เรื่อง: แนวทางการสร้างนวัตกรรมในงานบริหารทรัพยากรบุคคล ศึกษากรณีกองบัญชาการกองทัพไทย, (วปอ.9986)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการเมือง/Politics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี สัมพันธ์ รงศ์จำเริญ, (วปอ.9986)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง แนวทางการสร้างนวัตกรรมในการบริหารทรัพยากรบุคคลของกองบัญชาการ
กองทัพไทย
ลักษณะวิชา การเมือง
ผู้วิจัย พลตรีสัมพันธ์ รงศ์จำเริญ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางการสร้างนวัตกรรมในการบริหาร
ทรัพยากรบุคคลของกองบัญชาการกองทัพไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากการศึกษา
เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารระดับสูงที่รับผิดชอบการบริหารทรัพยากรบุคคลของ
กองบัญชาการกองทัพไทย การอภิปรายกลุ่มผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกขึ้นไปถึงผู้อำนวยการกอง
สังกัด กรมกำลังพลทหาร ผลการวิจัยพบว่ากองบัญชาการกองทัพไทย ต้องปรับโครงสร้างการจัดและ
อัตรา และจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งเพื่อรองรับความท้าทายในอนาคต การกำหนดความต้องการ
และการจัดหากำลังพล ต้องมุ่งเน้นผู้ที่มีคุณลักษณะ “นวัตกร” เพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชาโดยตรง
ผู้ใต้บังคับบัญชา ควรมีส่วนในการคัดเลือกขั้นสุดท้าย ระบบการบริหารผลงานต้องโปร่งใส เป็นธรรม
นำมาใช้ได้จริง ตอบแทนกำลังพลตามผลการปฏิบัติราชการและขีดความสามารถ ต้องจัดสิ่งอำนวย
ความสะดวก องค์ความรู้ให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดเวลา สามารถวางแผนพัฒนาตนเอง
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความก้าวหน้าในการทำงานได้ สร้างสภาพแวดล้อมและสวัสดิการที่ตรง
ความต้องการเป็นรายบุคคล ระบบสารสนเทศด้านกำลังพลต้องเชื่อมโยงถึงรายบุคคลแบบตามเวลาจริง
และเชื่อมโยงไปยังหน่วยงานภายนอก เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล จึงมีข้อเสนอแนะ
ให้รัฐบาลขับเคลื่อนการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ ให้ส่วนราชการทบทวน
บทบาทภารกิจ ให้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติทำงานเป็นทีมมากขึ้น กระทรวงกลาโหมควรกำหนด
ยุทธศาสตร์และนโยบายการจำแนกประเภทกำลังพลตามลักษณะงานที่ปฏิบัติและกำหนดวิธีการ
จัดหาที่หลากหลายตามประเภทกำลังพลและแหล่งสรรหา ด้วยวิธีการที่โปร่งใส เป็นธรรม เปิดโอกาส
ให้ผู้ที่มีขีดความสามารถเข้าร่วมแข่งขันอย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ กองบัญชาการกองทัพไทย ควรมีการวิจัย
เพื่อศึกษาบทบาท ภารกิจที่รองรับความท้าทายในอนาคต การวิจัยเพื่อศึกษาการกำหนดมาตรฐาน
กำหนดตำแหน่งที่สอดคล้องตามโครงสร้างการจัดและอัตรา การวิจัยเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการนำ
กระบวนการบริหารกำลังพลด้วยสายวิทยาการมาใช้ในการบริหารกำลังพล และการวิจัยเพื่อศึกษา
ปัจจัยสร้างความผูกพันกับกองบัญชาการกองทัพไทยข
abstract:
Titel Guidelines for innovation in human resource management
of the Royal Thai Armed Forces Headquarters
Field Politics
Name Maj.Gen. Sumphan Rongjumroen Course NDC Class 65
The objective of this research is to determine the guidelines for innovation in
human resource management (HRM)of the Royal Thai Armed Forces Headquarters (RTARF HQ).
This research uses 3 methodologies: collecting data from document studies, in-depth interviews
with senior executives responsible for HRM of RTARF HQ, and group discussion of the Chief
of Section up to the Director of division, Directorate of Joint Personnel. The research found
that the RTARF HQ had to adjust its organizational structure and standardize its positioning
to meet future challenges. Determining the needs and recruitment of troops must focus on
people with an "innovation mindset". co-workers, and direct superiors. Subordinates should
take part in the final selection. The performance management system must be transparent,
fair, and practical. Reward troops according to their performance and capability. The organization
must provide facilities for employees to learn and develop themselves all the time. Able
to plan self-development to increase capacity and progress in work. The organization must
create an environment and welfare that meets individual needs. Personnel information
systems must be linked to individuals in real-time and linked to external agencies. To ensure
the effective execution of the operation. Therefore, it is recommended that the government
drive the rebalancing and development of the public sector management system. I suggested
that government agencies should review their mission roles in line with the national strategy
and work more as a team. The Ministry of Defence should formulate strategies and policies
to classify troops according to the nature of work performed and determine various
procurement methods according to personnel types and recruitment sources with a
transparent and fair approach. Moreover, they should provide equal opportunities for those
who have the ability to participate in the competition. The RTARF HQ should research more
in the field of its role and mission to meet future challenges. Research to study the
formulation of standards, and determine the corresponding placement according to the
organization structure. Research to study the achievement of applying scientifically based
personnel management processes in personnel management and research to study factors
of engagement with the RTARF HQ.ค