เรื่อง: แนวทางการลดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้โดยใช้เทคโนโลยีของประเทศไทย, (วปอ.10009)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พันโท หนุน ศันสนาคม, (วปอ.10009)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง แนวทางการลดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ของประชาชนโดยใช้
เทคโนโลยีดิจิทัลของประเทศไทย
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัย พันโท หนุน ศันสนาคม หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65
การศึกษาเรื่อง แนวทางการลดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ของประชาชนโดยใช้
เทคโนโลยีดิจิทัลของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัญหาและผลกระทบของความ
เหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ของประชาชนของประเทศไทย 2. ศึกษาองค์ประกอบการลดความเหลื่อมล้ำ
ทางด้านรายได้ของประชาชนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของประเทศไทย และ 3. เสนอแนวทางการลด
ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ของประชาชนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของประเทศไทย โดยรวบรวม
ข้อมูลทุติยภูมิ จากงานวิจัย เอกสารทางวิชาการและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่เป็นเอกสารจาก
ประมวลกฎหมาย และบทความของผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลปฐมภูมิ จากการสัมภาษณ์
นักวิชาการ/เจ้าหน้าที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนและกำหนดนโยบายเกี่ยวกับเทคโนโลยี
ดิจิทัล และการลดความเหลื่อมล้ำ และประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การ
วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการวิเคราะห์เปรียบเทียบ และสังเคราะห์ข้อมูลทฤษฎี
หลักการต่างๆ สรุปผลการศึกษาได้ ดังนี้
ผลการศึกษาพบว่า ความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยถูกขับเคลื่อนจากทั้งปัจจัยภายนอก
และปัจจัยเฉพาะตัว ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้ 1. ปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ และ
2. ปัจจัยภายในที่เกิดจากนโยบายในประเทศ นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย
เป็นผลลัพธ์จากทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในเฉพาะเชิงนโยบายของประเทศไทยเองที่ไม่เอื้อต่อ
การเลื่อนสถานะทางสังคม ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1. ความเหลื่อมล้ำลดลงแต่กลับเร่งขึ้นอีกจากราคา
สินค้าเกษตรตกต่ำ 2. เกิดมาจนแต่สร้างตัวจนร่ำรวย เป็นไปได้จริงหรือไม่ 3. โควิด-19 ทำให้
สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำแย่ลง 4. การเข้าสู่สังคมสูงอายุจะยิ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำแย่ลง 5. การเข้า
ไม่ถึงสวัสดิการแห่งรัฐ 6. ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยี 7. ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึง
ข้อมูลจำเป็น 8. ความเหลื่อมล้ำในทักษะดิจิตอล 9. ความเหลื่อมล้ำในการมีส่วนร่วมอย่างมี
ความหมายของพลเมืองดิจิตอล
องค์ประกอบการลดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ของประชาชนโดยใช้เทคโนโลยี
ดิจิทัลของประเทศไทย มีดังนี้ภาครัฐยังเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล
สอดรับกับนโยบายประเทศไทย 4.0 เช่น การพยายามผลักดันให้ประชาชนใช้บริการการทำธุรกรรม
ทางการเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics) โดยใช้ระบบพร้อมเพย์ (Prompt Pay) เป็นต้น
ทั้งนโยบายของประเทศในภาพรวม นโยบายด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งนโยบายด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
มุ่งเน้นใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือหลักในการฉุดดึงประเทศไทยให้พ้นจากกับดัก
รายได้ปานกลางและกับดักความเหลื่อมล้ำอย่างเป็นรูปธรรมสูงสุดค
abstract:
Title Guidelines for Reducing Income Inequality of People by Using Digital
TechnologyinThailand
Field Science and Technology
Name Lt.Col. Noon Sansanakhom Couse NDC Class 65
The study of guidelines for reducing income inequality of people by
using digital technology in Thailand aimed to 1. study the problem and impact of
income inequality of the people of Thailand, 2. study the components of reducing
income inequality of the people by using digital technology in Thailand, and
3) propose guidelines to reduce income inequality of the people by using digital
technology of Thailand. The researcher had collected secondary data from research
papers, academic documents, and related literature both from the code and articles
of relevant experts while primary information was collected from interviews with the
academics/government officials involved in digital technology, planning and policy
making, and reducing inequality and public stakeholders. Data were then analyzed by
using content analysis and comparative analysis including synthesized theories and
principles as well. The results of the study could be summarized as follows:
The study found that Thailand's inequality was driven by both external
and individual factors, which could be divided into 2 main groups : 1. uncontrollable
external factors and 2 . internal factors arising from domestic policies. It was also
found that Thailand's inequality was the result of both external and internal factors,
specific to Thailand's policies that were not conducive to social advancement which
were as follows: 1. decreasing inequality but accelerating again due to falling
agricultural prices, 2. from rags to riches is possible?, 3. COVID-19 worsens inequality,
4. entering an aging society will worsen inequality, 5. lack of access to state welfare
6. inequality in access to technology, 7. inequality in access to essential information
8. inequality in digital skills and 9. inequality in meaningful participation of digital
citizens.
The factors to reduce income inequality of people by using digital
technology of Thailand were as follows: the government also played a role in
promoting the use of digital technology in line with the Thailand 4 .0 policy, for
example: trying to push people to use electronic financial transaction services by
using the Prompt Pay system, etc. both the policies of the country as a whole,
economic policy including the policy on digital technology, focusing on using
innovation and digital technology as the main tools to pull Thailand out of the
middle income trap and inequality trap in the most concrete manner.ค