เรื่อง: การเพิ่มมูลค่าการส่งออกข้าวหอมมะลิไทยโดยใช้ BCG Model, (วปอ.10008)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางโสมมณี ธนบุณยวัฒน์, (วปอ.10008)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง การเพิ่มความสามารถการส่งออกข้าวหอมมะลิไทย โดยใช้ BCG Model
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นางโสมมณี ธนบุณยวัฒน์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสถานการณ์ ปัญหาอุปสรรค และปัจจัยที่มี
ผลกระทบกับการส่งออกของอุตสาหกรรมข้าวหอมมะลิของประเทศไทย 2. เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยส่งเสริม
และโอกาสของการส่งออกข้าวหอมมะลิไทยในตลาดต่างประเทศ โดยการใช้ BCG Model และ
3. เพื่อเสนอแนวทางการเพิ่มความสามารถการส่งออกข้าวหอมมะลิไทย โดยใช้ BCG Model
อย่างมีประสิทธิภาพ โดยท าการรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารวิชาการ รายงาน
การวิจัย วารสาร บทความที่เปิดเผยต่อสาธารณะชนและมีความน่าเชื่อถือ ตลอดจนสัมภาษณ์เชิงลึก
จากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ ผู้ประกอบการโรงสีข้าว และผู้ประกอบการส่งออกข้าวหอมมะลิ
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันไทยปลูกข้าวเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นผู้ส่งออกข้าว
อันดับ 3 ของโลกรองจากอินเดียและเวียดนาม โดยเกษตรกรประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูงและ
การก าจัดศัตรูพืช ในขณะที่ผู้ประกอบการโรงสีมักประสบปัญหาความสูญเสียจากการสีข้าว
เนื่องจากข้าวเปลือกไม่ได้มาตรฐาน และผู้ประกอบการส่งออกประสบปัญหาการปลอมปนของข้าวสาร
ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และคุณภาพของสินค้า นอกจากนี้พบว่า ปริมาณผลผลิตข้าวหอมมะลิไทย
ราคาส่งออก (F.O.B.) ความนิยมบริโภคข้าวหอมมะลิของคนทั่วโลก และความผันผวนของอัตรา
แลกเปลี่ยนถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งออกของอุตสาหกรรมข้าวหอมมะลิไทย ในส่วนของปัจจัย
ที่ช่วยส่งเสริมการส่งออกข้าวหอมมะลิไทยในตลาดต่างประเทศ ได้แก่ คุณภาพข้าวหอมมะลิที่เป็น
มิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบการส่งออก และการสนับสนุนของภาครัฐ โดย BCG
Model จะสร้างโอกาสการส่งออกข้าวหอมมะลิไทยได้ด้วยการใช้เกษตรอินทรีย์และเทคโนโลยีปรับปรุง
พันธุ์ข้าว การแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ตลอดจนการจัดการน้ าและพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือและความน่าสนใจของข้าวหอมมะลิไทย
แนวทางการเพิ่มความสามารถการส่งออกข้าวหอมมะลิไทยโดยใช้ BCG Model
แบ่งเป็น 1. เศรษฐกิจชีวภาพด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือวัสดุจากธรรมชาติในกระบวนการ รวมถึง
ใช้เทคโนโลยีพัฒนาพันธุกรรม 2. เศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยการน าวัตถุเหลือใช้จากการผลิตข้าวแปรรูป
เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ พัฒนาด้านเทคโนโลยีการผลิตเพื่อลดความเสียหายจากการสีข้าว และ 3. เศรษฐกิจ
สีเขียวค านึงถึงการใช้พลังงานสะอาดเพื่อลดมลภาวะที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตและการขนส่งสินค้า
ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบาย ได้แก่ การสนับสนุนนวัตกรรมแปรรูปข้าวหอมมะลิ
การพัฒนาระบบการค้าข้าวด้วยศูนย์กลางตลาดข้าวของโลก การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตข้าว
ให้ได้คุณภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การผลักดันการใช้เทคโนโลยี การใช้มาตรการการมีส่วนร่วม
ร่วมกับมาตรการด้านภาษี การควบคุมและตรวจสอบคุณภาพข้าวย้อนกลับ ในส่วนข้อเสนอแนะ
เชิงปฏิบัติการ ได้แก่ การควบคุมคุณภาพเมล็ดพันธุ์และกระบวนการผลิต รวมถึงการประยุกต์
ใช้แพลตฟอร์มเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน นอกจากนี้ควรศึกษาเกี่ยวกับความต้องการ
บริโภคข้าวหอมมะลิและพฤติกรรมการบริโภคข้าวทั่วโลกใน BCG Model ต่อไป เพื่อพัฒนาต่อยอด
การส่งออกข้าวหอมมะลิไทยให้ตรงตามความต้องการของตลาดโลกข
abstract:
Title Enhancing the Export Capabilities of Thai Hom Mali Rice using
the BCG Model.
Field Economics
Name Sommanee Thanaboonyawat Course NDC Class 65
This research aimed to study 1.To study the current situation, challenges,
and factors impacting the export of Thai Hom Mali rice industry. 2. To analyze the
factors and opportunities for the export of Thai Hom Mali rice in international
markets using the BCG Model and 3. To propose effective strategies for enhancing
the export capabilities of Thai Hom Mali rice using the BCG Model. The collected
from research, reports, reputable publicized articles as well as in-depth interviews
with farmers, mill operators and exporters.
The study found that Thailand 6
th in the world in terms of rice
production and is the 3
rd largest rice exporter, following India and Vietnam. However,
Challenges of rice farmers for high production costs and pest management, while rice
mill operators often encounter losses due to non-standardized rice bran causing
discoloration. Rice exporters also face issues of rice adulteration, impacting the
reputation and quality of the product. Additionally, the quantity of Thai Hom Mali
rice production, export prices (F.O.B.), global consumer preference for fragrant rice
and exchange rate fluctuations are factors influencing the rice industry's export. To
promote the export of Thai Hom Mali rice in foreign markets, factors such as
environmentally friendly rice quality, reliable exporters, and government support
play significant roles. BCG Model can create export opportunities for Thai Hom Mali
rice by utilizing organic farming and rice breeding technologies, adding value through
processing and water and energy management practices that are environmentally
friendly, thereby enhancing the credibility and attractiveness of Thai Hom Mali rice.
The strategies to enhance the export capabilities of Thai Hom Mali rice
using the BCG Model can be divided into three aspects : 1. Bioeconomic approach,
utilizing organic fertilizers or natural materials in the production process, as well as
employing biotechnology for genetic improvement. 2. Circular economy approach,
utilizing by-products from rice processing to develop various products and advancing
production technologies to minimize losses from rice discoloration. 3. Green
economy approach, considering the use of clean energy to reduce pollution
generated from the production and transportation of goods.ค
The policy recommendations include rice processing innovations,
developing a global rice trading system through world rice hub, creating knowledge
platforms for quality and environmentally friendly rice production, promoting the use
of technology, implementing, collaborative measures alongside taxation policies and
implementing quality control of testability. In terms of operational recommendations,
it is important to control seed quality and production processes. In addition, it is
necessary to utilize platforms to enhance competitiveness. Furthermore, studying
consumer demands and consumption behaviors of fragrant rice globally within the
BCG Model is crucial for further developing the export of Thai Hom Mali rice to meet
the market's needs.ง