เรื่อง: แนวทางการตรวจเงินแผ่นดินไทยในอนาคต เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี, (วปอ.9994)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการเมือง/Politics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายสุทธิพงษ์ บุญนิธิ, (วปอ.9994)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง แนวทางการตรวจเงินแผ่นดินไทยในอนาคต เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ลักษณะวิชา การเมือง
ผู้วิจัย นายสุทธิพงษ์ บุญนิธิ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65
งานวิจัยฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษา วิเคราะห์ บทบาทหน้าที่และอำนาจตามบทบัญญัติ
ของกฎหมายว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดินและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการตรวจเงินแผ่นดินไทย
ในอนาคตเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยศึกษาเปรียบเทียบแนวทางการตรวจเงินแผ่นดิน
ขององค์กรตรวจเงินแผ่นดินต่างประเทศกับการตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติที่ประสบผลสำเร็จ
ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำแนวทางการตรวจเงินแผ่นดินในอนาคตที่สนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ20 ปี
เสนอเป็นแนวทางพัฒนาทั้งในระดับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนองค์กรและระดับการพัฒนาบุคลากร
ในองค์กร
ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมาย
ตามยุทธศาสตร์ชาติ ยังคงมีประเด็นท้าทายที่ต้องได้รับการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขให้เกิดผลสัมฤทธิ์
ของการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน โดยคำนึงถึงการรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐเพื่อให้เกิดเสถียรภาพและ
ความมั่นคงด้วยการนำแนวทางการตรวจเงินแผ่นดินมาเป็นตัวช่วยในการตรวจสอบการใช้จ่ายเงิน
ในการดำเนินโครงการดังกล่าวให้ประสบผลสำเร็จและบรรลุเป้าประสงค์ อันได้แก่ ผลผลิตของงาน
ที่เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับงานตรวจสอบ (Non - Audit Product), ระบบการตอบข้อสอบถาม
ของหน่วยรับตรวจ โดยใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI), การตรวจสอบ
ระยะไกล (Remote Audit), การตรวจสอบให้เป็นปัจจุบันทันกาล (Real-time Audit) และการ
ตรวจสอบทางบัญชีนิติวิทยา (Forensic Accounting) แนวทางการตรวจเงินแผ่นดิน 5 ประการ
ดังกล่าว เป็นวิธีการตรวจสอบรูปแบบใหม่ที่จะช่วยให้การทำงานของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและ
หน่วยรับตรวจ มีความสะดวก ทันต่อเหตุการณ์ สร้างความมั่นใจให้กับการใช้จ่ายงบประมาณของ
หน่วยรับตรวจ ทำให้การบริหารการเงินการคลังของรัฐเป็นไปตามกฎหมาย เกิดผลสัมฤทธิ์และ
มีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถตอบสนองการใช้จ่ายเงินในการดำเนินโครงการอันนำไปสู่การบรรลุ
เป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติในภาพรวม
จากผลการศึกษานำไปสู่ข้อเสนอแนะแนวทาง ปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาให้กลไกการ
ตรวจเงินแผ่นดินมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยส่งเสริมให้ผู้ตรวจสอบปฏิบัติหน้าที่โดยตระหนักถึง
ความรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเกิดประโยชน์ รวมทั้งคำนึงถึงภารกิจ
ของรัฐบาลที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นซึ่งจำเป็นต่อการบรรลุวาระสำคัญแห่งชาติและการพัฒนาที่ยั่งยืน
รวมถึงพัฒนากลยุทธ์การตรวจสอบภาครัฐเพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ
โดยผู้ตรวจสอบสามารถประเมินความเชื่อมโยงการใช้จ่ายเงินแผ่นดินในการดำเนินโครงการเพื่อการ
ขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ และเจาะลึกประเด็น วิธีการปฏิบัติงานระหว่าง
หน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐแบบองค์รวม ตลอดจนเสริมสร้างและผลักดันให้ทุกภาคส่วนมีความ
ตระหนักถึงความสำคัญและการเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐ ข
โดยเฉพาะภาคประชาชนเมื่อประชาชนเข้าถึงรายงานการปฏิบัติงานของสำนักงานการตรวจเงิน
แผ่นดินได้สะดวกย่อมเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจเงินแผ่นดิน อันเป็นการปลูกฝัง
จิตสำนึก ในการช่วยสอดส่องดูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐ
นอกจากนี้ส่งเสริมให้ผู้ตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูลการตรวจสอบ (Data Analytics) โดยใช้
ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการวินิจฉัยเพื่อหาความสัมพันธ์ของสาเหตุและผลกระทบจาก
ข้อบกพร่องในการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน การพยากรณ์สิ่งที่กำลังเกิดขึ้น หากหน่วยงานรัฐใช้จ่ายเงิน
งบประมาณผิดพลาด รวมถึงการวิเคราะห์แบบให้คำแนะนำเพื่อให้การใช้จ่ายเงินแผ่นดินเกิดความ
คุ้มค่ามากที่สุด ค
abstract:
Title Guideline for Thai Public Sector Auditing in the Future to support
the Twenty-year National Strategy
Field Politics
Name Mr.Sutthipong Boonnithi Course NDC Class 65
This research aims to investigate and evaluate the future legal roles and
responsibilities under the state audit acts and other related acts in the Thai state audit
contextual guidelines to support the 20-year national strategies. For those reasons,
comparisons of audits in national supreme audit institutions, along with practical
answers to the national strategies, are made to adapt the developmental guidelines at
the levels of the driven organization and personnel development strategies.
The results are shown that projects' progress in driving the national
strategies’ targets still has challenging issues to be improved and developed for
achievement in the government funds expenditure. To maintain and consider the
stabilized fiscal disciplines, non-audit products, artificial Intelligence (AI), remote audit,
real-time audit, and forensic accounting are used as the audit guidelines for these
project points. That is, they are new audits that could help officers and inspection units
be convenient, updated, and confident for the units’ budget expense, leading stateaccomplished fiscal management to conform with the law effectively. In addition, these
guidelines could help expense management in progressing projects for the overall
national strategy.
These results cause the improvement, fixing, and development of feedback
and/or guidelines for more effective audit mechanisms through responsible awareness
of the inspectors in the effective, transparent, and useful achievements. Including
complicated government awareness, it is necessary for national important agenda
achievement and sustainable development, together with government-level
investigating strategy development to subsidize the national strategy achievement.
The inspectors are able to estimate a connection between audit and
expense that drives the goal of the national strategy and delves into issues among state
agency working process overall, including enhancing and advancing every section to
gain awareness in the government funds and state property maintenance. Especially
people’s section, they would understand the importance of audit when progress
reports of the State Audit Office of the Kingdom of Thailand are accessed by them; ง
they would understand and give precedence to the audit. It is the cultivation of
consciousness. in helping to monitor government funds and property.
Furthermore, data analytics with big data for inspectors to find the relation
between causes and effects of government funds managing faults are supported;
including forecasts if there is mistaken budget expenditure, together with advised
analysis for the most worthwhile government funds management and expenditure.จ