เรื่อง: ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยอาหารนวัตกรรม, (วปอ.9998)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางสาว สุภัทรา บุญเสริม, (วปอ.9998)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยอาหารนวัตกรรม
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นางสาวสุภัทรา บุญเสริม หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65
อาหารนวัตกรรม (Innovative Food) กำลังได้รับความสนใจจากอุตสาหกรรมอาหาร
ทั่วโลกเป็นอย่างมาก แม้ว่าการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยอาหารนวัตกรรมของประเทศไทยจะถูกบรรจุ
ไว้ในยุทธศาสตร์ชาติแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และยุทธศาสตร์BCG Model
แต่ยังต้องการทิศทางในการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
(1) ศึกษาการส่งเสริมการประกอบธุรกิจอาหารนวัตกรรมในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่
สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป (2) ศึกษาสถานการณ์ ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับอาหาร
นวัตกรรมของประเทศ และ (3) เสนอแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยอาหารนวัตกรรม
ผลการวิจัยพบว่า ทุกประเทศมีนโยบายส่งเสริมนวัตกรรมอาหารแต่มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน ประเทศ
ไทยและออสเตรเลียมุ่งดึงดูดการลงทุน สหรัฐอเมริกามุ่งช่วยเหลือประเทศยากจนและพัฒนาใน
ประเทศ ส่วนสหภาพยุโรปเน้นการพึ่งพาตนเองและสร้างความมั่นคงภายในภูมิภาค โดยประเทศไทย
อนุญาตผลิตภัณฑ์และส่วนประกอบนวัตกรรมที่ผ่านการประเมินความปลอดภัยแล้ว เช่น วิตามินเค 2
สังเคราะห์ โปรตีนจากพืชและแมลง เครื่องดื่มที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยแรงดันสูง ภาชนะบรรจุชนิด rPET
ผลการสอบถามข้อคิดเห็นต่อการส่งเสริมธุรกิจอาหารนวัตกรรมพบว่า ภาครัฐมีการสนับสนุนธุรกิจ
อาหารนวัตกรรมเพียงพอในระดับหนึ่ง แต่ยังต้องพัฒนาร่วมกับภาคเอกชนและภาคการศึกษาตลอด
ห่วงโซ่ การวิเคราะห์ข้อมูลการประกอบธุรกิจอาหารนวัตกรรมด้วย Gap analysis พบช่องว่างในด้าน
นโยบายและงบประมาณ ด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ด้านกฎหมาย ด้านการบูรณาการของ
หน่วยงาน และด้านความสะดวกในการประกอบธุรกิจ จากการประเมินสถานการณ์อุตสาหกรรม
อาหารนวัตกรรมด้วย SWOT Analysis และกำหนดกลยุทธ์ขับเคลื่อนด้วย TOWS Matrix ผู้วิจัยจึงขอ
เสนอแนะดังนี้ (1) รัฐบาล ผลักดันให้อาหารนวัตกรรมเป็นอุตสาหกรรมเรือธงของประเทศ ปรับ
บทบาทภาครัฐ เป็น “เอกชนนำ รัฐสนับสนุน” (2) หน่วยงานวิจัยและภาคการศึกษา มุ่งศึกษาวิจัย
และพัฒนาเพื่อการใช้ประโยชน์ในระดับอุตสาหกรรม และปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อ
การวิจัยและพัฒนา และ (3) ภาคเอกชน พัฒนาการผลิตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและกระบวนการผลิตที่
เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างคลัสเตอร์เพื่อร่วมพัฒนาศักยภาพระหว่างผู้ประกอบการรายใหญ่และ
รายเล็ก และผลักดันให้เกิดความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างภาครัฐและหน่วยงานวิจัยข
abstract:
Title Thailand’s Economic Driven by Innovative Food
Field Economics
Name Ms. Supattra Boonserm Course NDC Class 65
Innovative food is an interesting product, which is gaining attention of global
food industry. Although economic driven by innovative food has been prescribed in
National Strategy, National Economic and Social Development Plan, and BCG Economy
Model, Thailand still needs a concrete and clear economic driven direction. This research
aimed to (1) study how Thailand, U.S., Australia, and EU support innovative food, (2) study
situation, problems and obstacles of Thailand’s innovative food industry, and (3) propose
a recommendation to drive Thailand’s economy by innovative food. The result showed
that all countries in this research have a policy to support innovative food with different
focuses; Thailand and Australia focus on investment attraction, U.S. emphasizes on food
security within the country and poor countries, EU point up with self-reliant and security
in the region. For Thailand’s product situation, there areinnovative products and ingredients
that have been passed safety assessment such as synthetic vitamin K2, alternative protein
sources from plants and insects, High pressure processed beverages, and rPET packaging.
The opinion surveys showed that government have a certain support for innovative food,
but are expecting for more cooperative with business and research and academic sectors
along food chain. Gap analysis founded 5 gaps needed to be improved; policy and budget,
laws and regulations, integration between government agencies, and ease of doing
business. Situation evaluation by SWOT analysis and formulate strategies by TOWS Matrix
resulted in recommendations to (1) government by driving innovative food to be a flagship
industry and adjusting the role to “Industries lead, Government support the country”, (2)
research and academic sectors by doing research and development for industrial purposes
and improving the environment suitable for research and development, and (3) private
sector by introducing digitalized and environmental friendly-production process, building
clusters to empower large- and small-scale businesses together, and driving close
cooperation between government and research sectors.ค