เรื่อง: แนวทางการนำเทคโนโลยี Digital Town มาใช้เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมของประเทศ, (วปอ.9995)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน, (วปอ.9995)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง แนวทางการนำเทคโนโลยี Digital Twin มาใช้เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
โทรคมนาคมของประเทศ
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัย นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65
เนื่องจากนโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่าง ๆ มีทิศทาง
มุ่งเน้นการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการสื่อสารความเร็วสูงให้เป็นรากฐานการพัฒนา โดยมี
เทคโนโลยีใหม่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เทคโนโลยี Digital Twinซึ่งเกิดจากการหลอมรวมเทคโนโลยีใหม่
จึงมีความน่าสนใจในแง่ของการนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ดังนั้น เพื่อที่จะทำความเข้าใจใน
เทคโนโลยีดังกล่าว การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการทำงานของ Digital Twin และแนวโน้ม
การประยุกต์ใช้ในต่างประเทศรวมถึงวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคและปัจจัยสู่ความสำเร็จเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ
เชิงนโยบายในการส่งเสริมการใช้งานเพื่อยกระดับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ซึ่งเป็นกรอบ
นโยบายระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566 - 2570) โดยอาศัยการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งเน้นการศึกษาวิเคราะห์
เนื้อหาด้วยวิธีการตรวจสอบสามเส้า โดยตรวจสอบข้อมูลจากการสัมภาษณ์ควบคู่กับการสังเกตแบบมี
ส่วนร่วม และใช้เอกสารที่รวบรวมในประเด็นที่เกี่ยวข้องมาตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลให้
มีความครบถ้วนสมบูรณ์
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า Digital Twin ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ พื้นที่จริงที่มีวัตถุทาง
กายภาพ พื้นที่เสมือนที่มีวัตถุเสมือนจริงในรูป 3 มิติโดยเชื่อมโยงกับวัตถุในพื้นที่จริง และการเชื่อมโยง
ข้อมูลระหว่างพื้นที่จริงกับพื้นที่เสมือนให้บรรจบกันและทำงานพร้อมกัน ซึ่งในต่างประเทศมีแนวโน้ม
ที่จะนำ Digital Twin ไปใช้อย่างแพร่หลายในการพัฒนาอุตสาหกรรม และการพัฒนาเมือง อาทิระบบ
บริหารจัดการจราจร ระบบบริหารท่าเรืออัจฉริยะ ระบบขนส่งมวลชน และการวางผังเมืองที่ส่งเสริม
การมีส่วนร่วมอย่างไรก็ตาม การพัฒนา Digital Twin มีอุปสรรคและความท้าทายหลายประการ อาทิ
ด้านโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารความเร็วสูงยิ่งยวด การขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญ การขาดการประสานความ
ร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยผู้วิจัยเห็นว่าปัจจัยสู่ความสำเร็จในการนำ Digital Twin มาประยุกต์
ใช้เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายจากบนลงล่าง และล่างขึ้นบน การพัฒนาแอปพลิเคชันจำลอง
สถานการณ์ที่มนุษย์เป็นศูนย์กลางมาตรการด้านคุณภาพ และความปลอดภัยของข้อมูล และมาตรการ
ส่งเสริมนวัตกรรม โดยการมีส่วนร่วมของผู้เชี่ยวชาญสหวิทยาการ ซึ่งจากการศึกษาในประเด็นดังกล่าว
ผู้วิจัยได้ค้นพบข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรทรัพยากรโทรคมนาคมที่เพียงพอต่อ
การใช้งาน การส่งเสริมการขยายโครงข่ายหลักที่มีประสิทธิภาพ การส่งเสริมให้มีอุปกรณ์ที่หลากหลาย
เพื่อรองรับการเชื่อมต่อปริมาณมาก การส่งเสริมการจัดตั้ง Data Center ในประเทศรวมถึงการส่งเสริม
การทำงานที่ประสานความร่วมมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการส่งเสริมการใช้งานและการฝึกทักษะดิจิทัล
เพื่อเติมเต็มระบบนิเวศของการพัฒนา Digital Twin ให้เติบโตอย่างสมบูรณ์ข
abstract:
Subject Approach for Digital Twin Technology Adoption for NationalTelecommunication
Infrastructure Development
Course Description Science and Technology
Researcher Mr.Sutisak Tantayotin Course: NDC, Class: 65
Since national policy approaches for economic and social development of
many countries tend to elevate broadband infrastructure to become foundation of the
development with the adoption of emerging technologies. Digital Twin, enabled by
technological convergence, therefore, is interesting in terms of the utilization for industrial
development. For this reason, in order to understand the Digital Twin, this research aims at
studying Digital Twin processes, the adoption practice in other countries, as well as the
analysis of problems, obstacles, and key success factors to propose recommendations for
five-year policy on promotion of Digital Twin adoption for telecommunication infrastruc
ture development. The research was conducted by qualitative methods, focused on
content analysis with triangulation approach to examine content and information that
were obtained from interviewing, participatory observation, and relevant research and
document.
The research was found that Digital Twin is consisted of three main parts; real
space containing physical objects, virtual space containing 3D virtual objects, and the link
for data flow from real space to virtual space. In other countries, Digital Twin has been
widely put into practice in smart city and industrial development, for example traffic
management, smart port operation, public transportation management, and participatory
city planning. However, the development still faces key challenges that relate to ultrabroadband infrastructure, lack of expertise, and lack of collaboration among stakeholders.
It was considered that key success factors for the adoption involve in both top-down and
bottom-up measures for innovation stimulation, human-centric application scenario
development, data security guarantee, and joint participation of interdisciplinary expertise
to boost innovation. It can be proposed that policy recommendations include the need
for telecommunication resource allocation for available utilization, promotion of critical
backbone network deployment, promotion of variety of device to support massive
interconnection, promotion of data center investment in the country, and enhancement
of collaboration, especially on driving the adoption and digital skill training, to fulfil the
growth and development of Digital Twin ecosystem.ค