เรื่อง: มาตรการในการควบคุมการฟอกเงินผ่านระบบธนาคารใต้ดิน (โพยก๊วน) ในพื้นที่ชายแดนของประเทศไทย เฉพาะพื้นที่ชายแดนไทย - พม่า,(วปอ.10043)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการเมือง/Politics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย กมลสิษฐ์ วงศ์บุตรน้อย,(วปอ. 10043)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง มาตรการในการควบคุมการฟอกเงินผ่านระบบธนาคารใต้ดิน (โพยก๊วน)
ในพื้นที่ชายแดนของประเทศไทย เฉพาะพ้ืนที่ชายแดนไทย – พม่า
ลักษณะวิชา การเมอืง
ผู้วิจัย นายกมลสิษฐ์ วงศ์บุตรน้อย หลักสูตร วปอ. รุ่นท่ี ๖๖
ความต้องการแรงงานในกระบวนการต่าง ๆ ของระบบเศรษฐกิจส่งผลให้เกิดปัญหาขาด
แคลนแรงงานระดับล่างในหลายสาขาอาชีพ ท าให้มีการเคล่ือนย้ายแรงงานข้ามชาติเข้ามาทดแทน
แรงงานไทยท่ีขาดแคลน (Labour Shortage) ซึ่งแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาท างานในไทย ประกอบด้วย
บุคคล ๓ สัญชาติใหญ่ ๆ คือ เมียนมา ลาว และกัมพูชา การท างานในประเทศไทยท าให้แรงงานต่างด้าว
ได้รับเงินเพิ่มมากขึ้นกว่าการท างานในประเทศของตนเอง มีสภาพความเป็นอยู่ท่ีดีขึ้น และมีเงินเหลือ
มากพอท่ีจะโอนส่งกลับไปเพื่อเล้ียงดูครอบครัว ซึ่งปัจจุบัน โดยเฉพาะแรงงานชาวเมียนมาส่วนใหญ่
จะโอนเงินกลับประเทศผ่านช่องทางท่ีไม่เป็นทางการ หรือท่ีรู้ จักกันในช่ือว่า “นายหน้า” หรือ
“โพยก๊วน” (Underground Banking) หรือ “เอ็งเจ่ีย” (ภาษาเมียนมา) “โพยก๊วน” เป็นการท าธุรกรรม
ทางการเงินท่ีมีการโอนกันข้ามประเทศโดยจะต้องมีตัวแทนหักบัญชี คอยท าหน้าท่ีเป็นคนกลาง เสมือน
เป็นธนาคารในการรับโอนหรือส่งมอบเงินให้แก่บุคคลท่ีผู้ใช้บริการโพยก๊วนระบุ ซึ่งอาจจะเป็น
ผู้ใช้บริการเองหรือบุคคลอื่น ๆ ท่ีผู้ใช้โพยก๊วนระบุไว้ก็ได้ โดยผู้ท่ีมีสิทธิจะได้รับเงินจากตั วแทนหัก
บัญชีได้นั้นก็คือต้องบุคคลท่ีมีหลักฐานการรับเงินหรือโพยเท่านั้น
ปัจจุบันพบว่าผู้ประกอบการธุรกิจหลายแห่งนิยมใช้ระบบโพยก๊วนมากขึ้น เพราะ
รวดเร็ว สะดวก และไม่ต้องมีคนกลางเดินโพยอย่างในอดีตเนื่องจากมีการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
และโทรศัพท์มือถือเข้ามาท าหน้าท่ีแทน นอกจากนี้เหตุผลส าคัญท่ีมีการใช้โพยก๊วนในกระบวนการซื้อ
ขายแลกเปล่ียนเงินตราระหว่างประเทศหรือลักลอบน าเงินตราเข้าหรืออกนอกประเทศ เนื่องจากการ
ตรวจสอบตามพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปล่ียนเงิน พ.ศ. ๒๔๘๕ มีมาตรการท่ีเข้มงวดเกินไป
ท าให้ขาดสภาพคล่อง ท าให้ต้องอาศัยการท าธุรกรรมทางการเงินนอกระบบในการซื้อขายเงินตรา
ต่างประเทศ หรือการขนเงินสดข้ามแดน อีกท้ังในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายใช้บังคับกับการ
ตรวจสอบควบคุมระบบโพยก๊วนซึ่งเป็นการเงินนอกระบบนี้เป็นการเฉพาะ ปัจจุบันโลกวิวัฒนาการมา
สู่การใช้สกุลเงินดิจิทัล (หรือเหรียญคริปโทเคอร์เรนซี) กลุ่มโพยก๊วนจึงหันมาท าธุรกิจบนแพลตฟอร์ม
