เรื่อง: มุมมองเกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ของฐานข้อมูลดีเอ็นเอของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ, (วปอ.10031)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการเมือง/Politics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตำรวจโท อิทธิพล อัจฉริยะประดิษฐ์, (วปอ.10031)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง แนวทางการจัดเก็บ DNA จากบุคคลเพื่อสร้างฐานข้อมูล DNA
(DNA Database) ของประเทศไทย
ลักษณะวิชา การเมือง
ผู้วิจัย พลตำรวจโท อิทธิพล อัจฉริยะประดิษฐ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕
การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับปัญหาในการจัดเก็บ
DNA จากร่างกายบุคคลของประเทศไทยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งศึกษาเปรียบเทียบกฎหมาย
และแนวทางปฏิบัติของต่างประเทศ เพื่อนำเสนอในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องใน
ประเทศไทยให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
จากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันการจัดเก็บ DNA จากร่างกายบุคคลเพื่อสร้างฐานข้อมูล
DNA ยังไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ มีเพียงที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131/1
บัญญัติไว้เพื่อวัตถุประสงค์การตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และต้องใช้หลักความ
ยินยอม แต่รัฐได้มีนโยบายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงยุติธรรมสร้างฐานข้อมูล DNA
เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนสอบสวนและการปราบปรามอาชญากรรม โดยมีการเก็บ DNA บุคคล
กลุ่มเสี่ยงที่จะกระทำความผิดซ้ำ ซึ่งได้แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ ผู้ถูกจับกุมในชั้นพนักงานสอบสวน และ
ผู้ต้องขังที่กำลังจะพ้นโทษและพักโทษ โดยการเก็บ DNA ทั้งสองกลุ่มทำภายใต้ประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความอาญามาตรา ๑๓๑/๑ ซึ่งเป็นกฎหมายในชั้นพนักงานสอบสวนไม่ได้ครอบคลุมไปยัง
ผู้ต้องขังด้วย จึงเห็นว่าแนวทางที่เหมาะสมในการเก็บ DNA จากบุคคลเพื่อสร้างฐานข้อมูล DNA ของ
ประเทศไทย ควรเก็บ DNA จากร่างกายบุคคลได้ทั้งผู้ถูกจับกุมในชั้นพนักงานสอบสวนและผู้ได้รับการ
ปล่อยตัวชั่วคราว บุคคลผู้พ้นโทษรวมถึงผู้อยู่ในระหว่างคุมประพฤติ ในฐานความผิดเดียวกันที่
ผู้ถูกจับกุมต้องถูกเก็บประวัติและพิมพ์ลายนิ้วมือไว้ในฐานข้อมูลทะเบียนประวัติ อีกทั้งระยะเวลา
การเก็บ DNA ไว้ในฐานข้อมูล DNA ก็ให้ทำเช่นเดียวกับที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติใช้คัดแยกลายพิมพ์
นิ้วมือในทะเบียนประวัติอาชญากร โดยกฎหมายในเรื่องการเก็บ DNA จะต้องสร้างความตระหนัก
ให้รัฐบาลเล็งเห็นในเรื่องการรักษาประโยชน์ในความมั่นคงของประเทศในการแก้ไขปัญหา
อาชญากรรมเป็นสำคัญ แต่ต้องไม่กระทำกับร่างกายผู้ถูกเก็บเกินสมควร โดยใช้วิธีการเช็ดจากเนื้อเยื่อ
กระพุ้งแก้ม (Buccal Swab) ของบุคคลเท่านั้น และหน่วยงานที่รับผิดชอบในการควบคุมดูแลระบบ
ฐานข้อมูล DNA ประเทศไทย ควรเป็นสำนักตำรวจแห่งชาติ
นอกจากนี้กฎหมายดังกล่าวต้องสามารถให้อำนาจเก็บ DNA บุคคลที่มิได้กระทำความผิด
โดยตรงแต่เกี่ยวข้องกับผู้กระทำผิดกรณีไม่สามารถตามตัวผู้กระทำผิดได้อีกทั้งกฎหมายต้องมี
สภาพบังคับ โดยบุคคลใดที่ต้องถูกเก็บ DNA จะไม่สามารถปฏิเสธการเก็บ DNA จากเจ้าหน้าที่รัฐผู้มี
อำนาจตามกฎหมายได้ถ้าปฏิเสธจะต้องมีบทลงโทษ ข
abstract:
Title Guidelines for Collecting DNA from individuals to create the DNA
Database in Thailand
Field Politics
Name Police Lieutenant General Ittipol Atchariyapradit Course NDC
Class 65
The purpose of this research is to investigate the difficulties in collecting
DNA from human bodies in Thailand as well as the applicable laws and regulations.
This research is a comparative study of international laws and guidelines with the
purpose of recommending the most appropriate method for revisingThailand's relevant
laws in order to increase their effectiveness and coverage.
The result found that there are no laws or regulations that permit the
collection of DNA from human bodies in establishing a DNA database. There is section
131/1 of the Criminal Procedure Code permits the collection of DNA from human
bodies for the examination of forensic evidence only with the individual's consent.
Nonetheless, the Thai government supported that the Royal Thai Police and the
Ministry of Justice establish a DNA database to benefit in criminal investigation and
suppression, beginning with a group of offenders with a high recidivism risk. This group
of criminals is divided into two subgroups: those who are currently under arrest as a
result of a police investigation, and those who are scheduled for release or parolees.
However, the DNA collection on these two groups has been conducting in accordance
with the Criminal Procedure Code, Section 131/1, which regulates only police
investigations and does not cover the use of DNA collection on prisoners. Therefore,
the legitimacy of collecting DNA from human bodies to construct a DNA database in
Thailand should have been conducted for all offenders who are under arrest in a police
investigation, who are released on bail, who are parolees, and who are released on
license in the specific accusation that a criminal’s fingerprints must be collected into
the criminal records. Furthermore, the duration of storing an individual’s DNA in the
DNA database must have been corresponded with the procedure that Royal Thai Police
conducts for classifying criminal’s fingerprints in the criminal records. In addition, the
law regarding DNA collection should contribute to raising the Thai government's ค
awareness of the importance of protecting the state's security when solving crimes.
Besides, the procedure to collecting the DNA from human bodies should have been
conducted with respect by buccal swabbing. Additionally, the Royal Thai Police should
be the government organization who operate and manage the DNA database in
Thailand.
In addition, the law regarding DNA collection must have been conducted with
a general individual, but only if this individual is related to the specific fleeing criminal.
Moreover, the law should have mandated that no one could deny the DNA collection
by government officers who have conducted it in accordance with the legislation; if
anyone had done so, they would have been penalized.ง