เกิดผล สัมฤทธิ์ และสอดคล้องกับสถานการณ์ความมั่นคงในศตวรรษที่ ๒๑ และเพ่ือเสนอแนะแนวทาง การพัฒนาและปรับปรุงระบบการศึกษาทางทหารระดับต้น ของกองบัญชาการกองทัพไทย ให้สามารถ ผลิตกำลังพลชั้นสัญญาบัตร ที่มีสมรรถนะ ความรู้และทักษะที่ พึงประสงค์ และสอดคล้องกับ สถานการณ์ความมั่นคงในศตวรรษที่ ๒๑ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษา เอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับระบบการศึกษาทาง ทหารระดับต้นของกองบัญชาการกองทัพไทยและเหล่าทัพ จำนวน ๖ นาย เครื่องมือเก็บรวบรวม ข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ โดยสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ ๑. สมรรถนะ ความรู้ และทักษะที่ พึงประสงค์ของกำลังพลชั้นสัญญาบัตรของ กองบัญชาการกองทัพไทย เพ่ือให้สอดคล้องกับสถานการณ์ความมั่นคงในศตวรรษที่ ๒๑ พบว่า ในศตวรรษที่ ๒๑ จะเกิดความเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ทั้งความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจ ปัญหา วิกฤติด้านสาธารณสุข ความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต เศรษฐกิจ รวมถึงความขาดแคลนอาหาร นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้แต่ละประเทศ ต้องเผชิญกับปัญหาการก่อการร้าย อาชญากรรม และการก่อความไม่สงบโดยใช้เทคโนโลยี รวมถึง การแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ สมรรถนะ ความรู้ และทักษะของกำลังพล ที่พึงประสงคข์องกองบัญชาการกองทัพไทยกองทัพและสอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกในศตวรรษที่ ๒๑ จะต้องเป็นกำลังพลที่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ตามบทบาทของกระทรวงกลาโหมและกองทัพ ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย ในเรื่อง ความจงรักภักดีต่อสถาบันหลัก ความเป็นผู้นำ การทำงานเพ่ือ มุ่งผลสัมฤทธิ์ มีความเชี่ยวชาญในงาน รอบรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ด้านความมั่นคง มีกระบวนการคิด วิเคราะห์ เสนอแนะ ตกลงใจที่เหมาะสม สามารถปฏิบัติงานภายใต้ความกดดันและทำงานร่วมกับทุก ส่วนได้ มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม ประเทศชาติ มีจิตสาธารณะ และรู้เท่าทันสื่อ รอบรู้ด้านด้านนวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมที่จะพัฒนาตนเองในศตวรรษที่ ๒๑ ๒. วิเคราะห์ปัจจัยสนับสนุน ปัญหาและอุปสรรค ของระบบการศึกษาทางทหารระดับ ต้น เพ่ือเพ่ิมเติม สมรรถนะ ความรู้ และทักษะของกำลังพลชันสัญญาบัตรที่กองบัญชาการกองทัพไทย ต้องพัฒนาเพ่ิมเติม ให้สามารถปฏิบัติภารกิจของกองบัญชาการกองทัพไทยให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ข และสอดคล้องกับสถานการณ์ความมั่นคงในศตวรรษที่ ๒๑ พบว่า มี ๔ ด้าน ประกอบด้วย ด้านการ บริหารจัดการ กองทัพยังขาดแผนและยุทธศาสตร์ทีช่ัดเจนและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมด้านความ มั่นคงในอนาคต ขาดหน่วยงานในระดับกลาโหมที่เป็นเจ้าภาพด้านการศึกษา เพ่ือปรับระบบการ บริหารการศึกษาของกองทัพให้มีเอกภาพ ด้านครูผู้สอน ขาดความชำนาญในเรื่องการรบร่วมซึ่งเป็น งานของกองทัพไทย ขาดการสนับสนุนข้อมูล บุคลากรไม่เพียงพอ ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียน การสอน มีความหลากหลายเกินไปและไม่มีความเฉพาะทาง แต่ละวิชามีชั่วโมงการเรียนน้อยเกินไป เนื้อหากว้างและไม่เจาะลึกในความชำนาญของเหล่า ขาดการสนับสนุนในเรื่องอินเทอร์เน็ตและ ระบบเรียนออนไลน์ สถานที่ในการเรียนคับแคบ และควรปรับหลักสูตรให้คล้ายกับชั้นนายร้อยและ ชั้นนายพันของเหล่าทัพ เพ่ือให้เกิดความต่อเนื่องจนถึงการเรียนเสนาธิการร่วม และด้านผู้เรียน ผู้เรียน ส่วนใหญ่ไม่อยู่ในส่วนฝ่ายอำนวยการหลักของกองบัญชาการกองทัพไทยที่ทำงานด้านเสนาธิการร่วม ทำให้ขาดพ้ืนฐานและขาดความเชี่ยวชาญต้องใช้ความพยายามในการพัฒนายกระดับตนเอง ๓. แนวทางการพัฒนาและปรับปรุงระบบการศึกษาทางทหารระดับต้นของ กองบัญชาการกองทัพไทย ให้สามารถผลิตกำลังพลชั้นสัญญาบัตร ที่มีสมรรถนะ ความรู้และทักษะ ที่พึงประสงค์ และสอดคล้องกับสถานการณ์ความมั่นคงในศตวรรษที่ ๒๑ พบว่า ควรดำเนินการตาม กลยุทธ์การขยายขอบข่าย และกลยุทธ์การพลิกตัว โดยควรมียุทธศาสตร์การพัฒนากระทรวงกลาโหม และกองทัพให้มีทิศทางที่ชัดเจนและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงในอนาคตและ บทบาทหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมกองทัพ สภาการศึกษาวิชาการทหาร กระทรวงกลาโหม และ สถาบันวิซาป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย ควรเป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนการศึกษา อาจพิจารณาการยกระดับสถาบันวิชาการป้องกันประเทศให้เป็นหน่วยงานในระดับกระทรวงกลาโหม เพ่ือเป็นฝ่ายอำนวยการด้านการศึกษาในระดับกระทรวงเพ่ือเป็นองค์กรขับเคลื่อนการศึกษา ผู้สอน ต้องปรับบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกและให้การสนับสนุนในการศึกษาเรียนรู้ หลักสูตรและการ เรียนการสอน ควรมีการปรับให้คล้ายกับชั้นนายร้อยและชั้นนายพันของเหล่าทัพ เพ่ือให้เกิดความ ต่อเนื่องจนถึงเรียนเสนาธิการร่วม เนื้อหาของหลักสูตรควรเน้นการออกแบบสร้างความรู้โดยผู้เรียน และผู้เรียนควรพัฒนาเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต การคิดเชิงระบบและเชิงวิเคราะห์ให้มากขึ้นเพ่ือตอบ โจทย์การพัฒนากำลังพลชั้นสัญญาบัตรให้มีสมรรถนะ ที่เหมาะสม สามารถปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์โลกในศตวรรษที่ ๒๑ ต่อไป

