เรื่อง: มาตรการป้องกันการทุจริตในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ, (วปอ.9985)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการเมือง/Politics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายสัญญา จีระออน, (วปอ.9985)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง มาตรการป้องกันการทุจริตในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้
เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
ลักษณะวิชา การเมือง
ผู้วิจัย นายสัญญา จีระออน หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65
วัตถุประสงค์ของการวิจัยฉบับนี้มี 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์วิธีพิจารณาคดี
เลือกตั้งในคดีที่เกี่ยวกับคำสั่งให้ชดเชยค่าเสียหายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
2) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายจากการทุจริตในการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร
โดยโทษทางการเมือง ทางอาญาและการชดใช้ค่าเสียหายจากการทุจริตในการเลือกตั้งเพื่อให้เป็นไป
ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์มาตรการป้องกันการทุจริตการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยเชิง
คุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย ผู้แทนจากนักกฎหมาย/ตุลาการ ผู้แทนกลุ่ม
คณะกรรมการการเลือกตั้ง และ ผู้แทนจากนักวิชาการและผู้แทนจาก สส. และ สว. รวม 12 ราย
เครื่องมือในการวิจัยเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การพรรณนาความตามวัตถุประสงค์การ
วิจัย
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาวิธีพิจารณาคดีเลือกตั้งในคดีที่เกี่ยวกับคำสั่งให้ชดเชยค่าเสียหาย
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พบว่า วิธีพิจารณาคดีเลือกตั้งในคดีที่เกี่ยวกับคำสั่งให้
ชดเชยค่าเสียหายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้ถูกกำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการ
การเลือกตั้ง ว่าด้วยการชำระค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 เพื่อให้
เป็นไปตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
พ.ศ. 2560 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
คณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 ในประเด็นที่เกี่ยวกับคำสั่งให้ชดเชยค่าเสียหายในการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบ่งเป็น 5 ประเด็น 1) การชำระค่าเสียหายหรือค่าใช้จ่าย 2) การพิจารณา
และวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง 3) คำสั่งและคำพิพากษา 4) การพิจารณาและวินิจฉัย
ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้ง 5) ค่าฤชาธรรมเนียม
2. ผลการศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการลงโทษผู้ที่ทุจริตในการเลือกตั้งโดยโทษทาง
การเมือง ทางอาญาและการชดใช้ค่าเสียหายจากการทุจริตในการเลือกตั้งเพื่อให้เป็นไปตาม
เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พบว่า แนวคิดเกี่ยวกับค่าเสียหายในเชิงลงโทษ ค่าเสียหายในเชิงลงโทษ
เป็นหลักเกณฑ์ของการกำหนดค่าเสียหายในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common
Law System) แนวคิดทฤษฎีทียืนยันและยอมรับโดยทั่วไปเกี่ยวกับการกำหนดค่าเสียหาย
ในเชิงลงโทษ ก็คือแนวคิดทฤษฎีที่ว่าค่าเสียหายในเชิงลงโทษนั้นถูกกำหนดขึ้นเพื่อเป็นการลงโทษ
ผู้กระทำละเมิด และเพื่อเป็นการป้องปรามการกระทำความผิดที่คล้ายคลึงกันในอนาคต และ
ขณะเดียวกันยังมุ่งเพื่อเป็นเยียงอย่างแก่บุคคลอื่นมิให้กระทำตามเช่นนั้นด้วย ข
3. มาตรการป้องกันการทุจริตในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้เป็นไป
ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พบว่า มี 6 มาตรการ คือ 1) การคัดกรองคุณสมบัติก่อนเข้าสู่
เส้นทางทางการเมือง ตามรัฐธรรมนูญใหม่ด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์คุณสมบัติลักษณะต้องห้ามของ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มเติมและเข้มงวดขึ้น (ม.98) และกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมาดำรง
ตำแหน่งรัฐมนตรีโดยคุณสมบัติที่แตกต่างคือ “ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์” (ม.160)
2) การกำหนดบทลงโทษนักเมืองที่ทุจริตการเลือกตั้งโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) สามารถ
ลงโทษได้ก่อนประกาศผลการเลือกตั้งและหลังประกาศผลการเลือกตั้ง 3) การยื่นเรื่องถอดถอน
นักการเมืองที่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามได้โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ม.82) 4) การยืน
เรื่องถอดถอนนักการเมืองโดยองค์กรอิสระ โดย กกต. มีอำนาจยื่นศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อถอดถอน
นักการเมืองได้ 5) การกำหนดให้รัฐต้องรักษาวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ฐานะทางการ
เงินการคลังของรัฐมีเสถียรภาพและมั่งคงอย่างยั่งยืนอันเป็นการกำหนดให้องค์กรอิสระมีหน้าที่กำกับ
