Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการบริหารจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs สู่ความยั่งยืน, (วปอ.9978)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายสมศักดิ์ วาทินชัย, (วปอ.9978)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs สู่ความอย่างยั่งยืน ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผู้วิจัย นายสมศักดิ์ วาทินชัย หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65 การศึกษาเรื่อง แนวทางการบริหารจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs สู่ความยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs สู่ความยั่งยืน 2) ศึกษาปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs สู่ความยั่งยืน และ 3) เสนอแนวทางการบริหารจัดการธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs สู่ความยั่งยืน โดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ จากงานวิจัย เอกสาร ทางวิชาการและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์นักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ SMEs ผู้ประกอบการ SMEs และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการวิเคราะห์เปรียบเทียบ และ สังเคราะห์ข้อมูลทฤษฎี หลักการต่างๆ สรุปผลการศึกษาได้ ดังนี้ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการธุรกิจขนาด กลางและขนาดย่อม ปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านผู้ประกอบการของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไว้ 5 ประการด้วยกัน ได้แก่ 1) Entrepreneurial orientation 2) Prior work experience 3) Management skills 4) Availability of capital 5) Education level ส่วนปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs สู่ความยั่งยืน มีดังนี้ 1) ไม่มีเครื่องมือเพื่อใช้ในการประเมินผล การดำเนินงานธุรกิจ 2) การดำเนินธุรกิจ (SMEs) ในปัจจุบันมีความยุ่งยาก และซับซ้อนมาก 3) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่เห็นความสำคัญของการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญากับความคิด สร้างสรรค์ 4) การผลิตสินค้าในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังไม่สามารถตอบสนองความ ต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค 5) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยดำเนินการผลิตในลักษณะ ของการ “ผลิตตามสั่ง” 6) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมส่วนใหญ่มีความสามารถในการ ดัดแปลงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดน้อย 7) ในด้านของการจ้างงาน การวัดจำนวนแรงงานและความขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ค่อนข้างทำได้ยาก 8) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมักประสบกับปัญหาในการหาแหล่งเงินทุน 9) ปัญหาด้านการ นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้กับการประกอบธุรกิจ 10) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีโอกาสเข้าถึง บริการทางการเงินน้อย 11) การค้าระหว่างประเทศในระยะที่ผ่านมาได้เผชิญกับปัญหาอุปสรรค ที่สำคัญ 12) การชะงักงันของอุตสาหกรรมการขนส่ง และวิถีการดำเนินชีวิตภายใต้สถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และ 13) ปัญหาสภาพแวดล้อมในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงทุกปี มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณสูงขึ้น สำหรับแนวทางการบริหารจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs สู่ความยั่งยืน ดังนี้ 1) กำหนดเกณฑ์การประเมินสุขภาพธุรกิจ สำหรับ SMEs เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา ศักยภาพของธุรกิจ ให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน 2) ในการดำเนินธุรกิจ (SMEs) ต้องคำนึงถึงข ปัจจัยในการดำเนินธุรกิจ 3) ปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร 4) สร้างเครือข่ายธุรกิจ 5) ดำเนินกลยุทธ์ ธุรกิจที่เป็นเอกลักษณ์ 6) เน้นการประชาสัมพันธ์ 7) พัฒนาระบบตลาดผ่านสื่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 8) สร้างความรักและพลังขับเคลื่อนภายในองค์กร 9) ภาครัฐควรเร่งเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ให้มีความรู้และทักษะการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล อย่างรอบด้าน 10) ภาครัฐควรปรับเปลี่ยนแนวทางการส่งเสริมผู้ประกอบการโดยเฉพาะ ผู้ประกอบการขนาดเล็กและผู้ประกอบการรายย่อย ให้เข้าถึงสินเชื่อที่มีต้นทุนต่ำอย่างทั่วถึงและ เพียงพอกับความต้องการ 11) การสนับสนุนด้านตลาดให้กับผู้ประกอบการ SMEs 12) ควรเร่งพัฒนา Market Intelligence Center พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการส่งเสริม SMEs ที่มีศักยภาพในการ ส่งออก และ 13) ผู้ประกอบการควรปรับเปลี่ยนธุรกิจสอดรับกับ BCG Model เพื่อปรับตัวให้ทันกับ สถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลง ข้อเสนอแนะ ภาครัฐควรมีการพิจารณาปรับลดภาระภาษีบางประการที่เป็นอุปสรรคต่อ การเติบโตของ SMEs อาทิเช่น อัตราภาษีศุลกากรที่มีความเหลื่อมล้ำในแต่ละระดับของห่วงโซ่ อุปทาน และต้นทุนทางภาษีซึ่งแฝงอยู่ในโครงสร้างทางเศรษฐกิจ รวมถึงอุปสรรคในการขอการ ลดหย่อนทางภาษีค

