Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การวางยุทธศาสตร์การเชื่อมต่อโครงข่ายการคมนาคมขนส่งระบบรางเชื่อมไทย สปป.ลาว และ จีน เพื่อความมั่นคงและการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ, (วปอ.9982)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์, (วปอ.9982)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง การวางยุทธศาสตร์การเชื่อมต่อโครงข่ายการคมนาคมขนส่งระบบรางเชื่อม ไทย สปป.ลาว และจีน เพื่อความมั่นคงและการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศ ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผู้วิจัย นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวางยุทธศาสตร์ในการเชื่อมต่อโครงข่ายการคมนาคม ระบบรางระหว่างประเทศไทย สปป.ลาว และจีน ผ่านการวิเคราะห์และศึกษาโครงข่ายการคมนาคม ระบบรางที่มีความสำเร็จในประเทศอื่น ๆ เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนา โครงการเชื่อมต่อระหว่างประเทศต่าง ๆ ด้านนโยบาย เช่น การสร้างพันธมิตรและความร่วมมือ ระหว่างประเทศ การพัฒนาโครงข่ายระบบราง และการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การศึกษานี้ได้มาจากการใช้วิธีการวิจัยที่เป็นการศึกษาและวิเคราะห์โครงข่ายการ คมนาคมระบบรางระหว่างประเทศ โดยนำเสนอและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลทาง เศรษฐกิจและสังคม เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และแนวโน้มทางเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดการวางแผน ยุทธศาสตร์ในการเชื่อมต่อโครงข่ายการคมนาคมระบบรางระหว่างประเทศไปสู่อนาคต. การศึกษานี้ใช้ วิธีการวิจัยทางการวิเคราะห์ข้อมูลทางเชิงปริมาณและคุณภาพ การสำรวจและสำรวจข้อมูลทางสถิติ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์และการทำนาย และการสร้างแบบจำลองในการประเมินผล. ผลจากวิจัยสรุปได้เป็น 2 ด้าน คือด้านนโยบายและด้านปฏิบัติด้านนโยบายเป็นการ แนะนำการวางแผนในด้านต่างๆ เช่นการสร้างพันธมิตรและความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริม การพัฒนาโครงข่ายรางระหว่างประเทศ การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และการสร้างคุณค่าใหม่ ในอนาคต ส่วนในด้านปฏิบัติเกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงในด้านงานก่อสร้าง การร่วมมือกับ สถาบันการศึกษา การบริหารความเสี่ยงในระยะเวลาการดำเนินโครงการ การพัฒนาทักษะความรู้ของ บุคลากร การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการพัฒนาโครงาสร้าง พื้นฐานของประเทศ เพื่อสนับสนุนและปรับปรุงโครงข่ายการคมนาคมระบบรางระหว่างประเทศ การศึกษานี้สามารถนำเสนอเป็นแนวทางในการวางแผนการเชื่อมต่อโครงข่ายการคมนาคมระบบราง ระหว่างประเทศในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนข

abstract:

Title Strategy for connecting the railway transport networks of Thailand, Laos, and China to ensure stability and promote economic development between countries. Field Economics Name Mr.Sorapong Paitoonphong Course NDC. Class 65 This study aims to formulate strategies for interconnecting the transnational railway network between Thailand, Laos, and China through the analysis and examination of successful railway networks in other countries. The objective is to utilize the knowledge and experiences gained from these endeavors to facilitate the development of cross-border connectivity projects. The policy aspect encompasses various elements, such as fostering partnerships and collaborations between nations, enhancing the development of railway infrastructure, and ensuring economic stability. This study is derived from the utilization of research methods involving the study and analysis of transnational railway network connectivity. It involves the presentation and analysis of relevant data encompassing economic and social aspects, associated technologies, and technological trends. The aim is to strategize the future development of interconnecting transnational railway network connectivity. The study employs research methods involving quantitative and qualitative data analysis, statistical surveys, correlation analysis, prediction, and model construction for evaluation purposes. The research findings can be summarized into two aspects: policy and practice. In terms of policy, it involves recommending plans in various areas such as establishing partnerships and collaborations between countries to promote the development of transnational railway networks. It also focuses on enhancing economic stability and creating new value for the future. On the practical side, it pertains to risk management in construction projects, cooperation with educational institutions, project risk management during implementation, skill development of personnel, cross-border relationships, technology transfer, and infrastructure development in order to support and improve transnational railway network connectivity. This study can be presented as a guideline for efficiently and sustainably planning the connectivity of transnational railway networks in the future.ค