abstract:

ค Abstract Title Mechanism for Establishing Military Education Standards Field Military Name Col Krisada Boonwat Course NDC Class 66 This research aims to analyze the competencies, knowledge, and skills desired for staff officers at the Royal Thai Armed Forces Headquarters in 21st century security situations, to study the external and internal factors in the military education system at the basic level to enhance the competencies, knowledge, and skills of the commissioned officers that need to be developed further to effectively perform their duties at the Royal Thai Armed Forces Headquarters in 21st century security situations and to recommend for the development and improvement of the basic level military education system of the Royal Thai Armed Forces Headquarters to produce commissioned officers with the desired competencies, knowledge, and skills in 21st century security situations. This qualitative research employs document research and in-depth interviews. The key informants are six experts related to the basic level military education system of the Royal Thai Armed Forces Headquarters and the military branches. The data collection tool is an interview form. The research findings can be summarized as follows: 1. Analysis of the desired competencies, knowledge, and skills of Thai military personnel reveals that: Competencies, Knowledge, and Skills Desired for staff Officers at the Royal Thai Armed Forces Headquarters in 21st Century Security Situations: Changes in various aspects such as conflicts between superpowers, public health crises, food and energy security issues affect production sectors, the economy, and food shortages. Additionally, digital technology changes lead countries to face terrorism, crime, and unrest using technology, including information dissemination through social media. The desired competencies, knowledge, and skills of staff officers must enable them to perform missions according to the Ministry of Defense and military roles as stipulated by law. This includes loyalty to main institutions, leadership, goal-oriented work, expertise in their duties, awareness of security situations, analytical thinking, appropriate decision-making, working under pressure, collaboration, responsibility towards family, community, society, and nation, public spirit, media literacy, knowledge of innovations and information technology, and readiness for self-development in the 21st century. ง 2. The external and internal factors in the military education system at the basic level to enhance the competencies, knowledge, and skills of the commissioned officers that need to be developed further to effectively perform their duties at the Royal Thai Armed Forces Headquarters in 21st century security situations: 4 aspects were identified. Management: The military lacks clear and future security environment-aligned plans and strategies, lacks a defense-level educational host agency to unify the military education management system. Instructors: There is a lack of expertise in joint operations, insufficient support information, and personnel shortages. Curriculum and Teaching: It is overly diverse and lacks specialization, with too few teaching hours, broad and non-specific content, insufficient internet and online learning support, cramped learning spaces, and a need to align the curriculum with military cadet and officer levels for continuity up to joint staff training. And Learners: Most are not in the main operational departments of the Royal Thai Armed Forces Headquarters dealing with joint staff, lacking foundational knowledge and expertise, requiring self-development efforts. 3. Recommend for the development and improvement of the basic level military education system of the Royal Thai Armed Forces Headquarters to produce commissioned officers with the desired competencies, knowledge, and skills in 21st century security situations reveal that: Implement expansion and transformation strategies, with clear and future security environment-aligned development strategies for the Ministry of Defense. The Defense Academic Council and the National Defense Studies Institute should be the main driving organizations. Consider elevating the National Defense Institute to a defense-level agency to lead education efforts. Instructors should become facilitators and supporters of learning. The curriculum should align with military student and officer levels for continuity, focusing on learner-designed knowledge creation, promoting lifelong learning, and enhancing systemic and critical thinking.