abstract:

Title Guidelines for Managing Small and Medium-sized Businesses, SMEs towards Sustainability Field Economics Name Mr. Somsak Watinchai Couse NDC Class 65 The study of guidelines for managing small and medium-sized businesses, SMEs towards sustainability aimed to 1) study the components and factors related to the management of small and medium-sized businesses, SMEs towards sustainability, 2) study problems and obstacles in managing small and medium-sized businesses, SMEs towards sustainability, and 3) propose guidelines for managing small and medium-sized businesses, SMEs towards sustainability. The researcher had collected secondary data from research papers, academic documents and related literature while primary information was collected from interviews with academics related to SMEs, SMEs Entrepreneurs and SMEs stakeholders. Data were then analyzed by using content analysis and comparative analysis including synthesized theories and principles as well. The results of the study could be summarized as follows: The results showed that components and factors related to small and medium-sized business management and the factors of entrepreneurial success were 5 factors: 1 ) entrepreneurial orientation, 2 ) prior work experience, 3 ) management skills, 4 ) availability of capital and 5 ) education level. As for the problems and obstacles in managing small and medium-sized businesses, SMEs towards sustainability, they were as follows: 1) there was no tool for assessing business performance, 2) business operations (SMEs) at present were complicated, 3) most entrepreneurs were still not realize the importance of intellectual property registration and creativity, 4) the production of goods by small and medium-sized enterprises was still unable to meet the real needs of consumers, 5) Thai small and medium-sized enterprises operated production in the form of "made to order", 6) most small and medium-sized enterprises had low level of ability to adapt their existing products to market needs, 7) in terms of employment, it was difficult to measure the labor force and labor shortages in creative industries, 8) small and medium-sized enterprises often faced difficulties in obtaining funding source, 9) problems in applying digital technology to business operations, 10) most entrepreneurs had little access to financial services, 11) international trade in recent years had faced significant obstacles, 12) disruption of the shipping industry and way of life under the situation of the pandemic of COVID-19, and 13) environmental ง problems in Thailand had been changed every year with higher greenhouse gas emissions. For guidelines for managing small and medium-sized businesses, SMEs towards sustainability were as follows: 1) set criteria for business health assessment for SMEs as a guideline for business potential development to be able to compete sustainably, 2) factors in business operations must be taken into account, 3) change the organizational structure, 4) build a business network, 5) execute a unique business strategy, 6) focus on public relations, 7) develop marketing system through e-commerce medium, 8) create love and drive within the organization, 9) the government should accelerate the development of entrepreneurs and modern small and medium-sized enterprises to have knowledge and skills in using digital technology in all aspects, 10) the government should change its approach to promoting entrepreneurs, especially small entrepreneurs and micro-entrepreneurs to provide access to low-cost loans thoroughly and sufficiently to meet the needs, 11) marketing support for SMEs entrepreneurs, 12) there should accelerate the development of the Market Intelligence Center and give importance to the promotion of SMEs with export potential, and 13) entrepreneurs should adjust their business in accordance with the BCG Model in order to adapt to the changing world situation. For recommendations, the government should consider reducing certain tax burdens that hinder the growth of SMEs, such as uneven tariffs at each level of the supply chain and tax costs which were hidden in the economic structure including obstacles to applying for tax relief.จ