ดิจิทัลกันมากขึ้น โดยใช้วิธีการเปล่ียนเงินบาทเป็นเงินสกุลดิจิทัลแทนซึ่งสะดวกและยากต่อการ
ติดตามร่องรอยทางการเงิน เมื่อการติดตามร่องรอยทางการเงินยากต่อการติดตาม ท าให้สามารถ
โยกย้ายเงินไปยังประเทศใด ๆ ก็ได้ได้อย่างง่ายดาย และไม่จ ากัดวงเงินเหมือนบัญชีธนาคาร ส่งผลให้
มีแนวโน้มท่ีอาชญากรหลายกลุ่มจะใช้ระบบดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการก่อ
อาชญากรรม โดยระบบโพยก๊วนกลุ่มท่ีรับหน้าท่ีโอนเงินกลับแบบไม่เป็นทางการนี้อาจเกี่ยวข้องกับ
การกระท าความผิดกฎหมายในลักษณะอื่น ๆ ด้วย เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ หรือการฉ้อโกง
ประชาชนในลักษณะต่าง ๆ อันเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการ
ข
ฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ กรณีดังกล่าว ถือเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มโพยก๊วนท่ีท าหน้าท่ีในการฟอก
เงินเป็นอย่างยิ่ง
ประเด็นปัญหาท่ีน่าสนใจเกี่ยวกับช่องโหว่ของระบบโพยก๊วนแบบนี้ คือ ระบบการ
ตรวจสอบการเคล่ือนย้ายเงินเข้าออกนอกประเทศ ณ บริเวณเส้นแบ่งเขตประเทศท่ีมีความบกพร่อง
และมาตรการของกฎหมายท่ีมีอยู่ในแต่ละประเทศไม่ครอบคลุมหรือไม่สามารถเข้าไปควบคุมดูแล
ธุรกรรมทางการเงินนอกระบบได้อย่างเต็มท่ี ผู้เขียนจึงเห็นว่าเพื่อป้องกันไม่ให้องค์กรอาชญากรรมน า
ระบบโพยก๊วนมาใช้เป็นเครื่องมือในการฟอกเงินผ่านทรัพย์สินดิจิทัลจึงเสนอแนวคิดเกี่ยวกับมาตรการ
ในการควบคุมการฟอกเงินผ่านระบบธนาคารใต้ดินจากการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล อันประกอบไป
ด้วยมาตรการการควบคุมผ่านสถาบันการเงิน (การจัดให้ลูกค้าแสดงตน , การตรวจสอบเพื่อทราบ
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า, การรายงานธุรกรรม) และมาตรการควบคุมผ่านศูนย์ปฏิบัติการต่อต้าน
ระบบธนาคารใต้ดิน อีกท้ังยังมีแนวคิดในการพัฒนากฎหมายส าหรับระบบธนาคารใต้ดินหรือกลุ่ม
โพยก๊วนโดยมุ่งเน้นไปท่ีการการก ากับและตรวจสอบตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม
การฟอกเงิน ซึ่งเป็นการควบคุมสถาบันการเงินให้ท าการรายงานการท าธุรกรรมทางการเงิน
ในลักษณะต่าง ๆ ตลอดจนมาตรการในการเก็บรักษาพยานหลักฐานเกี่ยวกับการท าธุรกรรมนั้น ๆ
มาตรการเหล่านี้ท าให้สามารถตรวจสอบการด าเนินงานของสถาบันการเงินว่ามีการท าธุรกรรมท่ีน่า
สงสัยว่าจะเป็นการใช้โพยก๊วนอย่างผิดกฎหมายหรือไม่ ซึ่ งมาตรการเหล่านี้จะช่วยเพิ่ ม
ขีดความสามารถของการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมท่ีมาจากกลุ่มโพยก๊วนหรือระบบ
ธนาคารใต้ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
abstract:
ค
Abstract
Title Measures to control money laundering through the underground
banking system (Poi Kwan) in the border areas of Thailand, only
in the Thailand-Myanmar border area.
