Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: ปัญหาและแนวทางการแก้ไขหนี้นอกระบบครัวเรือนไทย, (วปอ.9987)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายสารัชต์ รัตนาภรณ์, (วปอ.9987)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง ปัญหาและแนวทางการแก้ไขหนี้นอกระบบของครัวเรือนไทย ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผู้วิจัย นายสารัชต์ รัตนาภรณ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕ หนี้นอกระบบเป็นปัญหาสำคัญของครัวเรือนไทยที่รุนแรงขึ้นมากในช่วงวิกฤติ COVID￾19 บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุการเป็นหนี้นอกระบบของภาคครัวเรือนไทย วิเคราะห์ ปัญหาและผลกระทบของการเพิ่มขึ้นของหนี้นอกระบบของครัวเรือนไทยต่อการฟื้นตัวของการบริโภค ภาคเอกชนและเศรษฐกิจไทย พร้อมทั้งเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของครัวเรือนไทย งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงพรรณนา และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยข้อมูลจาก การใช้แบบสอบถามผู้บริโภค ๔,๗๓๓ ราย การสนทนาแบบกลุ่มของลูกหนี้นอกระบบ ๑๘ ราย ฐานข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และฐานข้อมูลอื่น ๆ ผลการวิจัยพบว่า ลูกหนี้นอกระบบส่วน ใหญ่มีปัญหาความจำเป็นฉุกเฉินและการใช้จ่ายเกินความจำเป็นจากการใช้จ่ายที่ขาดการยับยั้งชั่งใจ และขาดการวางแผนการเงินที่ดีอยู่ก่อนแล้ว ปัญหาดังกล่าวนี้ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นจากผลกระทบของ วิกฤติ COVID-19 ที่ส่งผลให้ครัวเรือนมีรายได้น้อยลง และประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน แม้ครัวเรือนส่วนใหญ่มีความประสงค์ที่จะใช้บริการเงินกู้ในระบบแต่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อดังกล่าว ได้จากปัญหาด้านกฎเกณฑ์การยื่นเอกสารและความล่าช้าในการพิจารณาอนุมัติจึงทำให้ผู้กู้จำเป็นต้อง เข้าสู่วงจรหนี้นอกระบบ ในระยะข้างหน้าครัวเรือนไทยยังน่าเป็นห่วงจากความเปราะบางทางการเงิน สะท้อนจากสัดส่วนหนี้ต่อรายได้ที่ยังอยู่ในระดับสูงและระดับเงินออมที่มีน้อย อีกทั้งผู้มีหนี้ส่วนใหญ่มี แนวโน้มจะกู้เงินเพื่อนำไปชำระคืนหนี้เก่าที่มีอยู่ในระยะข้างหน้า ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและเจ้าหนี้ และลูกหนี้ในการสร้าง ๓ ปัจจัย แห่งความสำเร็จอย่างยั่งยืนในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ได้แก่ การเสริมสร้างความสามารถในการ เข้าถึงสินเชื่อในระบบ การเสริมสร้างทักษะทางการเงินอย่างเป็นระบบ และการเสริมสร้างความ แข็งแกร่งทางการเงินเพื่อรองรับวิกฤติ ผ่านการผลักดันประเด็นดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาติและการ บังคับใช้กฎหมายต่อธุรกิจหนี้นอกระบบอย่างค่อยเป็นค่อยไปข

abstract:

Title Informal household debt in Thailand: root causes and solutions Field Economics Name Mr. Sarut Ruttanaporn Course NDC Class 65 Informal debt is a significant problem for Thai households, which has been exacerbated during the COVID-19 crisis. This research aims to study the root causes of informal household debt, analyze the problems and impacts of the increase in informal debt on the recovery of private consumption and the Thai economy, and propose solutions on informal household debts. This research is quantitative, qualitative, and phenomenological, using data from a consumer survey of 4,733 respondents, group discussions with 18 informal debtors, survey data from the National Statistical Office, and other databases. The research found that existing informal household debtors tend to have urgent needs or overspending, lack of financial planning. These problems have been exacerbated by the COVID-19 crisis since household’s income squeezed with liquidity problem. Although most households intend to use formal loan services, they cannot access such loans due to documentation requirements and slow approval process, forcing them to enter the informal debt cycle. In the future, Thai households are still at risk from financial vulnerability from high debt ratios and low savings. Solving informal debt problems requires collaboration among public and private sectors, creditors, and debtors in creating three success factors namely, enhancing formal loan access, systematically enhancing financial literacy, and strengthening financial resilience. These factors can be pushed through a call for household debt concern in the national agenda and gradually strengthening law enforcement on illegal informal debt businesses.ค