Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การกำหนดแนวทางที่เหมาะสมต่อการแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวอุยกูร์, (วปอ.9981)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติยุทธศาสตร์/Strategy
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายสรพงค์ ศรียานงค์, (วปอ.9981)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง การกำหนดแนวทางที่เหมาะสมต่อการแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวอุยกูร์ ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์ ผู้วิจัย นายสรพงค์ ศรียานงค์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕ การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์การ หลบหนีเข้าเมืองของชาวอุยกูร์และผลกระทบต่อความมั่นคงของไทย รวมทั้งแนวทางการดำเนินการ ของไทยต่อผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวอุยกูร์ตามแนวโยบายของรัฐบาลและการปฏิบัติของหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งผลกระทบจากการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อสร้างข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาผู้ หลบหนีเข้าเมืองชาวอุยกูร์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนต่อไป โดยประมวลสภาพ ปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยต่อผู้หลบหนีเข้าเมืองชาว อุยกูร์และชี้ให้เห็นถึงภัยคุกคามและความท้าทายในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งต้องคำนึงถึง หลักความมั่นคง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตลอดจนกติกาสากลด้านสิทธิมนุษยชน เนื่องจาก ประเด็นดังกล่าวมีความละเอียดอ่อน สลับซับซ้อนและกำลังได้รับความสนใจจากหลายภาคส่วน อาทิ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรระหว่างประเทศ เป็นต้น และมีขอบเขต การศึกษาในประเด็นปัญหาการลักลอบเข้าเมืองของชาวอุยกูร์ ตลอดจนนโยบายและการดำเนินงาน ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยในห้วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๖๕ การศึกษาได้ใช้กรอบแนวคิดในการศึกษา กรอบแนวคิดและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอัน ได้แก่ ความมั่นคงแห่งชาติ การโยกย้ายถิ่นฐานและการลี้ภัย กติกาและตัวแสดงระหว่างประเทศที่มีผล ต่อการกำหนดนโยบายผู้หลบหนีเข้าเมือง และนโยบายการบริหารจัดการปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง ซึ่งเป็นแนวคิดสำคัญที่ใช้วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาความมั่นคงของประเทศไทยต่อกรณีผู้หลบหนีเข้า เมืองชาวอุยกูร์ โดยเป็นกรอบแนวทางในการลำดับแนวความคิดเพื่อเป็นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ จะสามารถตอบวัตถุประสงค์ของการศึกษาได้ ผลการศึกษาพบว่าปัญหาการลักลอบเข้าเมืองของชาวอุยกูร์มีสาเหตุสำคัญจาก สถานการณ์ความไม่สงบในประเทศต้นทางคือ สาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีนโยบายหลายประการที่ ละเมิดต่อสิทธิมนุษยชนของชาวอุยกูร์จึงเป็นปัจจัยผลักดันสำคัญที่ทำให้เกิดการหลบหนีออกนอก ประเทศ โดยส่วนใหญ่ชาวอุยกูร์ประสงค์ที่จะเดินทางไปยังตุรกีและประเทศอื่นๆ ที่นับถือศาสนา อิสลาม แต่ได้ใช้ไทยเป็นทางผ่านเพื่อเดินทางต่อไป และไทยต้องเผชิญแรงกดดันจากประเทศต่างๆ ข รวมถึงการรับภาระในด้านบุคลากรและงบประมาณในการดูแลชาวอุยกูร์ที่หลบหนีเข้ามาตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๕๗ ที่มีผลมาจากการเข้ามามีบทบาทของตัวแสดงระหว่างประเทศมีผลต่อการกำหนดนโยบายการ แก้ไขปัญหาของประเทศไทย รวมทั้งการบริหารจัดการของภาครัฐที่ต้องเผชิญกับความท้าทายในเชิงกลุ่มก่อการร้ายและเครือข่ายสนับสนุนชาวอุยกูร์ที่เคยก่อเหตุในกรุงเทพฯ ที่ไม่พอใจการดำเนินการ การส่งกลับจีนของไทยในห้วงปี พ.ศ. ๒๕๕๘ อย่างไรก็ดีการดำเนินการในปัจจุบันจึงต้องมีการ พิจารณาแนวทางอย่างรอบคอบเพื่อลดความดันของไทยในเวทีสากล และหลีกเลี่ยงผลกระทบจาก ผู้ก่อการร้ายที่อาจไม่พอใจต่อแนวทางของไทย เอกสารวิจัยฉบับนี้มีข้อเสนอแนะอันจะนำไปสู่การแสวงหาทางออกที่ยั่งยืนสำหรับ ทางการไทยในเชิงแก้ไขปัญหาที่ประเทศต้นทางควรพิจารณาดำเนินมาตรการเชิงรุก (proactive) ใน การหารือกับจีนถึงข้อจำกัดของประเทศไทยที่ไม่สามารถส่งบุคคลกลุ่มนี้กลับไปยังประเทศจีนได้ เนื่องจากมีผลกระทบที่รุนแรงและยังเป็นการละเมิดบรรทัดฐานทางสิทธิมนุษยชนที่ไทยยึดถือ โดยอาจ หารือกับจีนในลักษณะการสนทนาทางลับ (confidential dialogue) เพื่อชี้ให้เห็นประโยชน์ร่วม ระหว่างประเทศไทยและประเทศจีนที่มีหลายประเด็นที่สามารถร่วมมือกันได้ มากกว่ามาสนใจเพียง กลุ่มชาวอุยกูร์ ซึ่งไทยอาจพิจารณาประเทศที่สามที่คนกลุ่มนี้จะไปตั้งถิ่นฐานได้และเป็นประเทศที่จีน สามารถพอยอมรับได้ ซึ่งในห้วงที่ผ่านมาได้มีการประเมินสมมติฐานของทางเลือกต่างๆ ไว้ ซึ่งสามารถ นำมาพัฒนาการประเมินต่อยอดในระยะต่อไป รวมถึงข้อเสนอแนะอีกประการหนึ่งของไทยต้องพัฒนา กรอบกฎหมายเฉพาะด้านคนเข้าเมืองที่รองรับการคัดแยกบุคคลที่ต้องการได้รับความคุ้มครองออก จากกลุ่มที่ลักลอบเข้ามาเพื่อแสวงประโยชน์ทางเศรษฐกิจและมีระบบที่เป็นมาตรฐานแห่งชาติ แม้ว่า ปัจจุบันจะมีการใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการคัดกรองคนต่างด้าวที่เข้ามาใน ราชอาณาจักร และไม่สามารถเดินทางกลับประเทศอันเป็นภูมิลำเนาได้ พ.ศ. ๒๕๖๒ แต่ยังไม่ได้มีการ นำมาใช้ปฏิบัติจริงในปัจจุบัน ทำให้ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับอุปสรรคการดำเนินงานหรือผลกระทบที่ เกิดขึ้นจากการใช้ระเบียบดังกล่าว ซึ่งการที่ไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐานในการคุ้มครองผู้ที่ต้องการการ ลี้ภัยจะช่วยแก้ปัญหากลุ่มเปราะบางที่มักเป็นการกำหนดนโยบายที่เป็นเฉพาะกรณีในแต่ละครั้ง และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้การให้เหตุผลต่อประเทศต่างๆ หรือประชาคมระหว่างประเทศว่าการ ดำเนินงานของไทยมีความโปร่งใสและมีกระบวนที่ชัดเจน ซึ่งมีส่วนช่วยลดแรงกดดันจากต่างประเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพค

