Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และบรรเทาสาธารณภัยจากทางทะเล รองรับกลไกการจัดการภัยพิบัติของอาเซียน ของกองทัพเรือ, (วปอ.10030)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลเรือตรี อาภา ชพานนท์, (วปอ.10030)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง แนวทางการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัย (HADR) จากทางทะเลรองรับกลไกการจัดการภัยพิบัติของอาเซียน ของกองทัพเรือ ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พลเรือตรี อาภา ชพานนท์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕ ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ส่งผลให้แนวโน้มของภัยพิบัติมี ความถี่และความรุนแรงเพิ่มขึ้น สร้างความเสียหายต่อชีวิตและเศรษฐกิจอย่างรุนแรง นับเป็นภัยคุกคาม รูปแบบใหม่ (Non-Traditional Threat) องค์กรระหว่างประเทศและรัฐบาลประเทศต่างๆ ต้องเตรียมพร้อม รับมือและให้ความส าคัญกับการป้องกันและการจัดการภัยพิบัติซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนมีกลไกการจัดการ ภัยพิบัติของอาเซียนเป็นแนวทางในการด าเนินการ การวิจัยนี้ด าเนินการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี กฎหมาย เอกสารทางราชการกรอบความร่วมมือ คู่มือ แนวทางปฏิบัติบทความต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัย (HADR) จากทางทะเล ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อวิเคราะห์ ขีดความสามารถในการให้ความช่วยเหลือฯ รองรับกลไกการจัดการภัยพิบัติอาเซียนของกองทัพเรือโดยมีขอบเขตการวิจัยด้านเนื้อหา พื้นที่ และประชาการ ที่เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัย(HADR) จากทางทะเล ทั้งในประเทศ และประเทศในอาเซียน โดยการใช้ขีดความสามารถและทรัพยากรทางทหารในการตอบโต้ภัยพิบัติและมุ่งเน้นต่อ ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นบริเวณเกาะชายฝั่งทะเล และพื้นที่ถูกตัดขาด (Isolate Area) ซึ่งการให้ความช่วยเหลือทางบกไม่ สามารถด าเนินการได้จ าเป็นต้องให้ความช่วยเหลือจากทางทะเล (From The Sea) ทั้งในพื้นที่ประเทศไทยและ ประเทศในอาเซียนซึ่งมีประชากรประมาณ ๖๘๕ ล้านคน โดยการรวบรวมและศึกษาเอกสารการศึกษาจาก ประสบการณ์ของผู้ทรงคุณวุฒิน ามาตรวจสอบความถูกต้อง ความครบถ้วนสมบูรณ์เพื่อเข้าสู่กระบวนการ วิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดของการวิจัยที่ก าหนดไว้ เพื่อน าไปสู่ผลการวิจัย ข้อยุติ ข้อสนับสนุนต่างๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่สามารถน าไปเป็นแนวทางปฏิบัติที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการประยุกต์ใช้ ต่อไป ผลการวิจัยพบว่ากองทัพเรือมีทรัพยากรพร้อมในการปฏิบัติมีระเบียบและนโยบายสอดคล้อง กับกลไกจัดการภัยพิบัติของอาเซียน โดยมีแนวความคิดในการบูรณาการขีดความสามารถของหน่วยต่างๆ ในกองทัพเรือ จัดก าลังเป็นหมวดเรือเฉพาะกิจที่มีขีดความสามารถในการช่วยเหลือด้านมนุษย์ธรรมและบรรเทา สาธารณภัย(HADR) จากทางทะเล(From The Sea) เมื่อมีการร้องขอจากประเทศที่ประสบภัยพิบัติ และรัฐบาล หรือหน่วยเหนือตัดสินใจให้ความช่วยเหลือและมีการสั่งการและด้วยคุณลักษณะของก าลังทางเรือที่มีความ คล่องตัว (Mobility) อเนกประสงค์ (Versatility) ปฏิบัติการระยะไกลและยาวนาน (Sustained Reach)จึงสามารถ ให้ความช่วยเหลือได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส าหรับข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริม พัฒนาขีดความสามารถด้านองค์บุคคล องค์วัตถุ และองค์ยุทธวิธีเพื่อน าไปสู่การเตรียมความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัย (HADR) จากทางทะเล รองรับกลไกจัดการภัยพิบัติของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นนั้น เป็นไปตามที่ระบุใน เอกสารวิจัยนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ของกองทัพเรือคือ “เป็นหน่วยงานความมั่นคงทางทะเลที่มีบทบาทน า ในภูมิภาคและเป็นเลิศในการบริหารจัดการ” และตอบสนองนโยบายผู้บัญชาการทหารเรือที่ต้องการให้กองทัพเรือ เป็น “กองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่น ศรัทธา และภาคภูมิใจ”ข

abstract:

Title Maritime Humanitarian Assistance and Disaster Relief (HADR) Guidelines Support ASEAN Disaster Management Mechanisms of the Royal Thai Navy Field Military Name Rear Admiral Arpa Chapanont Course NDC Class 65 Currently, climate change has resulted in an increasing trend of more frequent and severe disasters, causing significant damage to both human life and the economy. This constitutes a new form of threat as (Non - Traditional Threat). International organizations and governments of various countries must be prepared and prioritize disaster prevention and management. ASEAN member countries have ASEAN disaster management mechanisms as a guideline for their operations. This research aims to study and analyze the capacity for providing Humanitarian Assistance and Disaster Relief (HADR) from the sea, both domestically and internationally, specifically focusing on island, coastal, and isolated areas. The research includes concepts, theories, laws, official documents,cooperation frameworks, guidelines, and articles related to HADR. It aims to support the ASEAN Disaster Management Mechanism and the Royal Thai Navy's role as a leading maritime security agency. The research methodology involves document study, gathering experiences, and ensuring accuracy and completeness. The goal is to provide practical guidelines and recommendations for future HADR efforts. The research findings indicate that the Royal Thai Navy possesses the necessary resources for effective operations. There are regulations and policies aligned with the ASEAN Agreement on Disaster Managementand Emergency Response. With the concept of integrating capabilities from various naval units, they have organized a Maritime Task Unit with HADR capabilities from the Sea. The unit can provide assistance upon requests from disaster-affected countries, as decided by the government or higher commanders. Due to the ships' characteristics of mobility, versatility, long￾range capabilities, and sustained reach, they can offer assistance both domestically and internationally. Recommendations are Provided to promote and develop personal, material, and doctrinal capabilities for preparedness in providing humanitarian assistance and disaster relief (HADR) from the sea, and to enhance the effectiveness of ASEAN's disaster management mechanisms, it is in line with the objectives stated in this research document. This will align with the Navy's vision of being a leading maritime security agency in the region and excelling in managing operations. It will also fulfill the policy of the Navy Commander, who aims for the Navy to be "The Trusted Navy" for the people.ค