เรื่อง: แนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์และช่องทางการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ของกองทัพบกที่ส่งต่อความเชื่อมั่นของประชาชน, (วปอ.10029)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทหาร/Military
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี อานุภาพ ศิริมณฑล, (วปอ.10029)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง แนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์และช่องทางการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ของกองทัพบกที่ส่งผล
ต่อความเชื่อมั่นของประชาชน
ลักษณะวิชา การทหาร
ผู้วิจัย พลตรี อานุภาพ ศิริมณฑล หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของประชาชนในการใช้
ช่องทางการสื่อสารของกองทัพบก เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ปัจจุบันของกองทัพบก และเพื่อศึกษาแนวทางการ
พัฒนาภาพลักษณ์และช่องทางการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ของกองทัพบกที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชน
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Method) ขอบเขตด้านเนื้อหาคือ ศึกษาช่องทาง
การสื่อสารประชาสัมพันธ์ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ วิธีดำเนินการวิจัยใช้การสังเคราะห์เอกสารและ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากนั้นสำรวจความคิดเห็นของประชาชน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ดำเนินการ
สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Simple Random Sampling) ได้ตัวอย่างจำนวนรวมทั้งสิ้น
๑,๖๗๔ ตัวอย่าง สำหรับการศึกษาเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๕ คน
สรุปผลการวิจัยดังนี้
เพศหญิงมีความถี่ในการใช้ช่องทางการสื่อสารมากกว่าเพศชาย เมื่อพิจารณาด้านอายุ พบว่า
กลุ่มที่มีอายุ ๔๑ – ๕๐ ปีขึ้นไป จะมีการติดตามข่าวสารของกองทัพบกมากที่สุด โดยภาพรวมช่องทางที่ใช้ใน
การติดตามข่าวสารมากที่สุดคือ โทรทัศน์/ โทรทัศน์ออนไลน์ รองลงมาคือเฟซบุ๊ก ยูทูป และไลน์ ในขณะที่
กลุ่มที่มีอายุน้อยกว่าจะติดตามผ่านยูทูปและทวิตเตอร์มากกว่า ความคิดเห็นด้านภาพลักษณ์ พบว่าประชาชน
ส่วนใหญ่คิดถึงภาพลักษณ์ด้านบทบาทหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศมากที่สุด สำหรับ
แนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์และช่องทางการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ของกองทัพบกที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น
ของประชาชน คือการเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ของกองทัพบกผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ ต้องดำเนินการทุกมิติ
โดยคำนึงถึงพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะทางประชากรที่แตกต่างกัน โดยสื่อออนไลน์ ควรกำหนด
กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดผ่านสื่อดิจิทัล โปรโมทสื่อออนไลน์เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ติดตามและเพิ่ม
จำนวนการเข้าถึงสื่อ สำหรับการดำเนินการสื่อออฟไลน์ ต้องพัฒนารูปแบบ เพื่อให้สื่อบุคคลของกองทัพบกใน
ทุกระดับตั้งแต่ผู้บังคับหน่วย กำลังพลกองทัพบกและครอบครัว สามารถเป็นนักประชาสัมพันธ์ของกองทัพบก
ได้ ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้คือ กองทัพบกต้องให้ความสำคัญอย่างจริงจังเรื่องการประชาสัมพันธ์
ภาพลักษณ์เพื่อส่งเสริมความเชื่อมั่นให้กับประชาชน โดยเฉพาะในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนรัฐบาล
กองทัพบกควรใช้โอกาสนี้ในการสร้างภาพลักษณ์ สร้างการรับรู้ผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่า
ทหารไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง บูรณาการทุกภาคส่วนของกองทัพให้มีแนวทางการปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน
โดยพิจารณาใช้สื่อที่มีอยู่ทุกช่องทาง เลือกให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด เพื่อประโยชน์ในการสร้าง
การรับรู้ เกิดภาพลักษณ์ที่ดี ประชาชนมีความเชื่อมั่น และความศรัทธาพร้อมที่จะสนับสนุนการดำเนินงาน
ของกองทัพบกต่อไป
ก11
abstract:
Title Guidelines for improving the image and perception of The Royal Thai Army
in public relations and media, which influence public confidence
Field Military
Name Major General Arnuparp Sirimonthon Course NDC Class ๖๕
The purpose of this research is to study the demographics of people who use the Royal
Thai Army's communication channels. The objectives are to investigate the image of the Royal Thai
Army and to develop the image and perception of the Royal Thai Army's public relations and media
that affects public confidence. This study is a mixed research study (Mix Method). The scope of
content is study public relations communication channels both online and offline. The research
method employs the synthesis of relevant documents and research. Then, using a questionnaire as
a tool, poll the general public. A total of ๑,๖๗๔ samples were collected. For the qualitative study,
in-depth interviews with ๕ key informants were conducted. The research findings are summarized as
follows :
When considering age, females use communication channels more frequently than
males. It was discovered that the group aged ๔๑-๕๐ years old was the most interested in Royal Thai
Army news. Overall, television/online television is the most popular news channel, followed by
Facebook, YouTube, and Line, with YouTube and Twitter being more popular with younger
audiences. When it comes to comments about the Royal Thai Army's image, it was discovered that
the roles and responsibilities in maintaining order in thecountry are perceived as the most important
at the top of their minds. Guidelines for developing the image and awareness of the Army's in public
relations and media, which affects public confidence, are to communicate through various media
channels that cover all dimensions. For offline communications, Army personnel at all levels,
including commanders and their families, must be able to serve as public relations representatives
for the Army. According to the study's findings, the Army should place a greater emphasis on
publicizing its image in order to increase public trust. Especially now that the government has
changed, the army should take advantage of this opportunity to project a positive image and raise
awareness through various media channels. The military can send a clear message that it will not be
involved in politics. Most importantly, all communications within the army must be geared in the
same direction. The use of media across all channels must be tailored to the target audience in order
to raise awareness, promote a positive image, and instill trust in the public, as well as foster faith and
support for the Royal Thai Army's operations.
ข