abstract:

Title Determining appropriate approaches to solving the problem of Uyghur immigrants Field Strategic Studies Name Mr. Sorapong Sriyanong Course NDC calss 65 This research aims to compile information about the situation of Uyghur immigration and its impact on Thailand's national security. It collects the guidelines which the government's policy and relevant agencies proceed in order to recommend best practices for solving such problems, which will sustainably benefit Thailand's interests. In addition, it examines obstacles of the agencies responsible for Uyghur immigrant management and identifies the threats and challenges in the decision-making process. The decision must consider the principle of security, international relations, and international human rights norms because of its sensitivity, complexity, and attention center from many sectors such as non-governmental organizations, civil society organizations, international organizations, etc. The scope of the study focuses on the illegal immigration of Uyghurs as well as the policies and operations of relevant agencies in Thailand during 2014 – 2022. The study utilized many conceptual frameworks and related literature, including national security, migration and emigration, international norms and actors affecting immigration policy formulation, and the Immigration Management Policy. These concepts are valuable in analyzing the national security problems of Uyghur immigration as a basis to provide resolutions. ง The study found that the illegal immigration of Uyghurs is mainly caused by the unrest in the country of origin, specifically the People's Republic of China, which has policies that violate the human rights of the Uyghurs, which has been a major driving factor in fleeing the country. Most Uyghurs wish to travel to Turkey and other Islamic countries but use Thailand as a transit point to travel further. As a result, Thailand has faced pressure from other countries and has been burdened caring for the fled Uyghurs since 2014. It resulted from two reasons: first, the increasing roles of international actors affecting problem-solving policy. Second, the government administration would encounter challenges from terrorist networks sponsoring Uyghurs to commit terrorist attacks, as occurred in Bangkok, due to their grievances against the Thai government's deportation in 2015. However, the current actions must be carefully considered to reduce the pressure on Thailand in the international arena and to avoid the impact of terrorists who may be dissatisfied with Thailand's approach. This research proposes recommendations for a sustainable solution for the Thai authorities that should consider taking proactive measures in discussions with China regarding the reasons and limitations that Thailand cannot send Uyghurs back to China. This is because there will be severe consequences and violating human rights norms that Thailand upholds. On the other hand, Thailand may have a confidential dialogue with China to pursue mutual interests rather than focusing on the Uighurs. Moreover, Thai authorities may consider Uyghur deportation to a third country, which China is about to agree. In the past, the government has considered various alternatives which can be developed further. Another recommendation is that Thailand needs to develop a specific legal framework on immigration that supports a national systematic mechanism that can separate those requiring humanitarian aid from those pursuing economic interests. Even though the Prime Minister's Office Order on the screening of aliens entering the Kingdom and unable to return to the country of residence in 2019 จ is currently in use, it has yet to be used in practice. Therefore, there is minimal information about operational obstacles or impacts arising from the implementation of the regulation. Having a standardized system in place to protect people who seek asylum will help Thailand address the problem of vulnerable groups, which often involves a policy on a case-by-case basis. With that, the relevant agencies can adopt it as reasoning to the international community, saying that Thailand's operations are transparent and have clear processes that effectively relieve the pressure from foreign countries.ฉ