Field Politics
Name Mr. Kamonsit Wongbutnoi Course NDC Class 66
The demand for labor in various processes of the economic system has
resulted in a shortage of lower-level workers in many professions, prompting the
migration of foreign labor to replace the insufficient Thai workforce (Labour
Shortage). Foreign workers who come to work in Thailand mainly consist of
individuals from 3 major nationalities: Myanmar, Laos, and Cambodia. Working in
Thailand enables foreign workers to earn more than they would in their own
countries, improving their living conditions and allowing them to send money back
home to support their families. Currently, especially among Myanmar workers, much
of the money sent back is transferred through informal channels known as “Broker”
“Underground Banking” or “En-Jia” (Myanmar Language) which are refer to financial
transactions involving cross-border transfers where an intermediary deducts from an
account. They act as intermediaries similar to banks for receiving or delivering money
to individuals specified by the user of the service, whether it's the user themselves or
other designated individuals. Those eligible to receive money from these
intermediaries must be individuals with proof of receiving or requesting the funds.
Currently, it is found that many business operators prefer to use
underground banking systems more frequently. This is because they are fast,
convenient, and no need for intermediaries as in the past, because internet networks
and mobile phones taking over these roles. Another significant reason for using
informal money transfer systems in international currency exchange transactions or
smuggling currency across borders is due to the strict measures imposed by the
Exchange Control Act B.E. 2485, which make official checks excessively stringent and
create inflexibility. Consequently, reliance on informal financial transactions is
necessary for trading foreign currencies or transporting cash across borders. Moreover,
nowadays, Thailand does not have laws regulates the supervision of underground
banking systems, which are specific to this unofficial financial practice. At present, the
world is advancing towards the use of digital currencies (or cryptocurrencies).
Consequently, money launderers are increasingly conducting business on digital
ง
platforms, using methods to convert Thai Baht into digital currencies instead. This
method is convenient and difficult to trace.
The obstacle in financial tracing allows for easy movement of funds to
any country, unrestricted by monetary limits as with bank accounts. This trend has
led various criminal groups to utilize these systems as tools to support criminal
activities. Underground banking systems facilitate fund transfers may also be involved
in other illegal activities, such as drugs and narcotics, human trafficking, or various
forms of fraud etc. all of which constitute predicate offenses under the Anti-Money
Laundering Act B.E. 2542. In these cases, such systems greatly benefit money
launderers by aiding in the laundering process.
An interesting issue concerning the gap of such underground banking
systems is the lack of effective monitoring of cross-border money movements at
border areas with deficiencies. Additionally, existing legal measures in each country
may not comprehensively cover or effectively regulate informal financial
transactions. Therefore, the author suggests that to prevent criminal organizations
from using informal money transfer systems as tools for money laundering through
digital assets, ideas regarding measures to control money laundering through
underground banking systems involving digital asset trading are proposed. These
measures include controls through financial institutions (customer identification,
transaction monitoring, reporting) and controls through anti-underground banking
operation centers. Furthermore, there are also ideas for developing laws for
underground banking systems networks, focusing on regulation and enforcement
under laws related to anti-money laundering. This includes controls requiring
financial institutions to report various financial transactions, as well as measures to
preserve evidence related to such transactions. These measures enable monitoring
of financial institution operations to detect suspicious transactions that may involve
illegal informal money transfer activities. These measures enhance the effectiveness
of preventing and combating crimes associated with informal money transfer
networks or underground banking systems.