Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และยั่งยืน กรณีศึกษา พื้นที่ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน, (วปอ.9991)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายสืบพงษ์ นิ่มพูลสวัสดิ์, (วปอ.9991)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง การพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการจัดการการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์และยั่งยืน กรณีศึกษา พื้นที่ อ าเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผู้วิจัย นายสืบพงษ์ นิ่มพูลสวัสดิ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕ การวิจัยเรื่อง การพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการจัดการการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์และยั่งยืน กรณีศึกษา พื้นที่ อ าเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ข้อมูล ปัญหา อุปสรรค สภาพทั่วไปในการพัฒนาและการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และยั่งยืน และเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยว อ าเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชิงสร้างสรรค์และยั่งยืน ด าเนินการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยท าการเก็บ ข้อมูล การทบทวนวรรณกรรม ทั้งจากการศึกษาเอกสาร (Document Study) การศึกษางานวิจัย ที่เกี่ยวข้องและการศึกษาภาคสนาม (Field Study) โดยใช้การการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ในลักษณะของค าถามแบบปลายเปิด (Open-ended Question) จากการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบ เฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงที่มีบทบาทต่อการบริหาร จัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และยั่งยืนของพื้นที่อ าเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผลการวิจัยเพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ ๑ พบว่า การท่องเที่ยวของอ าเภอปายมีปัญหา อุปสรรค โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ป่า โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวที่ส าคัญไม่สามารถพัฒนาการ ท่องเที่ยวได้ แหล่งท่องเที่ยวบางแห่งยังขาดเจ้าภาพในการบริหารจัดการ การเดินทางใช้เวลานาน เนื่องจากการเดินทางระยะทางไม่ไกลแต่ใช้เวลานาน เนื่องจากถนนที่คดเคี้ยวขนส่งสาธารณะ มีจ านวนน้อย การท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีระยะเวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้นท าให้เกิดการกระจุกตัวของ นักท่องเที่ยว การให้บริการข้อมูลนักท่องเที่ยวยังไม่เพียงพอ โครงสร้างพื้นฐานที่จ าเป็นยังขาดแคลนเช่น ระบบสัญญาณโทรศัพท์ที่ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ การเตรียมความพร้อมบุคลากรด้านการท่องเที่ยวใน การให้บริการรวมถึงการสื่อสารกับชาวต่างชาติยังคงมีจ านวนไม่เพียงพอ การเข้ามาของบุคคลภายนอก พื้นที่เพื่อเข้ามาท าธุรกิจในช่วงเทศกาลท่องเที่ยว โดยขาดจิตส านึกถึง และมาเพื่อกอบโกยประโยชน์ ทางการค้า สิ่งแวดล้อมปัญหาขยะที่เกิดจากการบริโภคของนักท่องเที่ยว เนื่องจากนักท่องเที่ยวเข้ามา ท่องเที่ยว และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการขายกัญชา ตลอดจนการเข้ามาของร้านสะดวกซื้อ ซึ่งมีผลต่อ ร้านค้าเดิมและร้านค้ารายย่อยของชุมชน ผลการวิจัยเพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ ๒ พบว่า อ าเภอปายเป็นเมืองที ่มีศักยภาพ ด้านการท่องเที่ยวสูง โครงสร้างด้านการท่องเที่ยว มีความสอดรับกับทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิง ธรรมชาติมีความหลากหลายวัฒนธรรม ความสวยงามทางธรรมชาติ เพราะมีภูเขา น้ าพุร้อน น้ าตก มีธรรมชาติที่สวยงาม เป็นเมืองที่สงบ ไม่วุ่นวาย สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี จึงท าให้อ าเภอปายเป็น ที่รู้จักและนิยมของนักท่องเที่ยว ทุกกลุ่มทุกวัย และการเดินทางที่ต้องใช้ความพยายาม ท าให้ดูเป็น เมืองที่น่าค้นหา ปัจจุบันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของอ าเภอปายมีการขยายตัว ทั้งด้านที่พักรีสอร์ท ร้านอาหาร และธุรกิจรถเช่า จึงเป็นเมืองมีความพร้อมของการรองรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวข ผลการวิจัยเพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ ๓ พบว่า แนวทางการพัฒนาการท่องเที ่ยว เชิงสร้างสรรค์และยั่งยืน ของอ าเภอปาย จะต้องเข้าใจวิถีชีวิตบริบทของชุมชน มีเวทีพูดคุยกันอย่าง จริงจังอย่างเป็นระบบ ใช้กลไกของคณะกรรมการท่องเที่ยวอ าเภอปายในการก าหนดยุทธศาสตร์การ ท่องเที่ยว ให้มีแผนพัฒนาอ าเภอปายด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และยั่งยืน จัดการส่งเสริมที่ดี ซึ่งมีทั้งศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีที่จะสามารถเป็นจุดดึงดูดความสนใจให้นักท่องเที่ยวร่วมเรียนรู้ มีส่วนร่วม มากกว่าการยืนดูและเฝ้ามอง การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และยั่งยืนควรยกระดับให้การ ท่องเที่ยวเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การท่องเที่ยวแบบสุขภาพ ธรรมชาติ การเที่ยวไป ในชุมชน ใช้วิถีชีวิตร่วมกับชุมชน น าศักยภาพต้นทุนของชุมชนมาเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจ เข้าไปเรียนรู้ประสบการณ์ โดยมีภาครัฐเข้ามาส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาให้มีความยั่งยืนต่อไป จากการวิจัยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ การบริหารการจัดการการท่องเที ่ยว เชิงสร้างสรรค์และยั่งยืน อ าเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ควรน าหลักการของโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการท่องเที่ยว ได้แก่ ระบบคมนาคมขนส่ง ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบสาธารณสุข ระบบระบายน้ าและก าจัดน้ าเสีย ระบบก าจัดขยะ มาเป็นพื้นฐานของการจัดการท่องเที่ยวพัฒนาไปสู่ รูปแบบของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กล่าวคือ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเป็นแนวทางการพัฒนาที่มุ่ง ให้เกิดความสมดุลระหว่างวัตถุประสงค์ด้านสังคม เศรษฐกิจและการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม และการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ โดยมุ่งสนองพฤติกรรมการบริโภครูปแบบใหม่ของคนในยุคปัจจุบันและอนาคต การท่องเที่ยวในยุคนี้ อาจจัดได้ว่าเป็นการท่องเที่ยวยุคหลังสมัยใหม่ (Post – modern tourism) รูปแบบการท่องเที่ยวมี ลักษณะเฉพาะมากขึ้น (Moving to niche) เน้นความดั้งเดิม รวมไปถึงความคาดหวังที่จะได้รับ ประสบการณ์ที่มีความแปลกใหม่หรือแตกต่างไป ซึ่งสอดคล้องกับการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน และ ข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์คือ การบริหารการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และยั่งยืนอ าเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จะต้องมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน บนพื้นฐานแนวคิด ๓ ประการ ได้แก่ ๑. “ต่อยอดอดีต” ๒. “ปรับปัจจุบัน” และ ๓. “สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต” แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (๕) ประเด็นการท่องเที่ยว (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) เพื่อก าหนดแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และยั่งยืน ของอ าเภอปาย ที่จะต้องเข้าใจวิถีชีวิตบริบทของชุมชน มีเวทีพูดคุยกันอย่างจริงจังอย่าง เป็นระบบ ใช้กลไกของคณะกรรมการท่องเที่ยวอ าเภอปายในการก าหนดยุทธศาสตร์ การท่องเที่ยว ให้มีแผนพัฒนาอ าเภอปายด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และยั่งยืน ค

abstract:

Title Development to increase the Efficiency of Tourism Management Creative Tourism and Sustainable Tourism case study area Pai District Mae Hong Son Province Field Economics Name Mr.Saubpong Nimpoolsawat Course NDC Class 65 The research Development to increase the Efficiency of Tourism Management Creative Tourism and Sustainable Tourism case study area Pai District Mae Hong Son Province. The objectives are to study information, problems, obstacles, general conditions in the development and management of creative and sustainable tourism. and suggesting guidelines for tourism management in Pai District, Mae Hong Son Province creative and sustainable Conduct a qualitative research study (Qualitative Research) by collecting data. literature review both from the study of documents (Document Study), research studies Related and a field study using in-depth interviews in the form of open-ended questions from purposive sampling from people with Directly related to play a role To the management of creative and sustainable tourism in the area of Pai District. Mae Hong Son Province The results of the research to answer Objective 1 found that the tourism of Pai District has problems and obstacles. Most of the areas are in forest areas. Especially important tourist attractions cannot be developed. tourism Some tourist attractions still lack hosts in management. The journey takes a long time because the journey is not long but takes a long time. Because of the winding roads, there are few public transport, Mae Hong Son's tourism lasts only 3 months, resulting in a concentration of tourists. The provision of tourist information services is inadequate. Necessary infrastructure