Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การศึกษาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนใต้ภิภพที่ได้จากหลุมผลิตปิโตรเลียมบนบกเก่าของประเทศไทย, (วปอ.10017)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลโท อภิชาติ ไชยะดา, (วปอ.10017)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง การศึกษาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนใต้พิภพที่ได้จากหลุมสำรวจ และผลิตปิโตรเลียมบนบกเก่าของประเทศไทย ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้วิจัย พลโท อภิชาติ ไชยะดา หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65 แผนการพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยมุ่งหมายให้ประเทศไทยมีความมั่นคง ทางพลังงาน มีต้นทุนที่เหมาะสม และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การผลิตพลังงานทดแทนสามารถ ตอบสนองความต้องการในข้างต้นได้พลังงานความร้อนใต้พิภพเป็นรูปแบบหนึ่งในการผลิตไฟฟ้า จากพลังงานทดแทน ซึ่งประเทศไทยมีข้อจำกัดในเชิงศักยภาพทางพลังงาน มีความเสี่ยงในการเจาะสำรวจ และมีต้นทุนสูง กระบวนการผลิตปิโตรเลียมบนบกมีการขุดเจาะที่ระดับความลึกมากกว่าการเจาะสำรวจ แหล่งความร้อนใต้พิภพทั่ว ๆ ไป และข้อมูลในระหว่างการผลิตปิโตรเลียมที่เป็นประโยชน์สามารถนำมา ศึกษาทั้งในเชิงเทคโนโลยีและการผลิตพลังงานความร้อนใต้พิภพ ความสามารถในการผลิตไฟฟ้า ผลประโยชน์และประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม การศึกษานี้ได้เลือกพื้นที่บ่อน้ำมันฝางเป็นพื้นที่ ในการศึกษา จากข้อมูลของหลุมผลิตปิโตรเลียมเก่า 77 หลุม พบว่ามีระดับอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 69.56 ถึง110.10 องศาเซลเซียส ซึ่งเทคโนโลยีที่เหมาะสมจึงเป็นการผลิตไฟฟ้าด้วยวัฏจักร Binary โดยผสมวงจร พาความร้อนด้วยน้ำและใช้วงจรแรงคินสารอินทรีย์เพื่อผลิตกำลัง ที่อัตราการไหลแบบปฐมภูมิพบว่ามี ศักยภาพทางพลังงานไม่ต่ำกว่า 67,167.36 เมกะจูล/วัน คิดเป็นกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งได้ 73.08 ถึง 104.95 กิโลวัตต์ และมีศักยภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้า 512,113.78 - 735,482.56 หน่วยไฟฟ้า/ปี มีต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าเฉลี่ย 3.541 บาท/หน่วยไฟฟ้า มีศักยภาพในการลดการปลดปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ 183.85 -264.04 ตัน/ปี จึงควรกำหนดนโยบายรับซื้อไฟฟ้าที่อัตรารับซื้อไม่ต่ำกว่า 3.541 บาทต่อหน่วยไฟฟ้า เป็นระยะเวลา 30 ปี เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน ใต้พิภพนโยบายที่ควรจะดำเนินการเพื่อสนับสนุนการนำหลุมปิโตรเลียมเก่ามาผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน ความร้อนใต้พิภพคือ การจัดทำฐานข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูลทางด้านการสำรวจทางธรณีวิทยา การ กำหนดมาตรการในการรับซื้อขายไฟฟ้าระยะยาวจากพลังงานความร้อนใต้พิภพ การวางแผนและบริหาร จัดการหลุมผลิตปิโตรเลียมเก่าที่มีศักยภาพทางด้านพลังงานความร้อนใต้พิภพให้มีความพร้อมในการ ดำเนินงาน การยกระดับและขยายโครงข่ายไฟฟ้าและระบบส่งไฟฟ้าให้มีอิสระในการเชื่อมต่อและจ่าย กระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบสายส่งไฟฟ้าของประเทศ และการส่งเสริมการรับรู้และการมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อ สร้างการมีส่วนร่วมและความเป็นเจ้าของร่วมกันของชุมชนข

abstract:

Title Study of Electricity Generation From Geothermal Energy Using Abandon Onshore Exploration and Production Oil Wells in Thailand Field Science and Technology Name Lt.Gen. Apichat Chaiyada Course NDC Class 65 Thailand's power development plan aims to ensure energy security, reasonable costs, and environmental protection. Renewable energy production can contribute to these goals. Geothermal energy is a form of renewable energy that can be used to generate electricity. Thailand has limited potential for geothermal energy due to its location. However, petroleum production wells are drilled at depths greater than conventional exploration wells. This provides an opportunity to use production data from these wells to study the feasibility of using them to produce geothermal electricity. The Fang oil field was selected as the study area. Data from 77 old petroleum wells in this field showed that the average temperature was between 69.56 - 110.10 degrees Celsius. This suggests that the binary cycle for producing geothermal electricity from these wells, which uses a water cycle to extract heat and an organic Rankine cycle to produce power. At the primary flow, the energy potential of the wells was found to be no less than 67,167.36 MJ/day. This is equivalent to an installed electricity capacity of 73.08 -104.95 kW and a potential electrical energy output 512,113.78 -735,482.56 kWh/year. The average cost of electricity production from these wells is 3.541 THB/kWhand has the potential carbon dioxide emissions reduction 183.85 - 264.04 tons/year. To support the using old petroleum wells to produce geothermal electricity, the government should implement the following policies: Prepare a database and provide access to geological survey data, Establish measures the long-term purchase of electricity from geothermal energy, Plan and manage old petroleum production wells with geothermal potential to ensure the operationreadiness, Upgrade and expand the electricity network and transmission system to allow for the connection and distribution of electricity from these wells to grid system, Promote community awareness and engagement to foster community participation and ownership.ค