เรื่อง: แนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมของประเทศไทยต่อการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติของโรฮิงยา, (วปอ.10022)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติยุทธศาสตร์/Strategy
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตำรวจตรี อรุษ แสงจันทร์, (วปอ.10022)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง แนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมของประเทศไทยต่อการโยกย้ายถิ่นฐาน
แบบไม่ปกติของโรฮีนจา
ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์
ผู้วิจัย พลตำรวจตรีอรุษ แสงจันทร์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕
โรฮีนจาเป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในรัฐยะไข่ ประเทศเมียนมา โดยรัฐบาลเมียนมา
ปฏิเสธที่จะยอมรับโรฮีนจาเป็นพลเมืองของเมียนมา จึงทำให้โรฮีนจาถูกคุกคามและเลือกปฏิบัติ
รวมถึงไม่ได้รับสิทธิต่าง ๆ อย่างที่ควรจะได้รับ และจากความยากลำบากในการดำรงชีวิต จึงเป็น
สาเหตุที่โรฮีนจาตัดสินใจโยกย้ายถิ่นฐานไปยังประเทศที่สามเพื่อความอยู่รอด สำหรับประเทศไทย
ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๔๒ จนกระทั่งปัจจุบัน ต้องเผชิญกับปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐานของโรฮีนจามาอย่าง
ต่อเนื่อง
ผลการวิจัยพบว่า ๑.การศึกษาสภาพและบริบทของการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ
ของโรฮีนจาในประเทศไทยมีสาเหตุมาจากโรฮีนจาไม่ได้รับสิทธิพลเมืองขั้นพื้นฐานและเป็นบุคคล
ไร้สัญชาติจึงมีการโยกย้ายถิ่นฐานเพื่อแสวงหาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีกว่าเดิม และการไม่
ยอมรับทางศาสนาที่แตกต่างกันระหว่างชาวพุทธและชาวมุสลิมโรฮีนจาส่งผลให้เกิดกระแสเกลียดกลัว
อิสลาม แล้วพัฒนาจนเกิดเป็นความรุนแรง รวมถึงโรฮีนจามีสถานะเป็นผู้พลัดถิ่นอาศัยตามสถานที่พัก
พิงชั่วคราวต่าง ๆ จึงมีการลักลอบออกจากศูนย์อพยพ เพื่อไปยังประเทศอื่น ๆ ๒.ปัญหาการโยกย้าย
ถิ่นฐานแบบไม่ปกติของโรฮีนจา มีประเด็นดังนี้มีขบวนการนำพาโรฮีนจาเข้ามาในประเทศไทย
รัฐบาลไทยไม่สามารถส่งตัวโรฮีนจาไปประเทศที่สามได้เนื่องจากกระบวนการผลักดันโรฮีนจาเกิด
ความล่าช้า สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ(UNHCR) ไม่สามารถแก้ไขปัญหา
การลักลอบออกจากค่ายอพยพในประเทศต่าง ๆ ได้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาโรฮีนจา
มีจำนวนมากจึงทำให้เกิดความซับซ้อนในการทำงานของแต่ละหน่วยงาน ประเทศไทยยังไม่มีการ
กำหนดนโยบายการดำเนินการต่อผู้ลักลอบเข้าเมืองโรฮีนจาเป็นการเฉพาะ และปัญหาด้านการจัดการ
ของประเทศไทย สำหรับผลกระทบของการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติของโรฮีนจาที่ส่งผลต่อไทย
ประกอบด้วย ผลกระทบด้านสาธารณสุข ผลกระทบด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผลกระทบ
ด้านการป้องกันประเทศ ผลกระทบด้านสังคมจิตวิทยา ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ผลกระทบด้าน
ความมั่นคง และผลกระทบด้านการทหาร ๓.การกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมของประเทศไทย
มีดังนี้การลดผลกระทบภายในประเทศไทย การดำเนินนโยบายต่างประเทศ การให้ความช่วยเหลือ
ตามหลักมนุษยธรรมของประเทศไทย การเสริมสร้างขีดความสามารถ การตระหนักรู้และความเข้าใจ
กับบุคลากรรัฐ รัฐบาลไทยควรให้ความสำคัญกับความมั่นคงแห่งชาติทางทะเลให้เป็นวาระแห่งชาติ
การกำหนดมาตรการในการจัดการต่อผู้อพยพ และการพัฒนาระบบงานการข่าวกรองของประเทศ
ไทยและระหว่างประเทศข
ข้อเสนอแนะ ดังนี้๑. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ได้แก่ กระบวนการแก้ไขปัญหาโรฮีนจา
ควรใช้หลักการในความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมาย
ภายในประเทศ และควรมีการพิจารณาทบทวนบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อไม่ให้เกิดความ
ทับซ้อนในอำนาจ หน้าที่ และการปฎิบัติงาน ๒. ข้อเสนอแนะระดับปฏิบัติการ ควรมีการร่างระเบียบ
ปฏิบัติประจำให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เพื่อความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาให้เห็นผล
เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ๓. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป ควรศึกษารูปแบบเครือข่ายของ
ขบวนการนำโรฮีนจาเข้าไทยอย่างผิดกฎหมาย ตลอดจนการเข้าไปประเทศที่สามของโรฮีนจา และ
ควรศึกษาถึงกระบวนการการพัฒนากรอบความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในระดับอาเซียนค
abstract:
Title Thailand’s Appropriate Practice Guidelines for the Rohingya
Irregular Migration
Field Strategy
Name Police Major General Arus Saengchan Course NDC Class 65
The Rohingya are an ethnic minority living in Rakhine State. Myanmar
The Myanmar government refuses to recognize the Rohingya as citizens of Myanmar.
As a result, the Rohingya are threatened and discriminated against. Including not
receiving various rights as they should have been and from the hardships of life That
is why the Rohingya decided to migrate to a third country in order to survive. for
Thailand since 1999 until now Constantly faced with the problem of immigration of
the Rohingya.
The research revealed that 1. A study of the condition and context of
irregular migration of Rohingya in Thailand as a result of Rohingya not having basic
citizenship and individual rights. stateless, therefore migrating in search of a better
quality of life and well-being And religious intolerance between Buddhists and
Rohingya Muslims has resulted in a wave of Islamophobia. and develop into violence
Including the status of Rohingya as displaced people living in various temporary
shelters, so they are smuggled out of the immigration centers. To go to other
countries. 2. The problem of irregular migration of the Rohingya. There are issues as
follows. There is a movement to bring Rohingya into Thailand. The Thai government
cannot repatriate Rohingya to third countries. Due to the process of pushing the
Rohingya has been delayed. The United Nations High Commissioner for Refugees
(UNHCR) cannot solve the problem. smuggling out of the refugee camps in different
countries. There are many agencies involved in solving the Rohingya problem,
causing complexity in the work of each agency. Thailand has not yet established a
specific policy against Rohingya smugglers. and management problems in Thailand As
for the impact of irregular migration of the Rohingya that affects Thailand, it consists
of public health international relations, national defense, Psychological social,
economic, security and military 3. Determination of appropriate guidelines for Thailand are
as follows : Reducing the impact in Thailand foreign policy implementation Humanitarian
assistance in Thailand capacity building awareness and understanding with government
personnel The Thai government should make maritime national security a priority onง
the national agenda. Defining measures to deal with immigrants and the development of
Thailand and international intelligence systems.
Recommendations are as follows: 1. Policy recommendations, i.e. the
Rohingya resolution process should use principles of flexibility and consistency with
international and domestic law. And there should be a review of the roles of relevant
agencies to avoid conflicts in powers, duties and operations. 2. Recommendations at
the operational level. Routine regulations should be drawn up for relevant agencies
to cooperate in solving problems effectively. 3. Recommendations for further
research The networks of Rohingya trafficking movements illegally into Thailand
should be studied. as well as entering a third country for the Rohingya And should
study the process of developing a cooperation framework to solve refugee problems
at the ASEAN level.จ