เรื่อง: ยุทธศาสตร์ในการการส่งเสริมการเกิดคุณภาพกรณีกลุ่มชาติพันธุ์ชายขอบและแรงงานข้ามชาติพื้นที่ชายแดนไทยพม่า, (วปอ.9984)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติยุทธศาสตร์/Strategy
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายสราวุฒิ บุญสุข, (วปอ.9984)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง ยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมการเกิดคุณภาพกรณีกลุ่มชาติพันธุ์ชายขอบและ
แรงงานข้ามชาติพื้นที่ชายแดนไทยพม่า
ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์
ผู้วิจัย นายสราวุฒิ บุญสุข หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65
จากข้อมูลโดยธนาคารโลก (World Bank) พบว่า มีประชากรโลกโดยเฉลี่ยมีอัตราการ
เกิดในปี พศ. 2565 เท่ากับ 2.4 ต่อพันประชากรซึ่งเมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2543 ที่มีอัตราการเกิดที่ 2.7
ต่อพันประชากร ซึ่งมีแนวโน้มลดลงทุกปีสอดคล้องกับประเทศไทยนั้นมีแนวโน้มลดลงอยู่ที่ 7.54 ต่อ
พันประชากร ในปี พศ.2565 แต่เมื่อวิเคราะห์จังหวัดที่อยู่เขตพื้นที่ชายแดนไทยพม่านั้นกลับพบว่า
มีอัตราการเกิดที่มากกว่าค่าเฉลี่ยรายประเทศ ถึงแม้นจะมีจะมีอัตราการเกิดที่สูงแต่กลับยังพบปัญหา
การเกิดอย่างมีคุณภาพโดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลและมีอุปสรรคในการเข้าถึงระบบสุขภาพ ดังนั้น
การศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งเน้นไปยังระบบการส่งเสริมการเกิดมีคุณภาพและปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริม
การเกิดคุณภาพในกลุ่มชาติพันธุ์ชายขอบและแรงงานข้ามชาติ พื้นที่ชายแดนไทยพม่า เพื่อนำผล
ที่ได้มาพัฒนาระบบและเสนอแนะนโยบายการส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพในกลุ่มชาติพันธุ์
ชายขอบ และแรงงานข้ามชาติที่เหมาะสม นำไปสู่ความมั่นคงของประเทศในระยะยาวตามแผน
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในด้านสาธารณสุขและความมั่นคงของมนุษย์
การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการศึกษาแบบ Mixed Method โดยข้อมูลเชิงพรรณนานั้น
จะได้มาจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ในผู้บริหารนโยบายระดับประเทศ ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียจากพื้นที่และข้อมูลเชิงปริมาณจากการตอบแบบสอบถามจากมารดาและญาติ โดยนำมา
วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และได้ทำการศึกษาในช่วง มีนาคม 2566 – พฤษภาคม 2566
สถานการณ์ บริบทสิ่งแวดล้อม ความเชื่อ ในกลุ่มชาติพันธุ์ชายขอบนั้น ไม่ได้มีปัญหา
ในเรื่องของอัตราการเจริญพันธุ์แต่พบปัญหาด้านคุณภาพการเกิด ซึ่งปัญหาดังกล่าวสืบเนื่องมาจาก
ความเชื่อ วัฒนธรรม และสภาพภูมิประเทศ ตัวอย่างเช่น การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นซึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์
ชายขอบมีทัศนคติว่าเป็นเรื่องปกติและควรตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุน้อยๆ หรือปัญหาทางด้านอุปสรรค
ในการเดินทางเข้ารับบริการจากภูมิประเทศและโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เอื้ออำนวยใช้ระยะเวลา
เดินทางนาน ประกอบกับการได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงจากสังคมการเกษตรแบบดั้งเดิม
เป็นสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ และยังได้สะท้อนความรู้สึกถึงการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติจาก
ผู้ให้บริการ ผลจากการใช้ยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมการเกิดคุณภาพในกลุ่มชาติพันธุ์ชายขอบและ
แรงงานข้ามชาติพื้นที่ชายแดนไทยพม่านั้นพบว่า สามารถเพิ่มการเข้าถึงการเข้ารับบริการทางด้าน
สาธารณสุขของหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ชายแดนไทยพม่า ซึ่งส่งผลต่อการลดอัตราการเสียชีวิตของ
มารดาในพื้นที่ได้อีกทางหนึ่งผ่านการเพิ่มศักยภาพของผดุงครรภ์โบราณ ในการเฝ้าระวังและติดตาม
ภาวะผิดปกติทั้งก่อนคลอดและหลังคลอดของมารดากลุ่มชาติพันธุ์ชายขอบ โดยมีระบบกำกับติดตาม
ทั้งในระดับพื้นที่ ระดับภูมิภาค รวมถึงในระดับชาติ ข
จากข้อมูลเชิงปริมาณพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการวางแผนครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ชายขอบ
คือ อาชีพแม่บ้าน และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการฝากครรภ์คืออายุของหญิงตั้งครรภ์ที่อายุน้อยกว่า 36 ปี
และยังพบว่า การวางแผนครอบครัวและการฝากครรภ์มีความสัมพันธ์กัน โดยพบว่า ถ้ามีการวางแผน
ครอบครัวจะมีโอกาสฝากครรภ์มากกว่าคนที่ไม่ได้รับการวางแผนครอบครัว
สถานการณ์การเกิดของกลุ่มชาติพันธุ์ชายขอบแรงงานข้ามชาติในบริเวณไทย-พม่านั้นมี
สัดส่วนที่สูงกว่าประชาชนในพื้นที่อื่นๆ ในประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกันก็พบว่า อัตราการเสียชีวิต
ของมารดาหลังคลอดนั้นก็สูงเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นๆ ในประเทศไทย สาเหตุอันเนื่องมาจากความเชื่อ
วัฒนธรรม ภาษา และลักษณะโครงสร้างทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ รวมถึงบางกลุ่มที่ยังตกสำรวจในการ
สำรวจสำมะโนประชากรในประเทศไทย ทำให้ประชาชนกลุ่มนี้ขาดสิทธิของพลเมืองไทย ยุทธศาสตร์
การส่งเสริมการเกิดแบบมีคุณภาพได้ให้การบริการในลักษณะเชิงรุก ซึ่งทำให้ประชาชนหลายร้อยคน
ในพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า ได้รับการบริการทางด้านการส่งเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มของหญิง