ดูแลไม่ให้เกิดประชานิยม 6) การลงโทษผู้ที่ทุจริตในการเลือกตั้งโดยโทษทางการเมือง ทางอาญา และ
คำสั่งให้ชดใช้ค่าเสียหายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรค
abstract:
Title Measures to prevent corruption in the election of members of the
House of Representatives in accordance with the intent of the
Constitution
Field Politics
Name Mr. Sanya Jeera-On Course NDC Class 65
The three objectives of this research were 1) to study and analyze the
method of election proceedings in cases relating to an order to compensate for
damages in the election of members of the House of Representatives; 2) to study the
concept of compensation for corruption in the election of members of the House of
Representatives through political punishment; and 3) to study and analyze measures
to prevent corruption in the election of members of the House of Representatives in
accordance with the constitution. The research method is qualitative research by
collecting information from key informants consisting of representatives from
lawyers/judiciary, representatives from the Election Commission of Thailand, and
representatives from academics and representatives from MPS and senators totaling
12 persons. The research tools were in-depth interviews. The data were analyzed
using a description of the research objectives.
Research results
1. The results of the study and analysis of the method of election
proceedings in cases relating to an order to compensate for damages in the
election of members of the House of Representatives revealed that the
procedure for electoral proceedings in cases relating to an order for compensation in
the election of members of the House of Representatives is stipulated in the Election
Commission's regulations, B.E.2562 in order to comply with the provisions of the
Organic Act on the Election Commission, B.E.2560 by virtue of Section 22 of the
Organic Act regarding the Election Commission, B.E.2560. On issues related to the
order to compensate for damages in the election of members of the House of
Representatives, they can be divided into 5 issues: 1) payment of damages or
expenses; 2) consideration and ruling on cases concerning rights apply for election; 3)
orders and judgments; 4) Consideration and adjudication of election expenses; and 5)
Court fees.
2. From the results of the study of the concept of compensation for
corruption in the election of members of the House of Representatives through ง
political punishment, it was found that the concept of punitive damages is the basis
for determining damages in countries with the common law system. The punishment
was established to punish the offender and to deter similar offenses in the future
and at the same time aim to be an example for others not to do so.
3. The results of the study and analysis of measures to prevent
corruption in the election of members of the House of Representatives in
accordance with the constitution revealed that there are 6 measures: 1)
qualification screening before entering the political path according to the new
constitution, by setting more and more stringent criteria for the prohibited
characteristics of members of the House of Representatives (Section 98) and
specifying the qualifications of those who will serve as Ministers. The different feature
is “Integrity must be evident” (M. 160); 2) the provision of penalties for corrupt
politicians by the Election Commission of Thailand (ECT) to be punished before and
after the announcement of the election results; 3) submission of the removal of a
politician who is disqualified or has prohibited characteristics by the National
Legislative Assembly (Section 82); 4) filing for the removal of politicians by an
independent organization whereby the Election Commission has the power to submit
to the Constitutional Court for the removal of politicians; 5) setting requirements for
the State to maintain strict fiscal discipline in order to ensure the state's financial and
fiscal position is stable and sustainable, thus imposing independent bodies to
oversee populism; 6) punishment of political and criminal sanctions for fraudulent
elections and orders for compensation for damages in the election of members of
the House of Representatives.จ