Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาธุรกิจหาบเร่แผงลอยอย่างยั่งยืนในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ภายหลังวิกฤติโควิด-19, (วปอ.10033)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายเอกพงษ์ หริ่มเจริญ, (วปอ.10033)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

บทคัดยอ เรื่อง แนวทางการพัฒนาธุรกิจหาบเร่แผงลอยอย่างยั่งยืนในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ภายหลังวิกฤติโควิด-19 ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผูวิจัย นาย เอกพงษ์ หริ่มเจริญ หลักสูตร วปอ. รุนที่ 65 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์1. เพื่อศึกษานโยบายการบริหารจัดการหาบเร่แผงลอยใน เขตกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการ พัฒนาธุรกิจหาบเร่แผงลอยอย่างยั่งยืนในเขตกรุงเทพมหานคร และ 3. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาธุรกิจ หาบเร่แผงลอยอย่างยั่งยืนในเขตกรุงเทพมหานคร รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ภายหลังวิกฤติโควิด 19 ผ่านกระบวนการที่ช่วยกำหนดกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (TOWS Matrix)เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างในการรวบรวมข้อมูลจาก 1. ผู้ประกอบการธุรกิจหาบเร่แผงลอย 2. ประชาชน และ 3. หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหาบเร่แผงลอยในเขต กรุงเทพมหานคร โดยเลือกสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบแนวคิดในการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1. นโยบายการบริหารจัดการหาบเร่แผงลอยในเขตกรุงเทพมหานคร นั้นขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้ว่าราชการในแต่ละช่วงเวลาเป็นสำคัญ โดยในช่วงแรก กรุงเทพฯ พยายาม ใช้นโยบายห้ามโดยสิ้นเชิง และใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างโทษปรับ ต่อมาจึงเปลี่ยนมาใช้นโยบาย ควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด และพยายาม ‘อยู่ร่วมกัน’ ให้ได้มากขึ้น โดยมีการกำหนดจุดผ่อนผัน ตามแต่ละพื้นที่ 2. ผู้ประกอบการหาบเร่มีจุดแข็งสำคัญคือ ความสามารถในการเลือกทำเล และทักษะ ในการประกอบธุรกิจ แต่มีจุดอ่อนคือ ขาดการวางแผนและทักษะด้านการเงินที่ดี มีโอกาสจากการ ส่งเสริมของภาครัฐ และการปลดล๊อกมาตรการต่าง ๆ แต่ยังมีอุปสรรคสำคัญจากความไม่แน่นอนของ กฎระเบียบและการย้ายถิ่นฐานของลูกค้าในหลายพื้นที่ 3. กลยุทธ์ที่เหมาะสมกับการพัฒนาธุรกิจแบ่ง ออกเป็นกลยุทธ์ 4 ประการ คือ กลยุทธ์เชิงรุก เชิงแก้ไข เชิงป้องกัน และเชิงรับ ผลการศึกษาข้างต้นนำไปสู่ข้อเสนอแนะที่เรียกว่า หาบเร่ (HARB RAE) โดย ผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรให้ความสำคัญกับปัจจัยดังต่อไปนี้ มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขภาพ (Healthy) การพัฒนา แอปพลิเคชัน (Application) ระเบียบข้อบังคับ (Regularity) การส่งเสริมแนวคิดทางธุรกิจ (Business Mindset) ความสอดคล้องกับบริบททางสังคมและพื้นที่ (Relevant) ความต่อเนื่อง จริงจัง (Active) และระบบนิเวศทางธุรกิจ (Ecosystem Business Model)ข

abstract:

Title Guidelines for sustainable Street vending business development in Bangkok to support economic growth After the COVID-19 crisis Field Economics Name Mr. Ekapong Rimcharone Course NDC Class 65 This research aims to 1. study the street vending management policy in Bangkok 2. To analyze the Strengths, Weaknesses, Opportunities, Threats and factors related to the sustainable development of street vending in Bangkok and 3. To propose sustainable street vending business development guidelines in Bangkok support economic growth After the COVID-19 crisis through a process that helps determine strategies effectively (TOWS Matrix). This research employed a qualitative research. A semi-structured interview was used to collect data from: 1. Street vender 2. Local People and 3. Municipal officials, who involved in the supervision of street vending operators in Bangkok by purposive sampling method. Data were analyzed according to the conceptual framework of the study. The results showed 1. The policy for street vending management in Bangkok depends mainly on the policy of the governor in each period. In the beginning, Bangkok Metropolitan Administration (BMA) tried to use a policy of total ban. and use legal measures such as fines Subsequently, they was changed to use a control policy to be within the specified criteria and tried to 'coexist together'. The waiver point is determined according to each area. 2. Street vendor has a Strong ability to choose a location and skills in business but there is a weakness about lack of planning and good financial skills Opportunities is became from government policy and the liberation of various measures, but there are still major obstacles from regulatory instability and the migration of customers in many areas. 3. Strategies suitable for street vending business development are divided into 4 strategies The results of this study led to a recommendationguidelines called HARB RAE, where relevant parties should pay attention to the following factors: Health Safety Standards (Healthy) Application Development (Application), Regulations of BMA (Regularity), Develop Business mindset (Business Mindset), Adaptation to Social and Local Context (Relevant), Continuity Action (Active), and Business Ecosystem (Ecosystem Business Model).ค คํานํา กรุงเทพมหานครเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลกจากการเป็น ศูนย์กลางการปกครอง แหล่งช้อปปิ้ง และสตรีทฟู๊ดที่มีมากมายนับตั้งแต่ หาบเร่แผงลอย ร้านค้า ไป จนถึงฟู๊ดทรัค ประกอบการนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่ สนับสนุนโครงการกรุงเทพอาหารริมทางอร่อยปลอดภัย (Bangkok Safety Street Food) ที่ช่วย สนับสนุนให้ธุรกิจหาบแร่แผงลอยได้รับการยอมรับอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ธุรกิจหาบแร่แผงลอยก็ สามารถตั้งร้านได้อย่างอิสระ หากแต่ต้องอยู่ในกฎระเบียบหรือขอบเขตที่ทางกรุงเทพมหานครกำหนด ไว้ เนื่องจากบ่อยครั้งที่ธุรกิจหาบเร่แผงลอยได้รับการต่อต้านจากประชาชนในประเด็นต่าง ๆ เช่น ปัญหาความไม่เป็นระเบียบ ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย ความลำบากในการสัญจร หรือปัญหาด้าน ผลประโยชน์ในพื้นที่ ผู้วิจัยจึงเกิดความสนใจที่จะศึกษาแนวทางการพัฒนาธุรกิจหาบเร่แผงลอยอย่างยั่งยืนใน เขตกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ภายหลังวิกฤติโควิด-19 ทั้งในด้าน นโยบายการบริหารจัดการหาบเร่แผงลอยในเขตกรุงเทพมหานคร จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค ตลอดจนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาธุรกิจหาบเร่แผงลอย เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาต่อยอด เป็นแนวทางการพัฒนาธุรกิจหาบเร่แผงลอยอย่างยั่งยืนในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจ ภายหลังวิกฤติโควิด-19 ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนต่อไป (นาย เอกพงษ์ หริ่มเจริญ) นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65 ผู้วิจัยง สารบัญ หนา บทคัดยอ ก Abstract ข