is still lacking, such as the telephone system that does not cover all areas. The preparation of tourism personnel in providing services and communicating with foreigners is still insufficient. The arrival of people from outside the area to do business during the tourist season. without consciousness and come to seize trade benefits environmental waste problem caused by tourist consumption because tourists come to travel and changing patterns of marijuana sales as well as the entry of convenience stores which affects existing stores and small shops in the communityง The results of the research to answer Objective 2nd revealed that Pai District is a city with high tourism potential. tourism structure Corresponds to natural tourism resources. multicultural Natural beauty because there are mountains, hot springs, waterfalls, beautiful nature. It is a peaceful city, not chaotic, able to travel throughout the year. Therefore, Pai District is known and popular with tourists. all groups, all ages and travel that requires effort making it look like a city worth searching for. Nowadays, the tourism industry of Pai District is expanding. Both accommodation, resorts, restaurants and car rental business Therefore, the city has the readiness to support the tourism industry. The results of the research to answer the 3rd objective found that the guidelines for creative and sustainable tourism development of Pai District must understand the way of life in the context of the community. There is a forum to discuss seriously and systematically. Use the mechanism of the Pai District Tourism Board to determine tourism strategies. to have a plan to develop Pai District in terms of creative and sustainable tourism good promotion management which includes arts, culture, and traditions that can be a point of interest for tourists to learn and participate more than standing and watching Creative and sustainable tourism should raise the level of tourism participation in activities such as health, nature tourism, community outings. Living with the community bring the potential cost of the community to be something that tourists are interested in learning and experiencing with the government sector coming in to promote, support and develop sustainability in the future From the research, there are policy suggestions for tourism management management. creative and sustainable Pai District, Mae Hong Son Province Principles of infrastructure should be applied. for tourism, including transportation systems, electricity systems, water systems, public health systems Drainage and wastewater disposal systems, waste disposal systems, as the basis of tourism management, develop into a form of sustainable tourism, that is, sustainable tourism is a development approach that aims to balance social objectives. reasonable economy and environmental management And creative tourism is a tourism activity that is part of the creative economy. by focusing on the new consumption behavior of people in the present and future Tourism in this period may be classified as post-modern tourism. The tourism style is more unique (Moving to niche), emphasizing traditional Including the expectation of experience that is new or different. which is consistent with sustainable tourism and strategic suggestions, namely creative and sustainable tourism management Pai District, Mae Hong Son Province must be consistent with จ The 20-Year National Strategy (2018-2037) National Strategy for Building Competitiveness Based on 3 concepts, namely (1) “Building on the past” (2) “Adjusting the present” and (3) “Creating new values in the future” The 13th National Economic and Social Development Plan (2023-2027) ) Master Plan under the National Strategy (5) Tourism Issues (2018 - 2037) to determine guidelines for the development of creative and sustainable tourism of Pai District that must understand the way of life in the context of the community. There is a forum to discuss seriously and systematically. Use the mechanisms of the Pai District Tourism Board to formulate strategies. travel to have a plan to develop Pai District in terms of creative and sustainable tourismฉ