ตั้งครรภ์ที่สามารถเข้าถึงการฝากครรภ์ได้มากยิ่งขึ้นซึ่งจากเดิม ซึ่งเป็นหนึ่งในความสำเร็จในการ
ส่งเสริมการเกิดคุณภาพในกลุ่มชาติพันธุ์ ชายขอบ และแรงงานข้ามชาติ พื้นที่ชายแดนไทย-พม่าค
abstract:
Title Strategies to promote excellent births among ethnic minorities and
migrant workers Thai-Myanmar border area
Field Strategy
Name Mr.Sarawut Boonsuk Course NDC Class 65
According to data from the World Bank, the global average birth rate in
2022 was 2.4 per thousand population, down from 2.7per thousand population in
2000.In 2022, it has decreased to 7.54 per one thousand people, which represents
Thailand. whereas, the provinces located closer to the Thai-Myanmar border were
found to have a greater birth rate than the national average. The border location
between Thailand and Myanmar Even though the birth rate is high, there are still
issues with the quality of their pregnancies especially in remote areas and where
there are barriers to accessing the health system. This study focuses on systems and
factors affecting quality birth promotion among marginalized ethnic groups and
migrant workers. Utilize the results to develop systems and advocate policies for
promoting high-quality births among marginalized ethnic groups and migrant laborers.
And lead to long-term national security in accordance with the national strategic
plan for public health and human security in the Twenty-Year National Strategic Plan.
This study applied a mixed-methods design and collected descriptive
data from in-depth interviews. in national policy staff, local staff stakeholders in the
region, and quantitative data from the mother's and relatives’ questionnaires. Using
statistical analysis, the study was conducted between March and May of 2023.
From the situation Context, environment, and beliefs among ethnic
minorities There were no issues with the reproductive rate, but there were issues
with birth quality. Problems with birth quality are caused by cultural beliefs and for
example, teenage pregnancy, which is considered normal by marginalized ethnic
groups, should be taken at a tender age. Birth quality issues as a consequence of
unfavorable landscape and infrastructure, it is difficult and time-consuming to get to
receive services due to transport obstacles. Birth quality issues It is a result of the
change from a traditional agriculture-based culture to a modern industrial society. It
also reflected service providers' sentiments about racial discrimination. According to
the results of implementing a strategy to promote quality birth among marginalized
ethnic groups and migrant laborers in the Thai-Myanmar border areas, pregnant
women in the Thai-Myanmar border area have increased access to health services. ง
This has an additional impact on reducing maternal mortality in the region through
improving the capacity of traditional birth attendants. Traditional birth attendants
assist in the surveillance and monitoring of prenatal and postnatal abnormalities
among marginalized mothers. A monitoring system is established at the local,
regional, and national levels. According to the quantitative data, the factors affecting
family planning among marginalized ethnic groups are housewives and the age of
expectant women under 36 years of age. There is an association between antenatal
care and family planning. It was discovered that those who received family planning
had a greater probability of receiving antenatal care than those who did not.
In the Thai-Burma region, marginalized ethnic groups of migrant laborers
have a higher birth rate than people in other regions of Thailand. However, the
maternal mortality rates were higher than in other regions of Thailand. Caused by the
region's beliefs, culture, language, and geographical characteristics. Additional reasons
include Some marginalized ethnic groups were not surveyed for the Thailand Census
data, leading to the loss of citizenship rights for this group. Caused by the region's
beliefs, culture, language, and geographical characteristics. Additional reasons include
Some marginalized ethnic groups were not surveyed for the Thailand Census data,
leading to the loss of citizenship rights for this group. Strategies for promoting highquality births provided proactive services in the area. This strategy has helped make
it accessible to hundreds of people to receive health promotion services close to
the Thai-Myanmar border, particularly pregnant women who are receiving greater
access to Antenatal care than before. Access to antenatal care has been one of the
successes in promoting high-quality births among marginalized ethnic groups and
migrant laborers. Myanmar-Thai frontier region.จ